Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2027
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วศิณ ชูประยูร | - |
dc.contributor.author | วัลย์ลิกา วงษ์วรเทวา | - |
dc.date.accessioned | 2023-10-25T05:50:09Z | - |
dc.date.available | 2023-10-25T05:50:09Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2027 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การยอมรับ และความพึงพอใจ ต่อระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาตัวแบบ (สมการ) ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของ กรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลกับความพึงพอใจของผู้ใช้ และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงแก้ไขระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของ กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้กรอบทฤษฎี UTAUT เป็นทฤษฎีหลักในการ ออกแบบการวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง (เจ้าหน้าที่ป ระจำเครื่องชั่งน้ำหนักมูลฝอย ผู้ควบคุมงาน หัวหน้าศูนย์ ผู้บริหาร และ เอกชนผู้รับจ้าง) กับระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 261 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและส่งกลับคืนมา จำนวน 217 ชุด (ร้อยละ 83.14) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ก) สถิติพื้นฐาน คือร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ข) สถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การยอมรับและความพึงพอใจของระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.12-3.98) ผลการทดสอบสมมติฐานทำ ให้ได้สมการอิทธิพล จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 สมการ ในด้านประสิทธิภาพของระบบนั้น พบว่า ก) การสามารถนำไปใช้ทดแทนระบบอื่นได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อประสิทธิผลของระบบ (R2 =0.538) ข) การตอบสนองความต้องการหรือสามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้ มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบมากที่สุด (R2 = 0.415) และ ค) การประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจมากที่สุด (R2 = 0.223) ในด้านประสิทธิผลพบว่า ก) การที่ระบบสามารถปฏิบัติงานทดแทนการทำงานระบบเดิมที่มีมาก่อนหน้านี้ มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบมากที่สุด (R2 = 0.254) ข) การที่ระบบทำให้องค์กรประหยัดทรัพยากรบุคคลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจมากที่สุด (R2 = 0.207) ในด้านการยอมรับระบบ พบว่า ความช่วยเหลือระหว่างผู้ใช้หน้างานและผู้พัฒนาด้านเทคนิคในการบำรุงรักษาระบบมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจต่อระบบมากที่สุด (R2 = 0.291) | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ขยะและการกำจัดขยะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ขยะ -- การจัดการ -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การจัดการสารสนเทศ | en_US |
dc.title | การศึกษาเชิงประจักษ์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การยอมรับและความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | An empirical study of efficiency, effectiveness, acceptance, and satisfaction towards the waste management information system of Bangkok metropolitan | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The objectives of this thesis were 1 ) to study efficiency, effectiveness, acceptance, and satisfaction of Bangkok Metropolitan solid waste management information system, 2 ) to develop relationship models (equations) between efficiency and effectiveness of the system, including the relationship models between efficiency/effectiveness and user satisfaction of the system, and 3 ) to purpose the guidelines to further development and adjustment of the system. This study was quantitative research using the UTAUT2 model as a research design base. The research tools were questionnaires distributed to 261 respondents (solid waste weighing machines controllers, supervisors, center heads, executives, and private contractors). 217 out of 261 respondents completed and returned the questionnaires (8 3 . 1 4 % ) . The statistics used to analyze the data were 1 ) descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation), and 2) an inferential statistic for hypothesis test which was multiple linear regression. The research findings revealed that the respondents had a high overall opinion on efficiency, effectiveness, acceptance, and satisfaction of the solid data management information system (average ranges between 4.12-3.98). The hypothesis test resulted in a total number of 3 0 influence equations. In terms of system efficiency, it found that a) substitution of the system to the other one had the greatest influence on the system effectiveness (R2 = 0 . 5 3 8 ) ; b) response to needs or being able to solve problems for users had the greatest influence on the system acceptance (R2 = 0 . 4 1 5 ) ; and c) the fast, accurate, and complete processing of information had the greatest influence on satisfaction (R2 = 0.223). In terms of effectiveness, it was found that a) the ability of the system to replace the work of the previous system had the greatest influence on system acceptance (R2 = 0.254); b) the system enabling the organization to save human resources and related operating costs gained the most influence on satisfaction (R2 = 0.207). In terms of system acceptance, it was indicated that assistance between on-site users and technical developers in system maintenance influenced the satisfaction of the system the most (R2 = 0.291). | en_US |
dc.description.degree-name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | en_US |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WANLIKA WONGWORRATHEVA.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.