Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชนก ภู่อำไพ-
dc.contributor.authorจิราพร ใจศิริ-
dc.date.accessioned2023-08-04T02:58:07Z-
dc.date.available2023-08-04T02:58:07Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1854-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการอ่าน ออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (E1/E2 ) และ 2) เพื่อสร้างชุดสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ตลอดจนการพัฒนาในด้านอารมณ์/จิตใจ สังคม และ สติปัญญา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 18 คน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อ ประสมเพื่อการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย VCD พยัญชนะภาษาอังกฤษ A-Z , VCD การอ่านออกเสียง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ แบบโฟนิกส์ A-Z ,บัตรคำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมรูปภาพประกอบ ตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปทดลองจัดประสบการณ์กับเด็กอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน คือ ห้องอนุบาลปีที่ 1/1 จำนวน 18 คน เพื่อตรวจสอบความยากง่ายในด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ความ เหมาะสมของเนื้อหา และ เวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยนำผลการทดลองมาปรับปรุงและพัฒนา สื่อ ประสมเพื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม มากขึ้น และนำมาทดลองใช้กับกลุ่มที่สอง คือ ห้อง อนุบาลปี ที่ 1/3 จำนวน 18 คน พบว่า สื่อประสมที่ใช้ในการเรียนรู้ มีความเหมาะสมทั้งความยากง่าย ด้านคำศัพท์ เนื้อหา และ เวลา ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้สร้างแบบวัดความสามารถการอ่าน ออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และแบบประเมินพัฒนาการ 3 ด้าน และได้นำเครื่องมือทั้ง 2 ชุด ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อพิจารณาความเที่ยงตรงเนื้อหา วิเคราะห์หาค่าดัชนีความ สอดคล้อง (Index of objective Congruence : IOC) ซึ่งพบว่าเครื่องมือทั้ง 2 ชุดอยู่ในระดับ ดี และมี ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ถือได้ว่า เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยการนำสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้กับเด็กชั้นอนุบาลปี ที่ 1/3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ระหว่างจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ วัดความสามารถการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ และ ประเมินพัฒนาการ 3 ด้าน และหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้ วัดความสามารถ การเรียนรู้การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ ประเมินพัฒนาการ 3 ด้านอีกครั้ง หนึ่ง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาประสิทธิภาพของสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณา ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุด สื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ ระหว่างจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และหลังการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ ( E1/E2 ) คำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนแบ่งเบนมาตรฐานของพัฒนาการ 3 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็ก ชั้นอนุบาลปี ที่ 1/3 มีผลการเรียนรู้พัฒนาการ 3 ด้าน คือ ด้าน อารมณ์/จิตใจ สังคม และสติปัญญา อยู่ในระดับ ดี ทั้ง 3 ด้าน 2) สื่อประสมเพื่อการเรียนรู้ มีค่า ประสิทธิภาพเท่ากับ 76.55/79.23 ซึ่งสูงกว่าค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา -- การศึกษาและการสอน(ชั้นอนุบาล)en_US
dc.subjectการอ่านออกเสียงen_US
dc.subjectการสอนด้วยสื่อ -- วิจัยen_US
dc.titleการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้ชุดสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้en_US
dc.title.alternativeThe Development of pronunciation skills of English vocabularies of kindergarten 1 students through multimedia learning packageen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe aims of this study were to 1) study learning outputs of the developing pronunciation skills of English vocabularies of kindergarten 1 effectively to 75/75 (E1/E2) learning standard and 2) develop a learning multimedia to develop pronunciation skills of English vocabularies of kindergarten 1 including students’ emotion/ spirit, society and intelligence. The populations of the study were the 18 kindergarten 1 students in Satit Bilingual School of Rangsit University, Muang District, Patumthani Province. The research instruments for data collection were used the learning multimedia comprised of A-Z English alphabet VCD, A-Z phonic English vocabularies pronunciation VCD, and English vocabularies card with pictures. The researcher examined the study by teaching with the 2 classrooms of the kindergarten 1. The researcher tested the difficulty of the vocabularies, the suitability of the contexts and the research time with 18 students in the kindergarten 1/1. The outputs of the study used for improving and developing the learning multimedia more suitable and then tested it with 18 students in the kindergarten 1/3. It found that the learning multimedia was both difficult and easy in vocabularies, contexts, and time. For the data collection, the researcher made an examination tools to examine English vocabularies pronunciation and 3 dimensions development examination. All research instruments were proved by 3 expertises in context stability and the index of objective congruence: IOC. The research instruments had quality with 1.00 IOC score. The researcher collected data by examined the developed learning multimedia with the students in the kindergarten 1/3 for 4 weeks with teaching and measuring the learning ability in English vocabularies pronunciation skills and 3 dimensions development examination. After that period, the researcher had examined the students with the same process in order to measure the quality of learning multimedia, considered from the data analyzing with percentage and mean ( x̅ ) of students’ learning ability for English vocabularies pronunciation (E1/E2) and analyzed the 3 dimensions development by considered from mean ( x̅ ) and standard deviation (S.D.). The results of the study found that 1) the students in the kindergarten 1/3 had good development in 3 dimensions of emotion/ spirit, society and intelligence , and 2) the learning multimedia had 76.55/79.23 in quality values, it meant that the quality values of the learning multimedia was higher than the learning standard (75/75).en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JIRAPORN JAISIRI.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.