Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2059
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธานี วรภัทร์-
dc.contributor.authorปาทิตรา บางสมบุญ-
dc.date.accessioned2023-10-29T07:53:13Z-
dc.date.available2023-10-29T07:53:13Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2059-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค พร้อมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เนื่องจากสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในประเทศไทยมีสถานะเป็นเพียงทรัพย์สินโดยกฎหมายไม่ได้มองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งมีชีวิตและมีความรู้สึก จึงทำให้เกิดปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ในกรณีที่เกิดการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยงตาย หากศาลพิจารณาว่าสัตว์เลี้ยงเป็นเพียงทรัพย์สินจึงไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนทางด้านจิตใจให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ในกรณีที่มีการหย่าร้างซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัตว์เลี้ยง หากสถานะของสัตว์เลี้ยงเป็นเพียงทรัพย์สินศาลจะไม่ได้พิจารณาที่สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก เมื่อเปรียบเทียบสถานะของสัตว์เลี้ยงของประเทศไทยกับกฎหมายในต่างประเทศ พบว่าต่างประเทศให้ความสำคัญกับสถานะและการคุ้มครองสิทธิของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสมาพันธรัฐสวิส ราชอาณาจักรสเปน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐออสเตรีย สาธารณรัฐโปรตุเกส รัฐควิเบกแคนาดา โดยเฉพาะในสมาพันธรัฐสวิสได้มีการบัญญัติสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายในบรรพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายละเมิด กฎหมายมรดก กฎหมายครอบครัว เป็นต้น จากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อจำกัด และกฎหมายของต่างประเทศแล้วนั้น พบว่าปัญหาของประเทศไทยเกิดจากการที่สถานะของสัตว์เลี้ยงยังเป็นเพียงทรัพย์สินไม่ใช่เป็นสิ่งมีชีวิตและมีความรู้สึก จึงมีข้อเสนอแนะจำเป็นจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของคำนิยามของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectสัตว์เลี้ยง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectมาตรการทางกฎหมายen_US
dc.subjectประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์en_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการยกระดับสถานะของสัตว์เลี้ยงภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์en_US
dc.title.alternativeLegal measures to upgrade the status of pets under the Thai civil and commercial codeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis study aimed to investigate problems, limitations, obstacles, and solutions related to the status of pets under the Civil and Commercial Code of Thailand. Due to the status of pets in Thailand as legal properties that are treated as if they were non-living things and had no feelings, the protection of the rights of pets has become problematic. For instance, if a pet’s death is caused by human action, the court may consider its death as emotional distress damage and cannot determine compensation for the pet’s owner. In addition, in the case of divorce where a property is a pet, the court considers it as a property; that is, the pet’s status and welfare may not be a focus in the judgment. Comparing the status of pets in Thailand and in foreign countries, the research found that the status of pets in foreign countries, e.g. Switzerland, Spain, Germany, Austria, Portugal, and Quebec (Canada), is legally protected. Especially in Switzerland, their status and welfare is highly protected as clearly specified in the Civil and Commercial Code resulting in legal change in books in the code including Tort Law, Succession Law, Family Law, etc. The research also found that, according to the Thai Civil and Commercial Code, pets were considered as properties. The research then recommended that the status of pets, especially the definition of pets, as specified by the Thai Civil and Commercial Code be amended to effectively protect the rights and welfare of petsen_US
dc.description.degree-nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิติศาสตร์en_US
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PATITRA BANGSOMBOON.pdf911.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.