Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2313
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กฤษณา ไกรสินธุ์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-18T03:21:33Z | - |
dc.date.available | 2024-04-18T03:21:33Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2313 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสูตรตำรับน้ำมันรำข้าว เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โครงการนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเตรียมน้ำมันรำข้าวที่ผลิตจากรำข้าวหอมปทุม และรำข้าวหอมมะลิ โดยวิธีสกัดแบบ บีบเย็น ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำมันรำข้าวทั้งสองชนิด วิเคราะห์แกมมาโอไรซา นอล โทโคฟีรอลและโทโคไตรอีนอล รวมถึงทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำมันรำข้าว น้ำมันรำข้าวชนิดบีบเย็นถูกเตรียมขึ้นสองตำรับ ประเมินคุณสมบัติของตำรับ และศึกษาความคงตัว ของตำรับที่สภาวะเร่งโดยเก็บที่อุณหภูมิร้อนสลับเย็น และที่สภาวะปกติเป็นเวลา 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ในจำนวนน้ำมันรำข้าวหอมปทุม จำนวน 9 ตัวอย่าง และน้ำมันรำข้าวหอม มะลิจำนวน 4 ตัวอย่าง มีจำนวน 7 ตัวอย่างที่บีบโดยเครื่องจักรในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้น้ำมันในช่วง ร้อยละ 3.00-15.74 โดยน้ำหนัก น้ำมันรำข้าวหอมปทุมมีสีน้ำตาลอมเขียว ใส และมีกลิ่นเฉพาะตัว ค่า ของสี (Lovibond) อยู่ในช่วง 86-105 ส่วนน้ำมันรำข้าวหอมมะลิมีสีน้ำตาลอมเหลือง ใสและมีกลิ่น เฉพาะตัว ค่าของสี (Lovibond) อยู่ในช่วง 63-100.5 น้ำมันรำข้าวทั้งสองชนิดจะมีสีค่อนข้างเข้มกว่า น้ำมันรำข้าวที่เตรียมโดยวิธีอื่นและที่จำหน่ายเป็นน้ำมันรำสำหรับบริโภค น้ำมันรำข้าวทั้งสองชนิดมีค่า ดัชนีหักเห และค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน Codex ค่าร้อยละของความชื้นและสาร ระเหยของน้ำมันรำข้าวส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ น้ำมันรำข้าวหอมปทุมมีค่าของกรดอยู่ในช่วง 7.33-19.19 มิลลิกรัมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อ หนึ่งกรัมน้ำมัน ยกเว้นสองตัวอย่างที่มีค่าของกรดค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นตัวอย่างน้ำมันเก่าที่บีบมา นานแล้ว ค่าเปอร์ออกไซด์อยู่ในช่วง 1.14-9.07 มิลลิกรัมสมมูลต่อหนึ่งกิโลกรัมน้ำมัน ค่าไอโอดีนอยู่ ในช่วง 43.15-90.64 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำมัน ค่าสปอนนิฟิเคชั่นอยู่ในช่วง 172.69-200.52 มิลลิกรัม โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อหนึ่งกรัมน้ำมัน ค่าสารที่สปอนนิฟายไม่ได้อยู่ในช่วงร้อยละ 3.18-8.02 โดย น้ำหนัก และค่าปริมาณสบู่อยู่ในช่วงร้อยละ 0.022-0.282 โดยน้ำหนัก ส่วนน้ำมันรำข้าวหอมมะลิมีค่า ของกรดอยู่ในช่วง 18.78-27.89 มิลลิกรัมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อหนึ่งกรัมน้ำมัน ยกเว้นหนึ่ง ตัวอย่างที่มีค่าของกรดค่อนข้างสูง ค่าเปอร์ออกไซด์อยู่ในช่วง 0.91-3.03 มิลลิกรัมสมมูลต่อหนึ่ง กิโลกรัมน้ำมัน ค่าไอโอดีนอยู่ในช่วง 60.76-69.32 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำมัน ค่าสปอนนิฟิเคชั่นอยู่ ในช่วง 187.39-200.79 มิลลิกรัมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อหนึ่งกรัมน้ำมัน ค่าสารที่สปอนนิฟายไม่ได้ อยู่ในช่วงร้อยละ 3.50-7.89 โดยน้ำหนัก ค่าปริมาณสบู่อยู่ในช่วงร้อยละ 0.044-0.093 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันรำข้าวหอมปทุมมีปริมาณแกมมาโอไรซานอลสูงกว่าน้ำมันรำข้าวหอมมะลิ (1.57-2.41 และ 1.08-1.58 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ) น้ำมันรำข้าวทั้งสองชนิดพบกรดไขมันอิ่มตัวและ ข ไม่อิ่มตัวคล้ายกัน กรดไขมันหลักที่พบคือ กรดปาล์มิติก กรดสเตียริก