Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2277
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การเตรียมซิลิกาเจลและสารดูดซับจากเถ้าแกลบดำ
Other Titles: Silica gel and adsorbent preparation from Rice Husk Ash
Authors: กนกพร อนันต์ชื่นสุข
Keywords: เถ้าแกลบดำ -- วิจัย;ซิลิกาเจล -- วิจัย;สารคูดซับ
Issue Date: 2547
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมสามารถผลิตข้าวได้จำนวนมาก ทำให้มีแกลบที่เกิดขึ้นจากการสีข้าวในปีหนึ่ง ๆ มากกว่า 5-6 ล้านตัน การนำแกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงสีข้าวทำให้เกิดเถ้าแกลบจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดปัญหา การศึกษาการนำเถ้าแกลบซึ่งมีซิลิกาอยู่เป็นจำนวนมากมาเตรียมซิลิกาเจลเพื่อเป็นสารดูดความชื้น จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเถ้าแกลบได้ทางหนึ่งในการทดลองจะนำเถ้าแกลบมาทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้สารละลายโซเดียมซิลิเกต นำสารละลายโซเดียมซิลิเกตที่ได้มาทำปฏิกิริยากับกรดโดยใช้กรด 3 ชนิด คือกรดซัลฟิวริก กรดไนตริก และไฮโดรคลอริก ตามลำดับ ได้ซิลิกาเจลออกมาในรูปของแข็งลักษณะคล้ายวุ้น เมื่อนำไปอบแห้ง จะได้ซิลิกาเจลในรูปของแข็ง จากการทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตซิลิกาเจล คือ ที่อัตราส่วนเถ้าแกลบต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1:4 ใช้กรดซัลฟิวริกในการปรับค่า pH เท่ากับ 7 เวลา 5 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 30C เมื่อนำซิลิกาเจลที่ได้ไปตรวจสอบสมบัติทางกายภาพ ได้ค่าต่างๆ ดังนี้ เปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำ 30.45% ความหนาแน่นเชิงปริมาตร 0.45-0.83 g/ml เปอร์เซ็นต์ความชื้น 2.35-8.70% เปอร์เซ็นต์ซิลิกาในเนื้อเจล 35.28% และพื้นที่ผิว 18.99 ± 0.13 m2/g
metadata.dc.description.other-abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมสามารถผลิตข้าวได้จำนวนมาก ทำให้มีแกลบที่เกิดขึ้นจากการสีข้าวในปีหนึ่ง ๆ มากกว่า 5-6 ล้านตัน การนำแกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงสีข้าวทำให้เกิดเถ้าแกลบจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดปัญหา การศึกษาการนำเถ้าแกลบซึ่งมีซิลิกาอยู่เป็นจำนวนมากมาเตรียมซิลิกาเจล เพื่อเป็นสารดูดความชื้นและเถ้าแกลบดำส่วนที่แยกซิลิกาออกแล้วยังสามารถนำมาเตรียมสารดูดซับ เพื่อใช้ดูดซับโลหะหนักหรือสีย้อมหรือสาร พิษอื่นๆ จึงเป็นการใช้ประโยชน์ของเหลือทิ้งได้อย่างคุ้มค่าและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเถ้าแกลบได้อีกทางหนึ่งด้วย ในการทดลองจะนำเถ้าแกลบดำมามาคัดขนาดแล้วทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์เพื่อแยกซิลิกาออกจะได้องค์ประกอบส่วนที่เหลือเป็นคาร์บอนซึ่งใช้เตรียมสารดูดซับได้ การทดลองได้ทำการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 จะนำเถ้าแกลบดำที่ได้ขนาด 0.3-0.6 มิลลิเมตร เผากระตุ้นแบบอับอากาศที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส กับ ZnCl2 ในอัตราส่วน 1: 1 โดยน้ำหนัก ได้สารดูดซับที่มีพื้นที่ผิวสูงสุดเท่ากับ 210 ตร.ม./กรัม มีขนาดรูพรุนส่วนใหญ่เท่ากับ 29.5 อังสตรอม ซึ่งเป็นรูพรุนขนาดกลาง ประสิทธิภาพการกำจัดสีของสารดูดซับที่เตรียมได้เพื่อใช้ดูดซับสีย้อมรีแอกทีฟ บลู 235 หรือ สีย้อมรีแอกทีฟโนวาคอน บลู ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 150 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่าสูงสุดเท่ากับ 98 % โดยระบบเข้าสู่จุดสมดุลที่เวลา 360 นาที หรือ 6 ชั่วโมง ค่าความสามารถการดูดซับสูงสุดตามสมการแลงเมียร์และฟรุนดิชเท่ากับ 29.33 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 4.91 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ สำหรับตอนที่ 2 จะทำการเตรียมสารดูดซับโดยนำเถ้าแกลบดำที่ได้ขนาด 0.15-0.3 มิลลิเมตร มาใช้เป็นสารดูดซับได้สารดูดซับที่มีพื้นที่ผิวสูงสุดเท่ากับ 35.2 ตร.ม./กรัม มีขนาดรูพรุนส่วนใหญ่เท่ากับ 25.7 อังสตรอม ทำทำการดูดซับไอออนนิกเกิลที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 10 มิลลิกรัม/ลิตร อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ปริมาณสารดูดซับ 1.0 กรัม พีเอชที่เหมาะสมเท่ากับ 6 การดูดซับเข้าสู่สมดุลที่เวลา 270 นาที ดูดซับไอออนนิกเกิลได้สูงสุด 63.2% การดูดซับเป็นไปตามไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ มีค่าการดูดซับสูงสุด(b) เท่ากับ 0.4257 มิลลิกรัมต่อกรัม การดูดซับเกิดดีขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากค่า คงที่สมดุลการดูดซับ(Kc)มีค่ามากขึ้น การดูดซับสามารถเกิดได้เองและเป็นกลไกแบบดูดความร้อน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2277
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Eng-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KANOKPORN ANANCHUENSUK.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.