Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2139
Title: การนำนโยบายสาธารณะการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติกรณีศึกษา : เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นชมพู่เพชร
Other Titles: Geographical indications registration public policy implementation: a case study of Phet Rose Apples
Authors: กุลสกาวว์ เลาหสถิตย์
metadata.dc.contributor.advisor: ปธาน สุวรรณมงคล
Keywords: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา;สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ;ชมพู่ -- พันธุ์เพชร;อัตลักษณ์ชื่อตราผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการการนำนโยบายสาธารณะการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติ 2) ปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายสาธารณะการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการนำนโยบายสาธารณะ การขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นชมพู่เพชร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชน และกลุ่มภาคประชาชน เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการนำนโยบายสาธารณะการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ เริ่มจากรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 จากนั้นจึงเร่งส่งเสริมให้สินค้า OTOP ที่มีอยู่ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI เพื่อยกระดับสินค้าและกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งมีการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ 4 ระดับคือ การบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้รับผลประโยชน์จากนโยบาย 2) การประสานงานระหว่างหน่วยงานปฏิบัติ ซึ่งมีการประสานงาน 4 ระดับ คือ การบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การประสานงานระหว่างหน่วยงานปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติ การประสานงานภายในหน่วยงานปฏิบัติและผู้รับผลประโยชน์จากนโยบาย และการประสานงานภายในหน่วยงานปฏิบัติด้วยกัน และ 3) การนิเทศและการติดตามผล แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับกระทรวงและระดับกรม และระดับจังหวัด ด้านปัญหาอุปสรรคสำคัญของการนำนโยบายสาธารณะการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปปฏิบัติ พบว่า มีปัญหาด้านกฎหมาย/ระเบียบ ด้านสมรรถนะของหน่วยงาน ด้านการสนับสนุน ด้านการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และด้านความเชื่อ ค่านิยม พฤติกรรมและวัฒนธรรมทางสังคม ส่วนแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า 1) ภาคประชาชนต้องร่วมมือกันผลักดันให้ภาครัฐ ดำเนินการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับและนำมาปฏิบัติได้ ภาคประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกระบวนการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของชมพู่เพชรให้ครบทุกขั้นตอน ต้องร่วมขจัดปัญหาอุปสรรคและร่วมผลักดันให้การดำเนินการขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ชมพู่เพชรประสบผล 2) ภาครัฐต้องมีการรณรงค์เพื่อสื่อสารให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงประโยชน์จากการใช้ตราสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed 1) to study the process of “Geographical Indications registration” public policy implementation, a case study of Phet rose apples, 2) to study problems and obstacles in “Geographical Indications registration” public policy implementation, a case study of Phet rose apples, and 3) to present guidelines of public participation in “Geographical Indications registration” public policy implementation, a case study of Phet rose apples. This qualitative research was conducted by document studying and analysis, In-depth Interview, and focus group. The main informants were (1) government sector: Department of Intellectual Property officers, Provincial Commercial officers, Governor and Deputy Governor, (2) private sector: “Phet rose apple” community enterprise, and (3) public sector: “Phet Sai Rung rose apple” farmers in Muang District, Ban Lat District, Tha Yang District, Ban Laem District. Collected data were analyzed by an analytical descriptive. The findings revealed that process of “Geographical Indications registration” public policy implementation, a case study of Phet rose apples consisted of the followings: 1) Transmitting policy into practice that started in Taksin Shinnawat government which enacted Geographical Indications (GI) act in 2003, then promoted OTOP products to be GI product to enhance products and community incomes. There were 4 levels of transmitting policy into practice: central government administration, regional government administration, local government administration, and the policy beneficiaries. 2) 4 levels of coordination among sectors including central and regional government administration, sectors and implementors, sectors and policy beneficiaries, and different sectors. 3) Supervision and follow-up that could be divided into 2 levels comprising ministry and department, and province. There were problems and obstacles in geographical indications public policy implementation, a case study of Phet rose apples, in laws and regulations, sector competencies, policy supporting, public participation, and belief, values behavior, social culture. The guidelines of public participation in geographical indications public policy implementation, a case study of Phet rose apples were 1) public sector cooperation in pushing government sector, a governor, to set a meeting of the recent GI committees or accredit a new one in order to adjust the process of requesting for registration of GI sticker of Phet rose apples, and to dispel problems and obstacles in “Geographical Indications registration” public policy implementation, a case study of Phet rose apples; and 2) government sector promotion of farmers’ awareness in uses of GI sticker.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2139
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KULSAKWAO LAOHASTHIT.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.