กรดโอเลอิก กรดไลโนเลอิก และ กรดไลโนเลนิก โดยมีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็น 0.33-0.44 และ 0.34- 0.79 สำหรับน้ำมันรำข้าวหอมปทุมและน้ำมันรำข้าวหอมมะลิตามลำดับ และไม่พบการปนเปื้อนของ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ และโคลิฟอร์ม ในตัวอย่างน้ำมันที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ตำรับครีมน้ำมันรำข้าวที่เตรียมขึ้นสองตำรับโดยมีน้ำมันรำข้าวหอมปทุมเป็นส่วนประกอบ ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก และมีชนิดของสารช่วยในแต่ละตำรับแตกต่างกัน พบว่า ตำรับทั้งสองมี ลักษณะเป็นครีมข้น สีเหลืองนวล มีความนุ่มลื่น ความเป็นมันวาวค่อนข้างสูง มีความมันและความแข็ง น้อย ไม่เหนียวเหนอะหนะ ตำรับ RBO 02 มีลักษณะแข็งกว่าเล็กน้อย และมีการกระจายตัวในเนื้อ ครีมมากกว่า ผลการศึกษาความคงตัวที่สภาวะเร่งโดยใช้ความร้อนและเย็นสลับกัน 6 รอบ พบว่า ตำรับทั้งสองมีลักษณะของเนื้อครีมและสีไม่แตกต่างจากเมื่อเริ่มต้น มีค่าพีเอช และปริมาณแกมมาโอ ไรซานอลลดลงเล็กน้อย แต่ค่าความหนืดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจเกิดจากกรดไขมัน (รูป เอสเทอร์) ในน้ำมันรำข้าวสลายตัวโดยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสได้เป็นกรดไขมันอิสระที่ทำให้ค่าพีเอชลดลง ส่วนผลการศึกษาความคงตัวที่สภาวะปกติ พบว่า ตำรับทั้งสองมีลักษณะของเนื้อครีมและสีไม่แตกต่าง จากเมื่อเริ่มต้น แต่ในเดือนที่ 6 ตำรับ RBO 02 มีลักษณะเหลวมากขึ้น สำหรับค่าพีเอช ค่าความหนืด และปริมาณแกมมาโอไรซานอลมีแนวโน้มลดลง และในเดือนที่ 6 มีค่าแตกต่างจากเมื่อเริ่มต้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ โดยตำรับ RBO 01 มีค่าพีเอชน้อยกว่าตำรับ RBO 02 แต่มีค่าความหนืด และ ปริมาณแกมมาโอไรซานอล ใกล้เคียงกัน โดยสรุป ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันรำข้าวชนิดบีบเย็นเป็นส่วนประกอบซึ่งอาจต้องมีขั้นตอนเพื่อทำให้น้ำมันรำข้าวมี ความคงตัวและสามารถรักษาคุณค่าที่มีประโยชน์ไว้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | น้ำมันรำข้าว -- ตำรับ -- วิจัย | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการพัฒนาสูตรตำรับน้ำมันรำข้าว | en_US |
dc.title.alternative | Formulation development of rice bran oil | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The research report entitled “Formulation Development of Rice Bran Oil” was an experimental design research project. The main purposes of this project were to prepare cold-pressed rice bran oil from Hom-Pathum and Hom-Mali rice bran, to evaluate the physical and chemical characteristics, to determine -oryzanol, tocopherol and tocotrienol and tested for microbial limits. Cold-pressed rice bran oil was prepared in two formulations and evaluated the physical characteristics of cream base and studied the stability at accelerated using freeze-thaw cycling method and at room temperature conditions for six months. The results found that there were the total of nine Hom-Pathum and four Hom-Mali rice bran oil samples in this study and seven of them were prepared using a screw press machine in the laboratory. The percent yields of cold press rice bran oil were 3.00-15.74 by weight. Hom-Pathum rice bran oil was dark greenish-brown color, clear liquid and unique odor, while Hom-Mali rice bran oil was dark yellow to yellow brown color, clear liquid and unique odor. Lovibond colors of Hom-Pathum and Hom-Mali rice bran oil were 86-105 and 63-100.5, respectively. The color of both types of cold press rice bran oil was darker than that