Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2030
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วศิณ ชูประยูร | - |
dc.contributor.author | กัสมา ชาวโพงพาง | - |
dc.date.accessioned | 2023-10-25T06:20:10Z | - |
dc.date.available | 2023-10-25T06:20:10Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2030 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วยของ 2) ทดลองใช้และติดตามผลและประเมินประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าว และ 3) ศึกษาการยอมรับโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย ผ่านมุมมอง แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้ตัวแบบการยอมรับนวัตกรรม UTAUT2 เป็นทฤษฎีหลักในการศึกษาการยอมรับโปรแกรมประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) สถิติพรรณนา (การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และ 2) สถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ) ผลการวิจัยทำให้ได้ โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย ของสำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกำลังพลที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ สำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร และผู้มารับบริการ จำนวน 380 คน เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ในภาพรวม ผู้ทดลองใช้คาดหวังในประสิทธิภาพการทางาน (PE) ความพยายามจะใช้ (EE) ในระดับมาก และเห็นว่าอิทธิพลทางสังคม (SI) และสิ่งอำนวยความสะดวกของระบบ (FC) ทำให้อยากใช้โปรแกรมประยุกต์นี้ อีกทั้งมีความตั้งใจจะใช้งานระบบ (BI) และ ใช้งานระบบ (UB) ในระดับมากเช่นเดียวกัน ผลการทดสอบสมมุติฐานชี้ว่า (1) ความคาดหวังในประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมประยุกต์มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานในเชิงพฤติกรรม (BI) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .553 (2) ความคาดหวังด้านความพยายามของผู้ใช้ (EE) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .511 (3) อิทธิพลทางสังคม (SI) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ในเชิงพฤติกรรม (BI) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .723 (4) สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ (FC) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง (UB1, UB2) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .400, และ .124 ตามลำดับ และ (5) ความตั้งใจใช้งานโปรแกรมประยุกต์ในเชิงพฤติกรรม (BI) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง (UB1, UB2, UB3) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .606, .030 และ .023 ตามลำดับ ผู้วิจัยคาดหวังว่า โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย ของสำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จะเป็นโปรแกรมที่สามารถแก้ไขปัญหาการรอรับบริการที่ยาวนาน เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ผู้ป่วยพบแพทย์ ของ สำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยได้ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | กองบัญชาการกองทัพไทย. กรมยุทธบริการทหาร สำนักงานแพทย์ทหาร -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | en_US |
dc.subject | ตารางนัดหมาย -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การจัดการ | en_US |
dc.title | การยอมรับและใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วยของสำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย | en_US |
dc.title.alternative | An acceptance of using the application for managing patient appointments of the medical office, Support Service Department, Royal Thai Armed Forces Headquarters | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The objectives of this study are to (a) analyze, design, and develop applications for patient appointment management, (b) trial, follow up, and evaluate the effectiveness of applications, and (c) study the perspectives and acceptance of doctors, nurses, and patients towards application for patient appointment management. This study is quantitative and qualitative research using the innovative acceptance model UTAUT2 as the leading theory in the study of application acceptance. The statistics used to analyze the data include 1) descriptive statistics (frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation) and 2) reference statistics (factor analysis and multiple linear regression analysis). The study yielded the application for managing patient appointments of the Medical Office, Support Service Department of the Royal Thai Armed Forces Headquarters. From the implementation of the developed application with a sample group which is staff who performed medical work at the Medical Office, Support Service Department and 380 patients for two months, it found that the patients had Performance Expectancy (PE) and Effort Expectancy (EE) at a high level and also thought that Social Influence (SI) and Facilitating Condition (FC) made them want to use this application. On a large scale, there was also Behavioral Intention (BI) and Behavioral (UB). The hypothesis test results indicated that (a) Performance Expectancy had an influence on Behavioral Intention (BI) size R2 = .553, (b) Effort Expectancy (EE) had an influence on Behavioral Intention (BI) size R2 =.511, (c) Social Influence (SI) had an influence in Behavioral Intention (BI) size R2 =.723, (d) Facilitating Condition (FC) had an influence in Use Behavioral (UB1, UB2) size R2 =.400 and .124 respectively, and (e) Behavioral Intention (BI) had an influence in Use Behavioral (UB1, UB2, UB3) size R2 =.606, .030 and .023 respectively. The study anticipated that the application would be a software that can solve the problem of patients’ long waiting time when compared with the time patients meet the doctors at the Medical Office, Support Service Department of the Royal Thai Armed Forces Headquarters | en_US |
dc.description.degree-name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | en_US |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SERGEANT KASSAMA CHAWPONGPANG.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.