Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1804
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อละครโทรทัศน์ไทยในเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน |
Other Titles: | The influencial factors in the popularity of Thai dramas in guangzhou city, the people's republic of China |
Authors: | วันวิสา สันทวิจิตรกุล |
metadata.dc.contributor.advisor: | นฤมิตร รอดศุข |
Keywords: | ละครโทรทัศน์ -- ไทย -- วิจัย;ละครโทรทัศน์ไทย -- จีน -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อละครโทรทัศน์ไทยในเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการละครไทยได้พัฒนาละครโทรทัศน์ไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมในประเทศจีน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชากรเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานที่ต่างๆในเมืองกวางโจว จำนวน10 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะ และห้างสรรพสินค้า ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) ผลการศึกษาพบว่าด้านปัจจัยส่วนบุคคลผู้รับชมละครโทรทัศน์ไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.9 อายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 69.6 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 44.1 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 69.2 และมีเงินเดือน 2,000-3,999 หยวน ร้อยละ 37.2 ผู้ชมส่วนใหญ่นิยมชมละครโทรทัศน์ไทยประเภทตลกขบขัน เหตุผลในการรับชมเพื่อความบันเทิง โดยช่วงเวลาที่นิยมรับชมคือช่วงหลังข่าวภาคคํ่า (20.20-22.30 น.) ความถี่ในการรับชม 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อนๆ เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเปิดรับชม สำหรับปัจจัยด้านความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.90 ส่วนปัจจัยที่ด้านเศรษฐกิจพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจซึ่งได้แก่สินค้าไทยและการท่องเที่ยวเมืองไทย เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.24 และด้านวัฒนธรรมซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.13 และด้านสังคม ได้แก่ ปัจจัยด้านละครโทรทัศน์ไทยสามารถทำให้เข้าใจคนไทยได้มากขึ้น เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคนจีนส่วนใหญ่ที่นิยมชมละครโทรทัศน์ไทย เป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่พอใจทั้งรูปแบบและเนื้อหาของละครโทรทัศน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนจีนที่ประทับใจแบบทันสมัยคล้ายกับคนไทยเพิ่มมากขึ้น ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ชมเมืองกวางโจว สาธารณประชาชนจีน โดยรวมเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อละครโทรทัศน์ไทย ยกเว้นปัจจัยด้านอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความพึงพอใจกับปัจจัยที่ส่งผลต่อละครไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมอยู่ในระดับตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The study of the influential factors in the popularity of Thai dramas in Guangzhou City of The People’s Republic of China aimed to guideline for the Thai producer to developing to meet the needs of the audience in China. The population of the research was the people of Guangzhou City 400 persons at 10 places in Guangzhou City including the university, park and department store by using a questionnaire to collect data and analyzed by using percentages, Standard deviation, the t-test, ANOVA and correlation coefficient Pearson Correlation. The result of this study found that the majorities were females 88.9, age between 21-30 years 69.6, occupation as a private company 44.1, education as bachelor's degree 69.2 and salary per month 2000 to 3999 Yuan 37.2. The majorities interested in the type of Thai drama were comic by reason to entertainments. The period for watching television was the time after the evening news (20.20 to 22.30), the frequency of watching 1-2 times / week, the influenced persons were friends. Factors of satisfaction found was at the high level, the economic factors was influencing attention including Thai products and tourist in Thailand as the highest level, cultural factors found that they interested on learning about Thai culture as the highest level and social factors found the watching Thai drama could be understanding Thai people as the highest by Statistically significant at the 0.05 level. The result showed that the most of Chinese who favorite to watch Thai television series as the middle class who satisfied both of form and content of Thai television series in according with requirements increased of modern Chinese’s impression similar as Thai. The hypothesis testing found that the Personal factors all sides were affected except the occupation factor by Significant at the 0.05 level and the correlation between satisfaction with the factors of affecting as the economic, cultural and social was low by Statistically significant at the 0.01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(จีนในระบบเศรษฐกิจโลก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | จีนในระบบเศรษฐกิจโลก |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1804 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-CHAWE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WANWISA SANTAWIJITKUL.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.