of rice bran oil prepared by other methods and commercial rice bran oil. Both Hom-Pathum and Hom-Mali rice bran oil showed the refractive index and the specific gravity values which were within the Codex standard criteria. Most rice bran oil samples showed the percent of moisture and volatile substances were in the criteria as well. The acid values of Hom-Pathum rice bran oil were in the range of 7.33-19.19 mgKOH/g oil except for two old rice bran oil samples. The peroxide values were in the range of 1.14-9.07 mEq/kg oil. The iodine values were 43.15-90.64 g/100 g oil. The saponification values were in the range of 172.69-200.52 mgKOH/g oil. The percent unsaponifiable matter was 3.18-8.02 w/w. The percent residual soap was 0.022-0.282 w/w. In addition, the acid values of Hom-Mali rice bran oil were in the range of 18.78- ง 27.89 mgKOH/g oil except that one sample showed high value. The peroxide values were in the range of 0.91-3.03 mEq/kg oil. The iodine values were 60.76-69.32 g/100 g oil. The saponification values were in the range of 187.39-200.79 mgKOH/g oil. The percent unsaponifiable matter was 3.50-7.89 w/w. The percent residual soap was 0.044-0.093 w/w. Hom-Pathum rice bran oil showed higher -oryzanol contents than Hom-Mali rice bran oil (1.57-2.41 & 1.08-1.58 %w/w, respectively). Similar saturated and unsaturated fatty acids were found in both rice bran oil samples. The main fatty acids found in rice bran oil were palmitic acid, stearic acid, oleic acid, linoleic acid and linolenic acids. The saturated and unsaturated fatty acid ratio was 0.33-0.44 and 0.34- 0.79 for Hom-Pathum and Hom-Mali rice bran oil, respectively. There were no bacteria, mold and yeast and coliforms contamination in rice bran oil samples in this research. Two rice bran oil cream formulations incorporated with 10% w/w of Hom- Pathum rice bran oil were prepared. These two formulations were different in excipients. Both recipes were thick cream and light yellow color, highly smooth and glossy texture, and low greasy and sticky. RBO 02 is slightly solid and better dispersion in cream base. The accelerated stability study using freeze-thaw 6 cycles showed that both recipes were similar cream texture compare to the beginning. The pH and - oryzanol values slightly decreased whereas the viscosity values significantly decreased. It implied that the fatty acids (ester form) degraded by hydrolysis reaction resulting in free fatty acids which lowered the pH value. The results of stability study at room temperature found that both recipes were similar cream texture compare to the beginning. However, in the sixth month RBO 02 recipe showed more liquid. The pH, viscosity and -oryzanol values tended to decrease and the values in the sixth month were significantly different from the beginning. RBO 01 recipe showed lower pH values than RBO 02 recipe but the viscosity and -oryzanol values were similar. In conclusion, the results provide the preliminary data for the development of other rice bran oil products which are needed the process to stabilize and maintain the value of rice bran oil. | en_US |
Appears in Collections: | Pha-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KRISANA KRAISINTU.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.