Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1955
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิรภา จำปาทอง-
dc.contributor.authorธิติพนธ์ เอี่ยมเจริญ-
dc.date.accessioned2023-08-25T05:56:20Z-
dc.date.available2023-08-25T05:56:20Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1955-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ ( น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาจาก วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ทำให้เกิด ปัญหาในการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลในสมัยนั้น คิดหาหนทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ศึกษาและนำระบบกฎหมาย การดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา จากประเทศ สหรัฐอเมริกา มาปรับใช้กับประเทศไทย ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 แต่หลังจากได้ประกาศใช้นั้น กลับไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจาก ขาดการให้ความรู้ถึง ประโยชน์ของระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาประเด็นสำคัญจากการศึกษา คือ ประเด็นที่ หนึ่ง การที่ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับทำให้คู่สัญญาทั้งสองคือ ผู้บริโภค และผู้ประกอบการนั้นต้อง มีการแสดงเจตนาร่วมกันในการเข้าสู่ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาหากคู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ ายหนึ่งมีความประสงค์จะเข้าสู่ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ร่วมแสดง เจตนาการเข้าสู่ระบบการดูแลผลประโยชน์ก็ไม่สามารถกระทำได้ ประเด็นที่สอง การที่มีการ กำหนดลักษณะเป็นการทั่วไปกล่าวคือ สัญญาต่างตอบแทนใดๆ นั้นก็สามารถที่จะเข้าสู่ระบบการ ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาได้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถที่จะกำหนดกฎเกณฑ์รายละเอียดเป็น เฉพาะได้ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายต่อการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ นั้น จากประเด็นปัญหาดังกล่าว หากวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศ สหรัฐอเมริกาใน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาแล้วพบว่าเป็น หลักกฎหมายที่มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยมีลักษณะเป็น การบังคับให้ผู้ประกอบการนั้นจะต้องเข้าสู่ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาหากผู้บริโภค มี ความต้องการ หลักกฎหมายดังกล่าวยังมีการใช้เฉพาะใน การซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นไม่ได้ ให้ความหมายที่กว้างเหมือนกับหลักกฎหมายในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการทำให้ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาประสบความสาเร็จตาม เจตนารมณ์ ที่มีความมุ่งหมายที่จะให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคเป็นสำคัญ ควรต้องมีการแก้ พระราชบัญญัติ การดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 โดย ในส่วนการ ซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทต้องมีลักษณะเป็นการบังคับกล่าวคือผู้ประกอบการนั้นจะต้องปฏิบัติ ตามความต้องการของผู้บริโภค หากผู้บริโภคมีความต้องการทำสัญญาดูแลผลประโยชน์ ผู้ประกอบการจะต้องเข้าทำสัญญาดูแลผลประโยชน์ด้วย และควรมีการแยกหรือกระทำการใดๆให้ หลักกฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาสามารถมีลักษณะเฉพาะเพื่อเป็นประโยชน์ในการ กำหนดรายละเอียดต่างๆในการบังคับใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์ -- กฎหมายen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของ คู่สัญญา พ.ศ. 2551en_US
dc.subjectธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของ คู่สัญญา พ.ศ. 2551: ศึกษา กรณีภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.title.alternativeLegal problems of enforcement of escrow under The Escrow Act B.E. 2551: study for real estateen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractB.E.2540 Thailand faced with the Asian financial crisis and have problems on real estate transactions. It made the government to find the ways to reduce these issues by studying and using the legal escrow system from United States of America. Anyway, the enactment of Escrow Act B.E.2551 (2008) was not successful since the deficient of the advantages of escrow system. The main issues of this study are : (1) The Act has not the features of the enforcement that make both of the parties (consumers and players) must to show their intention together for entry to the escrow system. If the party requires to entry to the system but the other does not , the system cannot work. (2) The Act defined the general feature that many reciprocal contracts can be took to the escrow system , then it cannot be defined the specific rules and details that have directly effect to the efficiently enforcing the real estate transactions. From main issues above and the comparative analysis between Thai escrow Act B.E.2551 and The principle of laws of The United States of America, (California Financial Code Division 6 Escrow Law : The original escrow Act). The later one is a law that enforce players to entry the escrow system, if the consumers require it. This law, still specifically use with real estate transactions, but it is not used in broad like Thai system. Then, for successful escrow system which has a purpose to singnificantly protect the consumers. The author has the opinion that the Act should be amended. All types of real estate transactions should be enforced to serve consumers ’s requests. If they require to contract the escrow, the players would also contract too. In addition the Act should be specifically separated for using to define the details of the enforcement to real estate.en_US
dc.description.degree-nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิติศาสตร์en_US
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
THITIPON EIAMCHAROEN.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.