Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2206
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุลดิศ คัญทัพ | - |
dc.contributor.author | นันทนา หนูนุรัตน์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-21T07:38:59Z | - |
dc.date.available | 2024-02-21T07:38:59Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2206 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้า จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเครื่องมือที่ใช้สัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 5 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการหาดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากและค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modified) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การมีส่วนร่วมด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวัด ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษาและด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยรวมทั้ง 5 ด้าน โดยมีประเด็นในการพัฒนาที่ได้จากการจัดลำดับความต้องการจำเป็นที่มีค่าดัชนีสูงสุด 3 ลำดับของแต่ละด้านมาเป็นประเด็นในการพัฒนา รวมประเด็นในการพัฒนาทั้งหมด 15 ประเด็น | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การบริหารงานวิชาการ | en_US |
dc.subject | ผู้บริหารสถานศึกษา -- สุพรรณบุรี | en_US |
dc.subject | การศึกษา -- การบริหาร -- สุพรรณบุรี | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน กลุ่มอำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for the development of participation in academic administration of teachers in Bangplama district group under the office of Suphan Buri primary education service area 1 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The objectives of this research were 1) to study the current condition, desirable condition and needs for the participatory development of the teachers in academic administration of Bangplama district group under the Office of Suphan Buri Primary Education Service Area 1, and 2) to propose the guidelines for the participatory development of academic administration of the teachers in Bangplama district group under the Office of Suphan Buri Primary Education Service Area 1. This research employed a mixed methods research design with the sample of 185 teachers of Bangplama district group. The research instrument used for the data collection was a questionnaire with 5-point rating scale. The statistics used for the data analysis were frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. A semi-structured interview was used to collect the data from five informants including school administrators and teachers through the content analysis and Modified Priority Need Index (PNI modified). The results revealed 1) the overall current condition of participation in academic administration of the teachers in Bangplama district group was at a moderate level, whereas the overall desirable condition was at a high level. As to Modified Priority Need Index (PNI modified), the results shown in descending order were the participation in learning process development, the participation in development and use of technological media for education, the participation in measurement, evaluation and transfer of study results, the educational supervision participation, and the participation in curriculum development of institutions respectively. 2) Based on the five aspects of the guidelines for the participatory development of academic administration of the teachers in Bangplama district group, the aspects derived from the priority needs with the three highest indexes of each aspect were used as development issues, totaling 15 development issues. | en_US |
dc.description.degree-name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การบริหารการศึกษา | en_US |
Appears in Collections: | EDU-EA-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NANTANA NUNURAT.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.