Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1976
Title: | การสื่อสารมโนทัศน์เรื่อง สุวรรณภูมิ ผ่านงานจิตรกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA) |
Other Titles: | The Communication of “Suvarnabhumi” concept through painting at Museum of Contemporary Art (MOCA) |
Authors: | สุวิชา สว่าง |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษณ์ ทองเลิศ |
Keywords: | พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA);พิพิธภัณฑ์ -- ไทย;มโนทัศน์ของศิลปะ;พิพิธภัณฑ์ศิลปะ -- การศึกษา;พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย;สุวรรณภูมิ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้เข้าใจวิธีการประกอบสร้างความหมายมโนทัศน์สุวรรณ ภูมิผ่านภาพจิตรกรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย 2) การเปลี่ยนความหมายผ่านสัญลักษณ์ภาพจากจิตรกรรมไทยประเพณี สู่งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การจัดแสดงงานศิลปะของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กับมโนทัศน์สุวรรณภูมิ โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารภาพจิตรกรรม แนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะ และกลุ่มแนวคิดการตีความหมาย ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ตัวบทงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างสรรค์งานภาพจิตรกรรม จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการประกอบสร้างความหมายมโนทัศน์สุวรรณภูมิผ่านภาพจิตรกรรมของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยมีวิธีการดังนี้ ก) การสร้างสัมพันธบทกับวรรณกรรมเนื่องในศาสนาที่ เกี่ยวเนื่องกับภาพจิตรกรรมที่สะท้อนมโนทัศน์สุวรรณภูมิ ข) การเข้ารหัสภาษาภาพจิตรกรรมผ่านสัญ รูปภาพประติมาน 2) การเปลี่ยนความหมายผ่านสัญลักษณ์ภาพในงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ประกอบด้วย ก) การเปลี่ยนสัญรูปของภาพประติมานแบบอุดมคติในงานจิตรกรรมไทยประเพณีสู่การ สร้างสัญรูปตามแบบสัจนิยมตะวันตก ข) การเปลี่ยนรูปแบบการใช้สีที่แบนเรียบในงานจิตรกรรมไทย ประเพณีสู่การใช้สีเพื่อสร้างมิติภาพที่สมจริงตามหลักการเขียนภาพจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ค) การนำหลักการรื้อโครงสร้างการจัดองค์ประกอบภาพจิตรกรรมแบบประเพณีนิยม สู่การประกอบ โครงสร้างใหม่ตามปัจเจกศิลปิน 3) ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ งานศิลปะและมโนทัศน์สุวรรณภูมินั้นมีวิธีการที่สำคัญได้แก่ ก) พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์มีความสอดคล้องกับบริบททางการสื่อสารงานศิลปะที่สะท้อนมโนทัศน์สุวรรณภูมิ ข) การออกแบบพื้นที่จัดแสดงงานมีความสอดคล้องกับวิธีการจัดลำดับทางการสื่อสารทางสัญลักษณ์ภาพด้วยความหมายโดยนัย ค)ความหมายจากการประกอบสร้างทางการสื่อสารระหว่างงานศิลปะ และพื้นที่ ก่อให้กลิ่นอายแห่งความจริงแท้เกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องสุวรรณภูมิ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aims to comprehend: 1) the methods of signification of the Suvarnabhumi concept through the paintings in the Museum of Contemporary Art (MOCA); 2) the meaning shifts via the figurative symbols from Thai traditional painting to contemporary painting; and 3) the connections between the art exhibition location of the Museum of Contemporary Art (MOCA) and Suvarnabhumi. The theoretical notions were founded on the concepts of painting communication, creative composition, and interpretation. Textual analysis was used to perform qualitative research on Thai modern painting, and in-depth interviews were done with key informants linked with painting design and production. The results revealed that 1) The methods of signification of the Suvarnabhumi concept through the painting in the Museum of Contemporary Art (MOCA) were a) the intertextuality creation with religious literature related to the painting reflecting the Suvarnabhumi concept, and b) the encoding of the painting's figurative language through the iconography. 2) The meaning alterations via the figurative symbols of Thai contemporary painting include a) the icon alteration of the ideal iconography from Thai traditional painting to realism, b) the color scheme usage alteration from a simple flat color scheme in Thai tradition painting to more realistic colors according to the painting principle of the Renaissance era, and c) the construction alteration from the traditional painting composition deconstruction to the individual art piece. 3) The relationships between the art exhibition location and the Suvarnabhumi concept were as follows: a) the museum location harmonizing with the artistic communication context reflecting the Suvarnabhumi concept; b) the art exhibition location design assorting with the implicit visual communication priorities; and c) the significance of assembling and creating communication between art and location in order to generate an aura of authenticity in the Suvarnabhumi concept. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1976 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SUWICHA SAWANG.pdf | 8.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.