Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2003
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ ศุขสาตร | - |
dc.contributor.author | ธนธรณ์ ศรีมณฑล | - |
dc.date.accessioned | 2023-10-06T07:24:26Z | - |
dc.date.available | 2023-10-06T07:24:26Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2003 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอการวิเคราะห์ ออกแบบ และจำลองผลลัพธ์ของวงจรพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นคอนเวอร์เตอร์แบบเอนกประสงค์ชนิดไม่กลับขั้วด้วยหลักการลดรูปวงจรอย่างง่ายภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ โหมดการนำกระแสต่อเนื่อง และในสภาวะคงตัว ลำดับแรกดำเนินการวิเคราะห์การปรับตั้งค่าโหมดการทางานและทิศทางการถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าแบบแยกโหมด โดยการควบคุมการทำงานของมอสเฟตให้มีสถานะนำกระแสและหยุดนำกระแส ทำให้สามารถปรับตั้งโหมด การทำงานได้ 3 โหมด ได้แก่ บัค บูสต์ และบัค-บูสต์ และสามารถถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าได้ 2 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางตรง และทิศทางย้อนกลับ ลำดับถัดไปเป็นการวิเคราะห์อัตราขยายแรงดันไฟฟ้า ในแต่ละโหมด โดยการลดรูปวงจรพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นคอนเวอร์เตอร์แบบเอนกประสงค์ชนิดไม่กลับขั้วให้อยู่ในรูปวงจรอย่างง่ายด้วยหลักการลดรูปวงจรอย่างง่าย และพิจารณาการถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังภาระโหลดขณะที่มอสเฟตนากระแสหรือหยุดนากระแส หลักการดังกล่าวถูกคิดค้นขึ้นเพื่อลดความซับซ้อนในขั้นตอนการวิเคราะห์ภายใต้สภาวะคงตัว ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์อัตราขยายแรงดันไฟฟ้าได้จริงและสามารถยืนยันความถูกต้องของหลักการ โดยผลลัพธ์ที่เหมือนกันกับการวิเคราะห์ด้วยหลักการพื้นฐานทั่วไป ลำดับต่อไปดำเนินการออกแบบตัวอย่างวงจรพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นคอนเวอร์เตอร์แบบเอนกประสงค์ชนิดไม่กลับขั้วให้ทำงานในโหมดต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับเพิ่ม รักษา หรือลดระดับแรงดันเอาต์พุตได้ และจ่ายกระแสเอาต์พุตสูงสุด 1 A โดยมีแรงดันอินพุต 48 V และความถี่สวิตช์ 20 kHz ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยมือหรือซอฟต์แวร์ผ่านวงจรควบคุมที่ถูกออกแบบด้วยตารางความจริงดิจิทัลบนพื้นฐานของทฤษฎีพีชคณิตบูลีน สุดท้ายเป็นการจำลองผลลัพธ์ของสัญญาณเอาต์พุต เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยการเขียนรหัสคาสั่งผ่านโปรแกรมประยุกต์ GNU Octave | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | คอนเวอร์เตอร์ | en_US |
dc.subject | วงจรไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | วงจรพัลส์ | en_US |
dc.subject | วิศวกรรมไฟฟ้า | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์และออกแบบของพัลส์วิดธ์มอดูเลชั่นคอนเวอร์เตอร์แบบเอนกประสงค์ชนิดไม่กลับขั้วด้วยหลักการลดรูปวงจรอย่างง่าย | en_US |
dc.title.alternative | Analysis and design of universal non-inverting PWM converter with circuit simplification approach | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purpose of this work was to propose an analysis, design, and simulation of a universal non-inverting pulse width modulation converter using a circuit simplification strategy in continuous conduction mode during steady state. First, the operating mode setup and the direction of power transmission were analyzed. By configuring MOSFETs to be in a on or off state, it would be possible to have three modes of operation: buck, boost, and buck-boost. The energy might be transmitted in both forward and reverse directions. The subsequent phase was analyzing the voltage gain in each mode. By reducing the universal non-inverting pulse width modulation converter circuit to a simpler circuit using a circuit simplification technique, the energy transfer from source to load during the MOSFET's conducting or nonconducting state was studied. The strategy was devised and developed to simplify the steady-state analysis procedure. It may be utilized as a tool for voltage gain analysis, and the approach's verifiable validity yields the same findings as fundamental analysis. The next stage was to create an example of a universal non-inverting pulse width modulation converter that operates in many modes, offering a maximum output current of 1 A, an input voltage of 48 V, and a switching frequency of 20 kHz, and that may be controlled manually or automatically using a control circuit comprised of digital truth tables based on Boolean algebra. Finally, the design process was validated by modeling the effects of different output signals using GNU Octave. | en_US |
dc.description.degree-name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ | en_US |
Appears in Collections: | Eng-ECE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
THANATHON SRIMONTHON.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.