Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฏฐยศ สุริยเสนีย์-
dc.date.accessioned2024-03-20T08:28:37Z-
dc.date.available2024-03-20T08:28:37Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2262-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรู้กลุ่มวิชา ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยพิจารณาจากปัจจัยการจัดการเรียนการสอน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านเนื้อหาวิชา ด้านอุปกรณ์การเรียน ด้านพฤติกรรมการเรียน และด้านสภาพแวดล้อมในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีเนื้อหา 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน และแบบสอบถาม เกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่รหัส นักศึกษา 2549 ถึงรหัสนักศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 191 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรง ค่าความ เชื่อมั่น พร้อมทั้งวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test, F-test และค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ เพศหญิง ส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 22-23 ปี นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าเรียนปี การศึกษา 2554 และได้เกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ ระหว่าง 2.01 – 2.50 มากที่สุด สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชา ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิตโดยภาพรวมนักศึกษาให้ ความสำคัญกับปัจจัยทั้ง 5 ด้าน ในระดับ “มากที่สุด” โดยปัจจัยด้านที่นักศึกษาให้ความสำคัญมาก ที่สุด คือ ด้านผู้สอน และด้านเนื้อหาวิชา รองลงมาได้แก่ ด้านอุปกรณ์การเรียน ด้านพฤติกรรมการ เรียน และด้านสภาพแวดล้อมในการศึกษา โดยจำแนกรายด้านย่อย 2 อันดับแรก คือ ผู้สอนมี ความรู้ทันสมัย เนื้อหาวิชาที่เรียนมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ สำหรับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่นักศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดคือ มีจำนวนครั้งในการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอครบทุกคาบเรียน รองลงมาคือ มีระยะเวลาในการสนใจเนื้อหาอยู่ตลอดเวลาในระหว่างที่เรียนทั้งคาบเรียน ส่วนข้อที่ นักศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดน้อยที่สุดคือ นักศึกษามีการเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับความรู้มี การใฝ่รู้ใฝ่เรียน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้านที่แตกต่างกัน มี ความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุ่มวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์ กับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุ่มวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ในภาพรวม ในระดับค่อนข้างต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01en_US
dc.description.sponsorshipศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยรังสิต -- คณะบริหารธุรกิจ --วิจัยen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- วิจัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ -- กิจกรรมการเรียนการสอน -- วิจัยen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.title.alternativeFactors affecting the learning achievement of students in Computer Information Systems Department, Faculty of Business Administration, Rangsit Universityen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this study were to investigate the factors affecting the learning achievement of students in Computer Information System (CIS) Department, Faculty of Business Administration, Rangsit University in 5 dimensions: instructors, learning management, teaching aid, learning behaviors and learning environment. The survey relation questionnaires as a research instrument to collect data from 191 samples from Computer Information Systems Department, the Faculty of Business Administration, at Rangsit University. The students with I.D. codes between 49(2006) to 54(2011), were chosen. The descriptive statistics were frequency, percentage, mean, and standard deviation, and the inferential statistics included T-test, F-test and the Pearson Product Moment Correlation Coefficient were applied to analyze the data. The results of the study revealed that most subjects were female students, who were 22- 23 years old and attended class in 2011. They had an average accumulative grade between 2.01- 2.50. From the study, the learning management of Computer Information Systems Department, Faculty of Business Administration, Rangsit University, showed that the simples perceived 5 dimensions in “highest level”. The subject rated lecturers and subject matters; as the highest and second to highest these were followed by teaching aid, learning behavior and learning environment as the third, the forth, and the fifth respectively. Most subjects viewed that the lecturers had updated knowledge and knowledge was useful to future careers. In terms of importance of CIS learning achievement, the subjects agreed with the fact that regular class attendance and motivation to in-class learning were the most and second to most important, while the readiness of learning was rated as the lowest. The inferential statistics showed that the difference in demographic factors has no significance to the CIS learning achievement at the level of 0.05. Also , the result of learning management suggests a correlation to the CIS learning achievement with a “low level” at the statistics significant level of 0.01en_US
Appears in Collections:BA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NUTTAYOS SURIYASANEE.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.