Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2301
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | จอมเดช ตรีเมฆ | - |
dc.contributor.author | กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-02T05:52:10Z | - |
dc.date.available | 2024-04-02T05:52:10Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2301 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมในชุมชนเมืองเอก เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสมงานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยสอบถามสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) สอบถามความคิดเห็นในด้านการรับรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและความกลัวต่ออาชญากรรม (Fear of Crime) ของผู้พักอาศัยในชุมชนเมืองเอกโดยใช้แบบสอบถามจากการสนทนากลุ่มพบว่าปัญหาในชุมชนเมืองเอก ได้แก่ ปัญหาการลักลอบขายของบนทางเท้า ปัญหาประชากรแฝง ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อมน้ำเน่าเสีย ปัญหาความไร้ระเบียบในการติดป้ายประชาสัมพันธ์ ส่วนปัญหาที่นำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ได้แก่ ปัญหาพื้นที่รกร้าง ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างไม่เพียงพอ ปัญหาการขาดการควบคุมทางเข้าออก ปัญหาข้อจำกัดในการติดต่อและความถี่ในการออกตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปัญหาสถานบันเทิงโดยรอบมหาวิทยาลัย ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ร้อยละ 76.70 ของผู้ตอบแบบสอบถามรับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยอาชญากรรมที่ผู้ตอบแบบสอบถามรับทราบมากที่สุดคืออาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งมากถึงร้อยละ 68.10 ในด้านการเปรียบเทียบระดับความกลัวอาชญากรรมจำแนกตามโครงการที่พักอาศัยพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่การรับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมในเมืองเอกที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับความกลัวอาชญากรรมในเมืองเอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สุดท้ายบุคคลที่พักอาศัยภายในพื้นที่มีความกลัวอาชญากรรมอยู่ในระดับ “มาก” และ “รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในการพักอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้” ข้อเสนอแนะผู้วิจัยเห็นควรให้จัดให้มีการจัดระเบียบชุมชนเมืองเอก โดยมีมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นศูนย์กลาง ควรมีการประชาสัมพันธ์การป้องกันภัยอาชญากรรม ควรจัดให้มี “อาสาสมัครป้องกันภัย มหาวิทยาลัยรังสิต” ออกตรวจ และแจ้งข่าวอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สุดท้ายเทศบาลตำบลหลักหกควรติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมทางเข้าออกของชุมชน | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ชุมชนเมืองเอก -- ปัญหาอาชญากรรม | en_US |
dc.subject | อาชญากรรม -- ไทย -- ปทุมธานี | en_US |
dc.title | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยปัญหาอาชญากรรมในชุมชนเมืองเอก | en_US |
dc.title.alternative | The Problems of crime Muang AKe Communities | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The purpose of this research was to study the problems of crime in Muang Ake communities in order to contribute to solutions that are right and proper. This research used the methodology called Mixed Research. Focus Group method was used to find problems and solutions, with questionnaire being distributed to residents in Muang Ake Communities to study their perception of crime awareness and fear of crime. The researcher found that problems in the community include illegal street vendors, unregistered population, traffic congestion, environmental issues, water pollution, and illegal posting of placards. The problems that lead to crime include wilderness areas, insufficient lighting, lack of entrance control, lack of police patrolling, difficulty in contacting the police, and existence of pubs and bars in the vicinity of Rangsit University. The results of the questionnaire were that 76.70 percent of the respondents were aware of the crime that occurred in the area up to one year ago, with crime against property being the most common with 68.10 percent of respondents acknowledging it. In addition, there are no significant differences in the level of fear of crime in each residential project. However, there are differences in terms of crime awareness of residents in the community which is statistically significant at the .01 level, and individuals living in the area are “very fearful” of crime and “do not feel safe to live in the community." Researcher suggested that Rangsit University should be the centre to provide community organization. In crime prevention, Police should inform the residents on how to prevent crime by using placards. Rangsit University should inaugurate "defense volunteers.” Finally, the six district councils should install CCTV cameras to control the entrance to the community | en_US |
Appears in Collections: | Political- Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ARANEE VIVATTANAPORN.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.