Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1908
Title: | พฤติกรรมการปฏิบัติตน และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม |
Other Titles: | Health behaviors and readmission in persons with congestive heart failure receiving the self efficacy enhancement and social support program |
Authors: | จันทนา ม่วงทอง |
metadata.dc.contributor.advisor: | วารินทร์ บินโฮเซ็น, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | ภาวะหัวใจล้มเหลว -- วิจัย;โรงพยาบาล -- ไทย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One group pre-post test design) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนและการกลับเข้ารักษาซ้าในโรงพยาบาลในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม โปรแกรมพัฒนาจากแนวคิดการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย อายุรกรรมโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 20 ราย ได้รับโปรแกรมระหว่างอยู่โรงพยาบาลและหลังจำหน่าย 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเข้าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม และ 1 เดือนหลังจำหน่าย เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตน และแบบบันทึกการกลับเข้ารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ Wilcoxon-Signed Ranks test ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตนภายหลังเข้าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) และไม่พบการกลับเข้ารักษาซ้าในโรงพยาบาล ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรนาโปรแกรมนี้ไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนในพฤติกรรมการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการกลับเข้ารักษาซ้ำต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | This one group pre- post test experimental study aimed to investigate the health behav-iors and readmission in persons with congestive heart failure (CHF) receiving the self efficacy enhancement and social support program. Self efficacy of Bandura and social support was used as a conceptual framework for the development and implementation of the program. The purposive sample of 20 persons with CHF and caregivers received the program during admission in medical ward at Singburi hospital and two weeks after discharge. The data were collected for two certain points of time i.e. before the program and one month after discharge. The instruments comprised self efficacy enhancement and social support program, demographic data sheet, health behavior questionnaire, and readmission data record. Descriptive statistics and Wilcoxon-Signed Ranks test were used in data analysis. The finding showed that the mean scores on health behaviors was significantly higher than that of prior the program (p = .000). In addition, the incidence of admission among persons with CHF was not found. It is suggested the benefit of this program to prevent readmission among persons with CHF. |
Description: | วิทนายิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1908 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
JANTANA MUANGTHONG.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.