Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2203
Title: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในจังหวัดระยอง
Other Titles: Executives’ transformational leadership affecting operations according to the standard of the national early childhood development center in Rayong Province
Authors: บุญญาพร บุราคร
metadata.dc.contributor.advisor: ชัชชญา พีระธรณิศร์
Keywords: ภาวะผู้นำ;การศึกษาปฐมวัย -- มาตรฐาน -- ระยอง;เด็ก -- การเลี้ยงดู
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในจังหวัดระยอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและผู้ดูแลเด็ก จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งส่งผลในทางบวกคิดเป็นร้อยละ 89.40 โดยสามารถเขียนสมการถดถอยได้ดังนี้ Y = 0.667 + 0.373 (X1) + 0.322 (X2) + 0.134 (X3)
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to 1) investigate the level of the transformational leadership of the executives of the National Early Childhood Development Center in Rayong Province, 2) examine the operations according to the standard of the National Early Childhood Development Center, and 3) study the effects of the transformational leadership on the National Early Childhood Development Center in Rayong Province. This research employed the quantitative research approach. The samples included 337 teachers and caregivers. The instrument used to collect data was a 5-point scale questionnaire. The statistics used in the data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, Person Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results showed that 1) the level of the transformational leadership of the executives was at a high level; 2) The operations according to the standard of the National Early Childhood Development Center was at a high level, and 3) the transformational leadership had significantly influenced the operations of the National Early Childhood Development Center with a statistical significance level at 0.05, which yield a positive effect at 89.40% and could be converted to the regression equation as demonstrated below:
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การบริหารการศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2203
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-EA-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BUNYAPORN BURAKORN.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.