Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัตรา ประดับพงศ์-
dc.contributor.authorประสิทธิ์ รัตนสุภา-
dc.date.accessioned2023-08-21T07:26:35Z-
dc.date.available2023-08-21T07:26:35Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1913-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างคือครูคณิตศาสตร์จำนวน 12 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากโรงเรียนที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก สมศ. รอบที่ 3 และนักเรียน จำนวน 339 คน ใช้0การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย0 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ 1) แผนการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียน การสอน 2) แบบประเมินความสามารถของครูคณิตศาสตร์ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัด การเรียนการสอนก่อนและหลังการพัฒนา 3) แบบประเมินความสามารถของครูคณิตศาสตร์ ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 5) แบบบันทึกการนิเทศ และ 6) แบบบันทึกการสัมมนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าสถิติ ที และข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา และค่าความถี่ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ การวางแผน การฝึกอบรม การนำความรู้ไปปฏิบัติจริง การนิเทศ และการสัมมนา 2) ค่าเฉลี่ยความสามารถของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อน การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 3) ค่าเฉลี่ยความสามารถของครูในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ( x̅= 3.76, SD = 0.21) 4) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.64, SD = 0.23) 5) ผลการนิเทศ พบว่า ในภาพรวมครูคณิตศาสตร์ใช้ภาษาอังกฤษ ในการจัดการชั้นเรียนได้ดี และอ่านออกเสียงคำศัพท์ และประโยคทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ได้ถูกต้อง ชัดเจน และ 6) ผลการสัมมนา พบว่า ครูทุกคนเสนอแนะให้มีการฝึกการพูดภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง และครูส่วนใหญ่เสนอแนะให้มีการสาธิตการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- พัทลุงen_US
dc.subjectครู -- การพัฒนา -- วิจัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัยen_US
dc.titleรูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพัทลุงen_US
dc.title.alternativeA Mathematics teacher development model to use english as a medium of instruction for mathayomsuksa 1 students in Phatthalung secondary schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research aimed to: 1) create a mathematics teacher development model to use English as a medium of instruction for Mathayomsuksa 1 students in Phatthalung secondary schools, and 2) evaluate the effectiveness of the model. The sample group consisted of 12 mathematics teachers purposively selected from the schools whose educational quality and standards were certified by the Office for National Education Standards and Quality Assessment Round 3, and randomly selected 339 students. The research instruments were: 1) a mathematics teacher development plan to use English as a medium of instruction, 2) a pre- and post-assessment of mathematics teachers’ ability to use English as a medium of instruction, 3) an assessment form for mathematics teachers’ ability to prepare lesson plans in English, 4) a student satisfaction questionnaire, 5) a supervision note, and 6) a seminar note. Mean, standard deviation, mode, median, and t-test were used for quantitative data analysis; content analysis and frequency were used for qualitative data analysis. The main findings were as follows: 1) a mathematics teacher development model consisted of five components: planning, training, implementation, supervision, and seminar; 2) the average score of mathematics teachers’ ability gained from the post-assessment was significantly higher than that from the pre-assessment at 0.01; 3) the average score of mathematics teachers’ ability to prepare lesson plans in English was at a high level (x̅ = 3.76, SD = 0.21); 4) the average score of student satisfaction was at a high level ( x̅= 3.64, SD = 0.23); 5) a supervision note disclosed that overall, all the 12 teachers could use English for classroom management very well and pronounce mathematical vocabulary and sentences clearly and correctly; and 6) a seminar note revealed that all the teachers recommended further practice in spoken English. Most of them suggested a demonstration of an English-medium instruction in mathematics.en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineการศึกษาen_US
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PRASIT RATANASUPA.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.