Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1937
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรวรัญ องคสิงห์, กนกรัตน์ ยศไกร-
dc.contributor.authorสุรพันธ์ วงศาสุราฤทธิ์-
dc.date.accessioned2023-08-23T07:24:32Z-
dc.date.available2023-08-23T07:24:32Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1937-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขการเกิดโรงฆ่าสุกรนอกกฎหมาย 2) ศึกษาการดำรงอยู่ของโรงฆ่าสุกรนอกกฎหมายในสังคมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Dept-Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) 10 ท่าน 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้นำนโยบายสาธารณะไปปฎิบัติ มีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์ รวม 2 ท่าน (2) กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 2 ท่าน (3) ผู้แทนสมาคม, ผู้แทนชุมชน และผู้บริโภคมีนายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ผู้ใหญ่บ้านและผู้บริโภค รวม 3 ท่าน (4) ผู้บริหาร-เจ้าของโรงฆ่าสุกร คือรองผู้จัดการฝ่ายการตลาดและเจ้าของโรงฆ่าสุกรและเขียง รวม 2 ท่าน (5) กลุ่มนิตยสารสุกร มี 1 ท่าน โดยใช้แนวคำถามที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการพรรณนา และการวิเคราะห์ตีความ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัย และเงื่อนไขการเกิดโรงฆ่าสุกรนอกกฎหมาย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านผู้บริโภคมีความต้องการและซื้อเนื้อสุกรชำแหละได้ราคาถูกกว่า เศรษฐานะของผู้บริโภค ความเคยชิน และขาดความรู้ด้านสุขอนามัย (2) ปัจจัยด้านเจ้าของโรงฆ่าสุกร เพราะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ไม่คุ้มการลงทุน (3) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการในภาครัฐ เพราะขาดแคลนบุคลากร ความยุ่งยาก ซับซ้อน และเรื่องภาษี (4) ปัจจัยด้านชุมชน เนื่องจากเจ้าของโรงฆ่าเถื่อนมีอำนาจเหนือนักการเมืองท้องถิ่น (5) ปัจจัยด้านราคาขายเนื้อสุกรและค่าบริการชำแหละถูกกว่ามาก ส่วนการดำรงอยู่ของโรงฆ่าสุกรนอกกฎหมายในสังคมไทย พบว่า (1) เลี้ยงหมูแล้วขาดทุนจึงแปลงเล้าหมูมาเป็นโรงเชือด (2) บุคลากรภาครัฐ ยังมีการรับสินบน (3) ผู้บริโภคไม่ใส่ใจและไม่รู้ภัยของเนื้อหมูจากโรงฆ่านอกกฎหมาย (4) พนักงานตรวจโรคสัตว์มีไม่พอการใช้กฎหมายจึงยังไม่เต็มที่ (5) นโยบายภาครัฐ หากบังคับใช้กฎหมายเนื้อหมูขาดตลาด แต่ถ้าอะลุ้มอะล่วย โรงฆ่าเถื่อนมีมากขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ (1) นำวิชาการและเทคโนโลยีใหม่มาใช้ (2) การให้ความรู้เรื่องโรงฆ่าเถื่อน (3) กระตุ้นโดยผู้บริโภค (4) อบรมก่อนให้ใบอนุญาต (5) การตรวจสอบย้อนกลับ (6) การประชาสัมพันธ์ ให้เห็นโทษของเนื้อสุกรที่มาจากโรงฆ่าเถื่อน (7) ให้มีพนักงานตรวจโรคสัตว์ อยู่ประจำครบทุกโรงฆ่าสัตว์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ (1) การให้สิทธิพิเศษ (2) การสร้างจิตสำนึก (3) การให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ (4) การแบ่งเกรด (ระดับ) โรงฆ่าสุกร (5) Smart Farmer ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เรื่อง “ระบบโซนนิ่ง” และ “การตรวจสอบย้อนกลับ”en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectุธุรกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectโรงฆ่าสัตว์ -- ไทย -- วิจัยen_US
dc.subjectสุกร -- วิจัยen_US
dc.titleธุรกิจนอกกฎหมาย : กรณีโรงฆ่าสุกรen_US
dc.title.alternativeIllegal business study for Pig abattoirsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research is to study factors and causes of illegal pig abattoirs, and their existence in Thailand by using qualitative research. Researcher has implemented the in-depth interview with 5 groups of key informants consisting of implementation public policy group, academic group, representative of consumer group, owner of pig abattoir group and interpretation journalist. This research uses questions that are developed for the in-depth interview and proposes results of data analysis in descriptive and interpretative way. After the results of qualitative researches have been analyzed, and summarized according to the aim of research According to the research, results are indicated as follows: Factors and causes of illegal pig abattoirs are (1) Consumers demand pork for lower price without awareness of hygiene (2) Higher cost of capital and cost of operation for legal abattoirs. (3) The government’s managing problem as well as lack of personnel and complexity of license proposal. (4) Many illegal abattoir owners have strong influence over regional politicians (5) Lower cost of operation for illegal abattoirs. Factors and causes for existence of illegal pig abattoirs are (1) Many pig raisers have turned their pigpen into abattoir due to deficit in pig raising. (2) Many government officials take bribes from illegal abattoirs. (3) Consumers do not aware of danger of pork from illegal abattoirs. (4) Lack of official inspectors (5) The government does not strictly enforce the law. Recommendations for immediate action are (1) New technologies should be applied. (2) Knowledge of illegal pig abattoirs should be provided (3) Consumers should be active to make a demand for quality pork. (4) All butchers should be trained before a license approved. (5) Traceability (6) Disadvantages of pork from illegal abattoirs should be widely publicized. (7) Official inspectors should be stationed at all abattoirs. Recommendations for policy are (1) Give previleges who conform the rules. (2) Official inspectors should do fair inspection to all abattoirs. (3) There should be joint venture between public and private sectors. (4) Pig abattoirs should be more graded (5) Smart Farmers Recommendations for further research are research about “Zoning” and “Traceability”.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SURAPUN VONGSASURARIT.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.