Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1991
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกฤตพร คมแข, พิลาสมบัติ รำจวนเกียรติ-
dc.contributor.authorครินภรณ์ ยอดเสนีย์-
dc.date.accessioned2023-09-25T07:58:05Z-
dc.date.available2023-09-25T07:58:05Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1991-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565en_US
dc.description.abstractเทมเป้จัดเป็นอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูงและได้รับความนิยมมากขึ้นในระดับเอเชีย ในขณะที่เห็ดแครง Schizophyllum commune ) ซึ่งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่า เริ่มมีการบริโภคกว้างขวางขึ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจุดประสงค์ในการทดลองนี้คือเพื่อศึกษาคุณสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมการยับยั้งของเทมเป้และเห็ดแครง (SGM) ในไส้กรอกสดสมุนไพรสูตรต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมจากสารสกัดหยาบของเทมเป้สด เทมเป้นึ่ง เห็ดแครงสดและเห็ดแครงนึ่ง พบว่ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 244.45, 55.03, 1191.81 และ 234.96 มิลลิกรัม GAE/100 กรัมตัวอย่าง ตามลำดับ จากการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีต่าง ๆ พบว่าค่า IC 50 ของเห็ดแครงสดมีค่าเท่ากับ 0.2812 และ 0.5761 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับ ในขณะที่ค่า EC 50 มีค่าเท่า 0.3606 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบด้วยวิธีการรีดิวซ์สาร นอกจากนี้การใช้สารสกัดหยาบเทมเป้สดและเห็ดแครงสดที่ความเข้มข้นต่าสุดเท่ากับ 25 และ 50 มิลลิกรัม มิลลิลิตร ตามลำดับ สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus TISTR746 ได้ ซึ่งการใช้ความเข้มข้น 2X MIC สามารถลดจำนวนเซลล์ของ S. aureus TISTR746 ได้ถึง 5 log CFU/ml ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง เมื่อนาเทมเป้สดและเห็ดแครงสดไปทดลองใช้แทนเนื้อสัตว์ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกสดสมุนไพร โดยทดสอบการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นาน 9 วัน แล้วทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าทุกสูตรที่ใช้เทมเป้และเห็ดแครงมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< การทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสของไส้กรอกสดสมุนไพรสูตรต่าง ๆ ได้แก่ สูตรที่เป็นเทมเป้ เห็ดแครงและเทมเป้ที่ผสมเห็ดแครงในอัตราส่วนเท่ากับ 1:1, 1:3 และ 3:1 พบว่าแต่ละสูตรมีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 3.93, 3.30, 4.27, 5.33 และ 3.37 ตามลำดับen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectสารต้านอนุมูลอิสระ -- จากพืช -- วิจัยen_US
dc.subjectเห็ดแครงen_US
dc.subjectเทมเป้ -- วิจัยen_US
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทมเป้และเห็ดแครงเพื่อการผลิตไส้กรอกสดสมุนไพร : การต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมการยับยั้งจุลินทรีย์จากสารสกัดของเทมเป้และเห็ดแครงen_US
dc.title.alternativeFeasibility study of herbal fresh sausage production from tempeh and split gill mushroom: antioxidants and antimicrobial activities from tempeh and split gill mushroom extractsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractTempeh, a traditional high-protein plant-based diet, has become increasingly popular in Asia, whereas a split gill mushroom (Schizophyllum commune) has been consumed widely as a nutritional diet in South-East Asia. This research was carried out to determine the antioxidant properties and antimicrobial activities of tempeh and split gill mushroom (SGM) to formulate the herbal fresh sausages. The results found that the total phenolic content value of four crude extracts including fresh tempeh, steamed tempeh, fresh SGM and steamed SGM were 244.45, 55.03, 1191.81 and 234.96 mg GAE/100g sample, respectively. Subsequently, the antioxidant activities were analyzed by DPPH, radical cation ABTS+ and reducing power methods. The IC50 values of crude fresh SGM from the analysis using DPPH and ABTS+ assays were 0.2812% and 0.5761%, respectively, while the reducing power assay exhibited EC50 value at 0.3606%. Furthermore, crude extracts of fresh tempeh and fresh SGM showed the antimicrobial activity against Staphylococcus aureus TISTR 746 at 25 and 50 mg/ml concentrations, respectively. The 2X MIC (minimum inhibitory concentration) of fresh tempeh and fresh SGM could reduce viable cells of S. aureus TISTR 746 (5 log CFU/ml) at 12 h. Only fresh tempeh and SGM were used as plant-based protein in herbal fresh sausage products and analyzed by DPPH and ABTS+ assays for the investigation of antioxidant activities. The results of all treatment were significantly higher than control (p<0.05) when they were stored at 4°C for 9 days. Finally, the sensory test of tempeh, SGM, and tempeh combined with SGM in a ratio of 1:1, 1:3 and 3:1 was evaluated. The overall acceptance exhibited 3.93, 3.30, 4.27, 5.33 and 3.37, respectivelyen_US
dc.description.degree-nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
Appears in Collections:BiT-Bio-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KARINPORN YODSENEE.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.