Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชา มหาคุณ-
dc.contributor.authorรวมพล ต้นสุนันท์กุล-
dc.date.accessioned2023-10-26T06:20:13Z-
dc.date.available2023-10-26T06:20:13Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2050-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาของกลไกการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติต่างๆ ตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เพื่อนามาสรุปหามาตรการทางกฎหมายในการพัฒนากลไกการกำกับดูแลให้มีขอบเขตที่ชัดเจนและบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเอกสารในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นบทสรุปตอนท้ายและข้อเสนอแนะต่อไป ผลของการวิจัยพบว่า ประการแรก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนภูมิภาคไว้ให้ชัดเจนแต่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องว่าราชการส่วนภูมิภาคไม่มีความจำเป็นต้องดำรงอยู่ต่อไป ควรเปลี่ยนแปลงโดยการยกเลิกหรือโอนอำนาจการกำกับดูแลไปยังราชการส่วนกลาง และผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งทำหน้าที่กากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด ควรมีที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งถูกมองว่าไม่มีอิสระและไม่สามารถบริหารงานให้สอดคล้องกับท้องถิ่นได้ ประการที่สอง วิธีการกำกับดูแลที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ มีอำนาจออกคาสั่งทางปกครองเพื่อยุบสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงให้เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งและหยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นวิธีการกากับดูแลที่ให้อานาจแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนเกินขอบเขต ประการที่สาม การยุบสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยเหตุเพียงไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาหรือมีการประชุมแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ การที่กฎหมายกาหนดให้ยุบสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยเหตุดังกล่าวย่อมเป็นเหตุผลที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยขอเสนอว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมาย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จะต้องบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ให้ชัดเจน และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 รวมถึงพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของการกากับดูแล โดยการกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับดูแลร่วมกับศาลปกครอง และกำหนดข้อยกเว้นการใช้อำนาจกากับดูแลขึ้นให้มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การบริหารen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- การบริหาร -- ไทยen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทยen_US
dc.titleราชการส่วนภูมิภาคและการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปen_US
dc.title.alternativeRegional administration and tutelle local government organization normal formen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objective of this research is to study the problems of the tutelle mechanism of local government organizations in various dimensions according to the principles of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, which is the origin of the Government Administration Act, B.E. 2534, the Provincial Administrative Organization Act, B.E. 2540, the Municipal Act, B.E. 2496 and the Tambon Council and Tambon Administrative Authority Act, B.E. 2537, to summarize the legal measures for the development of tutelle mechanisms to have clear and enforceable scope. This is a qualitative research using documentation research methodology in the collection of data to be analyzed as a summary and suggestions. The results of the research showed that firstly, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, does not specify clearly about the regional administration, but specifies a lot of details about local administration, resulting in an opinion that the regional administration does not need to exist. It should be changed by canceling or moving the regulatory authority to the central administration and the provincial governor who tutelle the local government organizations within the province show come from the election or not as the provincial governor from nomination is consider not having freedom to make decision and unable to manage the work to be in accordance with the local. Secondly, the tutelle method that enable the minister of interior, the provincial governor, and the chief district officer to have the power to issue administrative orders to dissolve the local government organization council including ordering local government officials to vacate their positions and cease their duties is a method of tutelle that gives authority to intervene in local government organizations beyond the scope. Thirdly, the dissolution of the local government organization council by reason of not being able to arrange the first meeting according to the schedule or meeting, but may not select the chairman of the local government organization is not consistent with the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. In order to solve the problem, the researcher proposed that the law should be revised, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, which must be clearly defined about the regional administration, and the Provincial Administrative Organization Act, B.E. 2540, the Municipal Act, B.E. 2496 including the Tambon Council and Tambon Administrative Authority Act, B.E. 2537 by adding the content in the tutelle section to require the provincial governor to tutelle together with the Administrative Court and prescribing exceptions for the use of powers to be in accordance with the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560.en_US
dc.description.degree-nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิติศาสตร์en_US
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RUAMPOL TONSUNANKUL.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.