Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2000
Title: | ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์กาแฟอะราบิกาจากมูลนิธิโครงการหลวงโดยใช้เทคนิค genotyping-by-sequencing (GBS) |
Other Titles: | Genetic diversity of Arabica coffee varieties from The Royal Project Foundation using genotyping-by-sequencing (GBS) |
Authors: | อัญญรัตน์ เตชะนันท์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | หทัยรัตน์ อุไรรงค์ |
Keywords: | กาแฟ -- พันธุ์อราบีก้า;กาแฟ -- พันธุศาสตร์;เครื่องหมายพันธุกรรม |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | กาแฟอะราบิกาเป็นพืชสำคัญชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย มีการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาทางการเกษตรและความต้านทานต่อโรคราสนิม เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่น อย่างไรก็ตาม พบว่ากาแฟอะราบิกาที่มูลนิธิโครงการหลวงอนุรักษ์ไว้ มีข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างน้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค Genotyping-by-Sequencing (GBS) ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกาแฟอะราบิกา 23 พันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนเฉลี่ยของการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพคือ 1,945,389 Reads ต่อตัวอย่าง ซึ่งนำมาเปรียบเทียบกับจีโนมอ้างอิงได้เฉลี่ยร้อยละ 95.83 สำหรับจำนวน SNPs และ InDels ทั้งหมดที่ตรวจพบในจีโนมคือ 1,180,245 และ 115,112 ตำแหน่ง ตำมลาดับ เมื่อใช้ชุดข้อมูล SNPs ในการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมด้วยการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงแบบคู่ระหว่างประชากรตามวิธี p-distance ให้ค่าแตกต่างทางพันธุกรรมที่แคบอยู่ในช่วง 0.14 ถึง 0.56 จากนั้นสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้ชุดข้อมูลจาก SNPs ซึ่งสามารถแบ่งกาแฟอะราบิกาออกเป็น 3 กลุ่ม แสดงถึงบรรพบุรุษร่วมกันของแต่ละพันธุ์ นอกจากนี้คัดเลือก SNPs และ InDels ที่ให้ความแตกต่างระหว่างพันธุ์กาแฟ ทำการยืนยันความถูกต้องและพัฒนาเป็นเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการศึกษาพันธุศาสตร์ของกาแฟและประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์กาแฟได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | Arabica coffee is one of the key products typically cultivated in the northern Thailand highlands. Agro-morphological characteristics and leaf rust resistance were investigated in order to select elite lines of these crops. However, it was found that Arabica coffee conserved by the Royal Project Foundation has relatively limited genetic diversity information. In this research, the Genotyping-by-Sequencing (GBS) method was used to study the genetic diversity of 23 Arabica coffee varieties. The results revealed that sequencing generated 1,945,389 average high-quality read tags per sample, of which 95.83% were successfully aligned to the reference genome. The total number of SNPs and InDels detected in the genome were 1,180,245 and 115,112, respectively. The SNP dataset was used to analyze the pairwise similarity among populations using the p-distance method, revealing narrow genetic distance values from 0.14 to 0.56. Then, a phylogenetic tree was constructed using SNP data to classify Arabica coffee into three major groups, each of which represents the common ancestor of the different varieties. Additionally, the selected polymorphism SNPs and InDels were validated and developed as molecular markers for coffee plant genetics research and plant breeding applications |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2000 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | BiT-Bio-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
AUNYARAT TECHANAN.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.