Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1942
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ สุขสำราญ, จุมพล หนิมพานิช-
dc.contributor.advisorภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ-
dc.contributor.authorปรีชยา ท้วมอ้น-
dc.date.accessioned2023-08-23T08:01:02Z-
dc.date.available2023-08-23T08:01:02Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1942-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา หน่วยงานตรวจสอบภายใน ของเทศบาลนครในภาคกลาง มี วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ประเมินผลสัมฤทธิ์ในระดับ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของหน่วยงานตรวจสอบภายในของเทศบาลนครในภาคกลาง (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในของเทศบาลนครในภาคกลางที่จะปฏิบัติงานตามมาตรฐานตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานของส่วนราชการ (3) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบภายของเทศบาลนครในภาคกลางให้ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานของส่วนราชการ กรอบแนวคิดใช้ทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตามแนวคิดของ Eisner (1979) ที่ ประเมินคุณค่าตามมาตรฐานวิชาชีพ (professional review) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยในเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ หรือผู้เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ ระดับนโยบาย และนักวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในนั้นผลสัมฤทธิ์ในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของหน่วยงานตรวจสอบภายในไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของส่วนราชการ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาของหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ต้องปฏิบัติงานตรวจสอบภายในด้วยความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม อันเนื่องมาจากปัญหา ดังต่อไปนี้ (1)ในการจัดทำกฎบัตรไม่ได้มีกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือประชุมปรึกษาเพื่อสร้างสรรค์ข้อกำหนดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของ แต่ละเทศบาล (2) โครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในยังไม่มีฐานะเทียบเท่าฝ่าย และหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในยังไม่มีสถานภาพเทียบเท่าผู้บริหารหรือหัวหน้าของหน่วยงานสำคัญอื่นๆ (3) เทศบาลนครไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่ช่วยให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี (4) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมตรวจสอบและการพัฒนาความรู้ของผู้ตรวจสอบภายใน (5) หน่วยงานตรวจสอบภายใน ไม่ได้วางแผนการประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของกิจกรรม รวมถึงประเมินการควบคุมภายใน สำหรับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนการตรวจสอบประจำปีและการจัดทำแนวการตรวจสอบ ทำให้แผนการตรวจสอบไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของเทศบาล และ (6) รายงานการตรวจสอบ ไม่มีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ตัดสินใจในการบริหารงานขององค์การและ พิจารณาปรับปรุงระบบการควบคุมภายในป้องการการทุจริต ซึ่งจะทำให้องค์การ (เทศบาล) มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ คือ (1) ควรพิจารณา การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (audit committee) ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบเป็นกลไกที่สำคัญอันหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการกำกับดูแลกิจการ (corporate governance) (2) ปรับโครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในให้มีความเป็นอิสระ โดยให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีฐานะเท่าเทียมฝ่ายและหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในมีสถานภาพสูงพออย่างน้อยเทียบเท่าหัวหน้าหน่วยงานสำคัญอื่นๆในเทศบาลนคร (3) คณะกรรมการตรวจสอบต้องสอบทานการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนการตรวจสอบประจำปีและแนวทางการตรวจสอบให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้บริหารระดับสูง (นายกเทศมนตรี) ของเทศบาลนคร (4) ส่งเสริมพัฒนาเจ้าหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบภายในเป็น Certified Internal Audi- tor ด้วยการเพิ่มเป็นเงินเพิ่มด้านวิชาชีพและใช้ในการพิจารณาตำแหน่งที่สูงขึ้นไปในสายงานตรวจสอบภายในและสายงานบริหารที่ระดับสูงในองค์การ(เทศบาล)ต่อไป และ (5) ควรให้งบประมาณในด้านการบริหารหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เพียงพอกับปริมาณ อาทิเช่น การเพิ่มบุคลากร การฝึกอบรมและอุปกรณ์การทำงานที่ทันสมัยเช่นโปรแกรมต่างที่ช่วยในด้านการตรวจสอบภายในen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทยen_US
dc.subjectการประเมินผลen_US
dc.subjectการตรวจสอบภายใน -- วิจัยen_US
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา : หน่วยงานตรวจสอบภายใน ของเทศบาลนครในภาคกลางen_US
dc.title.alternativePerformance evaluation of internal audit unit of local government in Thailand a case study : internal audit unit of municipal city in central regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe study titled “Performance evaluation of internal audit unit of local government in Thailand. A Case Study: Internal audit unit of Municipal city in central region” has 3 objectives as: (1) To evaluate levels of achievement on productivity, result and impact of internal audit unit of Municipal city in central region. (2) To study the problem and/or obstacle in operations that will work on Internal Audit Standard and ethical practice of government. (3) Solutions offer for internal audit unit of Municipal city in central region that can work on Internal Audit Standard and ethical practice of government. The conceptual framework by using systems theory to be applied for achievement evalu-ation of internal audit from Eisner’s (1979) concept to evaluate value of professional review by having operational research methodology on Quality, Study on document, theoretical concepts, research project related and in- depth interviewing using in- depth interview questionnaire as the tool for information gathering that interviewees consist of officers or persons related to be in level of operation, policy and academic. Results of Research shown that performance evaluation of internal audit unit. This levels of achievement on productivity, result and impact of internal audit unit are non-standard on Inter-nal Audit Standard and ethical practice of government. So that impact on activities on confidence and consultative of internal audit unit who has to perform internal audit with independence and equity .that caused by the following problems: (1) Preparation of the charter, there is no processes of knowledge exchanged /transferred or have meeting on consulting to create new provision to fit in the context of each local government. (2) Structure of internal audit unit has no status as de-partment and the chief of unit has status not equal as executive officers on the other important departments. (3) Municipal city does not have audit committee to support on the good govern-ance. (4) Insufficient budget allocation for auditing activity and knowledge development of inter-nal auditor. (5) Internal audit unit have no risk assessment plan for priority of activities, including internal audit assessment for strategic plan , annual audit plan and preparation auditing ap-proached/methodology .It causes auditing plan not to be in line with goal of local government. (6) Audit report does not have any recommendation for management executive to decision making for organization management and considering on internal control system improvement for fraud protection which will make organizations (local governments) have effective and efficient opera-tions. The research recommendations are as follows: 1) Consider to appoint audit committee who is the important mechanism to support good /corporate governance. 2) Align the internal Audit structure to be independence and have equal status as depart-ment and the chief of unit has status equal as executive officers of the other local government . 3) Audit Committee should review strategic plan, Annual Audit Plan and preparation au-diting approached/methodology to be in line with goal of local government (governor). 4) Develop internal audit officer to be Certified Internal Auditor(CIA). To promote in-ternal audit officer for profession benefit and promote job to be higher on internal audit position or management level in local government. 5) Provide enough budget for internal audit administration such as increase staff, training and up-to-date office equipment such as software program for internal audit.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineรัฐประศาสนศาสตร์en_US
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PREECHAYA TUAMON.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.