Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1931
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญสม เกษะประดิษฐ์, ประจักร ทรัพย์มณี | - |
dc.contributor.author | วาศิณี นาคเจือ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-22T08:24:52Z | - |
dc.date.available | 2023-08-22T08:24:52Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1931 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ดุษฏีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยในการบริหารจัดการของโรงพยาบาลชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลแก่ประชาชนผู้รับบริการ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความเป็นองค์การนำของโรงพยาบาลชุมชน (3) สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาพลวัตการจัดการความรู้ระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับชุมชนจากปัจจัยที่มีนัยสำคัญ โดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าในการวิจัยเชิงคุณภาพ จาก 3 แหล่งคือ ผู้ปฏิบัติงานในสังกัดรพ.ชุมชน ผู้ป่วยที่ใช้บริการ และ ประชาชนที่อาศัยในชุมชน โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ กันเพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน เช่น ใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และ ทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฏี เอกสารที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลจากการศึกษาเชิงลึกมาจัดทำเป็นกรอบแนวคิดเชิงเหตุผล แล้วจัดทำตัวแปรเชิงปฏิบัติการเพื่อหาข้อมูลเชิงปริมาณจากการสุ่มตัวอย่างใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม หาจำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ factor Analysis จัดกลุ่มกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข และ วิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่มีผลต่อตัวแปรตาม ผลการศึกษาและผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ตัวแปรภาวะผู้นำ การบริหารจัดการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม จำนวนประชากรในพื้นที่ และระยะทางการคมนาคม รวมทั้งขีดความสามารถในการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานของโรงพยาบาลชุมชนในการสร้างการเรียนรู้และการสร้างความเชื่อมั่นเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนนำไปสู่การเรียนรู้พัฒนาทักษะ ชาวบ้านเชื่อมั่น ศรัทธาในทีมสหวิชาชีพ และความสามารถในการบริหารภายในหน่วยงานสมรรถนะของ บุคลากรสหวิชาชีพรวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน ข้อค้นพบนี้สามารถนำไปประยุกต์ได้โดยสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารงานในด้าน การทำงานเป็นทีม การทำงานแบบมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิด นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะการจัดอภิปราย การประชุมสัมมนา หรือพบปะเพื่อปรึกษาหารือปัญหาต่างๆ ในการบริหารงานของแต่ละฝ่าย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในการบริหารงาน แนวทางในการพัฒนาการบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ประสิทธิผลดีที่สุดและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการทำงานเป็นทีม ในทางปฏิบัติจะต้องมีสัมพันธภาพระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อสผ.) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ในการรับการสนับสนุน ทั้งในส่วนราชการ ภาคเอกชน และจากประชาชนในพื้นที่ ควรมีการฝึกอบรม สัมมนา ให้มีความรู้ความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นให้ชาวบ้านเกิดความต้องการอยากเรียนรู้ด้านสุขอนามัยในด้านการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานให้ชัดเจน ติดตามและประเมินผลเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และนำไปปฏิบัติงานจริงอย่างเหมาะสม จะนำไปสู่การบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมที่จะพัฒนาการบริหารต่างๆ ของโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นนวัตกรรม ที่นอกเหนือจากการบริหารที่เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้นำพัฒนาทั้งคน และพัฒนางานไปพร้อมๆ กัน | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลชุมชน -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลชุมชน -- วิจัย | en_US |
dc.subject | การบริการ | en_US |
dc.title | ความเป็นองค์กรนำของโรงพยาบาลชุมชน ในการให้บริการสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิผล | en_US |
dc.title.alternative | The leading organization of the community hospital in providing health services effectively | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The objective of this doctoral dissertation is to propose (1) Discover the management factors involved in providing effective patient services at community hospitals. (2) Analyze the significant factors that contribute to the effectiveness of leading community hospitals. (3) Synthesize the significance of the consequence of knowledge management between the community hospital and the community, using triangular qualitative data monitoring methodology: from people affiliated with the community hospital; patients; and community members, using differing data collection methods to correlate information about same observations; in-depth interviews and literature review of theoretical concepts in relevant documents. The results defined the operating variables for quantitative data sampling. Using the Leslie Kish sampling model. Descriptive statistics was used to validate the average standard deviation for the questionnaire. Factor Analysis grouped the transfer of public health knowledge and multiple regression analysis was used to study the relationship of independent variables on dependent variables. Studies and a hypothesis find that leadership variables, management of shared learning, teamwork, community population size, and transport distance combine to limit the ability for community hospitals to manage the environment external to community hospital agencies to generate long term knowledge and confidence building that is essential to establish the involvement of the community in the development of learning skills, villagers faith in multidisciplinary teams, the ability to manage performance of agency staff, as well as develop a linked multidisciplinary hospital network. This finding can be applied to create an understanding of the administration process, teamwork managing external agencies, working as part of the community, the transfer of knowledge, ideas and experience, and the exchange of ideas in an organized debate, symposium, or meeting to discuss problems in the administration of each party, as well as, providing technical assistance in the management and development of the guidelines for Public Health at the Community Hospital, to get the best quality. The Director of the Community Hospital has to get the best quality that is in line with the key to the development of working as a team; in practice there must be a relationship between supervisors, subordinate network of district health promoting hospitals, village health volunteers, aged care volunteers, and parent organizations oriented to benefit of local support. Both government and the private sector should have training seminars to provide a better understanding in the community of clear practices, monitoring, and evaluation in order to improve the transfer of knowledge and then apply it in an appropriate and practical way. This leads to an increase in effective administration and management to develop innovative community hospitals, as well as, managing the daily routine work with a focus on community leadership development; developing both the people and the work concurrently. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WASINEE NAKJUA.pdf | 4.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.