Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรวรัญช์ องคสิงห-
dc.contributor.authorพรพะเยาว์ ก๋งเม่ง-
dc.date.accessioned2023-11-18T04:41:37Z-
dc.date.available2023-11-18T04:41:37Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2099-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวจริตของนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนทวิภาษา และเพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมภายใต้การประกอบสร้างของโรงเรียนทวิภาษา โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจาก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ผู้สอนหรือผู้ช่วยสอน นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มีระบบการเรียนการสอนในรูปแบบหลักสูตรทวิภาษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า แนวจริตของนักเรียนโรงเรียนทวิภาษาพื้นฐานอันดับแรกเกิดจากครอบครัว ได้แก่การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ต่อมาแนวจริตสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อเข้าสู่สถาบันการศึกษา โดยกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อมาคือ กลุ่มเพื่อน และอาจารย์ผู้สอน จะเป็นผู้โน้มน้าวแนวจริตให้โน้มเอียงไปตามหลักปฏิบัติของนโยบายทางสถาบันโรงเรียนที่ทางผู้บริหารโรงเรียนได้กาหนดขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป ก่อให้เกิดชนชั้นและความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้นจากการศึกษาในโรงเรียนทวิภาษา มีผลในการเลื่อนชั้นทางสังคมด้วยการศึกษา เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมจากการประกอบสร้างโรงเรียนทวิภาษาสู่การผลิตซ้ำทางสังคมและวัฒนธรรมต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการศึกษาแบบทวิภาษาen_US
dc.subjectโรงเรียนสองภาษา -- ไทยen_US
dc.subjectนักเรียน -- กิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectทุนทางวัฒนธรรมen_US
dc.titleแนวจริตของนักเรียนโรงเรียนทวิภาษาen_US
dc.title.alternativeHabitus of students in bilingual schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research aimed to investigate the habitus of primary level students in bilingual schools and the cultural capital of bilingual schools based on Pierre Bourdieu’s theory of habitus and capital. The research employed qualitative methodology. The instrument was an in-depth interview with key informants who were school administrators, teachers or assistant teachers, students and their parents, emphasizing public and private bilingual schools in Thailand. The results revealed that students’ habitus was formed through how they were raised and the environment in which they grew up. Their habitus could change during their school years. Their school friends and teachers were found to play a significant role in stimulating change in their habitus according to the policies and practices determined by school administrators. Their habitus was developed into personal skills or cultural capital which could then be exchangeable to economic, social, and symbolic capitals, resulting in social classification. Social class inequality was caused by the existence of social promotion through being educated in bilingual schools, leading to cultural capital and social and cultural reproduction.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PORNPHAYAO KONGMENG.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.