Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1915
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจา ผลสวัสดิ์-
dc.contributor.authorสกุณา น้อยมณีวรรณ์-
dc.date.accessioned2023-08-21T07:41:06Z-
dc.date.available2023-08-21T07:41:06Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1915-
dc.descriptionดุษฏีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการอ่านของนักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) การพัฒนาชุดฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) 3) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีทั้งหมด 10 เครื่องมือ เป็นแบบสอบถาม แบบสังเกตการณ์ แบบประเมินกิจกรรมผลการเรียนรู้ และแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนสาหรับการประเมินผลการเรียนรู้คาศัพท์และการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหลังการใช้ชุดฝึกความรู้คาศัพท์ คือนักเรียนจำนวน 3 คน ที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ จำนวน 2 คน ที่ไม่สามารถเขียนความหมายคำศัพท์เป็นภาษาไทยได้ และมีจำนวน 1 คนที่ไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ที่ทดสอบเลย สามารถพัฒนาระดับคะแนนเพิ่มมากขึ้น 2) นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้น หลังการใช้ชุดฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยมีนักเรียน 4 คนที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการตอบคำถามเนื้อเรื่อง การสรุปเรื่อง และการสะท้อนความคิดเห็น สามารถพัฒนาระดับคะแนนเป็น 3/ 3/ 5 จากคะแนนเต็ม 5 และเฉพาะการสรุปเรื่อง นักเรียนทั้ง 6 คน สามารถพัฒนาระดับคะแนน เป็น 3 จาก คะแนนเต็ม 5 3) นักเรียนทั้ง 6 คน สามารถเกิดการเรียนรู้ถึงระดับที่สมบูรณ์โดยการเสริมต่อการเรียนรู้ ที่มีการฝึกซ้ำ 1-4 ครั้งสำหรับการเรียนรู้คำศัพท์และ 2-4 ครั้งสำหรับการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) ผลของการสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (Mean = 4.68, S.D. = 0.40) และนักเรียนกับครู (Mean = 4.57, S.D. = 0.50) เป็นไปในเชิงบวก 5) ผลของการช่วยเหลือที่ครูมีให้แก่นักเรียนและนักเรียนมีให้แก่เพื่อนเป็นไปในเชิงบวก (Mean = 4.84, S.D. = 0.22) 6) ผลของการทวนสอบความคิดเห็นของครู(Mean = 4.80, S.D. = 0.22) และความคิดเห็นของนักเรียน (Mean = 4.72, S.D. = 0.39) ที่มีต่อวิธีการใช้การเสริมต่อการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน ซึ่งผลของการวิจัยทั้งหมดสนับสนุนความมีประสิทธิภาพของการใช้วิธีการเสริมต่อการเรียนรู้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การอ่าน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en_US
dc.titleการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยใช้วิธีเสริมต่อการเรียนรู้en_US
dc.title.alternativeDevelopment of English comprehension reading skills for reading-at-risk students at the primary level through scaffolding approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe research’s objectives were to 1) investigate the reading skills of primary school students in Darunaratchaburi Witaed Suksa School who are prone to have difficulty in comprehending English text, 2) to develop a reading comprehension lessons though the scaffolding approach, and 3) to assess the reading skill’s achievements after using the treatment of scaffolding approach. The sampling of this case-study-based research was 6 students in grade 3. The 10 research tools were a questionnaire, an observation tool, learning activity assessment tools, the pre-test and post-test for assessing the vocabulary knowledge and reading comprehension performances. The research results were 1) all students’ vocabulary knowledge improved after being treated by five the vocabulary lessons as 3 of them who were not able to pronounce the word, 2 of the students who were not able to write the meaning of the vocabulary into Thai and one of them who did not know the meaning of the vocabulary, were able to improve their scores; 2) all students’ reading comprehension improved after being treated by five the reading comprehension lesson as 4 of them who struggled with answering questions from the story, summarizing and reflecting their opinions, were able to improve their scores to 3/3/5 respectively, out of the full score of 5. It should be noted that in summarizing part that 6 students were able to improve their scores from 3 to 5; 3) all 6 students were able to ultimately develop their learning ability after practicing with the vocabulary treatment 1-4 times and 2-4 times for reading comprehension treatment; 4) the results of the classroom observation investigating the interactions between the teacher and students (Mean = 4.68, S.D. = 0.40), students and the teacher (Mean = 4.57, S.D. = 0.50) were indicated the positive outcome; 5) the result of the help and support via the scaffolding approach from the teacher towards students and students towards their peers friends showed a positive outcome. (Mean = 4.84, S.D. = 0.22); 6) the result of teacher’s opinion (Mean = 4.80, S.D. = 0.22) and students’ opinion (Mean = 4.72, S.D. = 0.39) toward the treatment showed corresponding outcome.en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineการศึกษาen_US
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SAKUNA NOIMANEEWAN.pdf12.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.