Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2317
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ-
dc.contributor.authorปราณี ทัดศรี-
dc.date.accessioned2024-04-18T05:26:58Z-
dc.date.available2024-04-18T05:26:58Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2317-
dc.description.abstractการศึกษาเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlational Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านโรงเรียน ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 4-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1-2 ในโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 จำนวน 255 คนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีและผู้ปกครองของเด็กนักเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้น เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2551 โดยให้ผู้ปกครองตอบแบบสอบถามแล้วประเมินภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน วิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยายและการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านบุคคลได้แก่เพศและกิจกรรมทางกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กก่อนวัยเรียน มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน (c2= 10.402, p = 0.034) ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านโรงเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ดังนั้น บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยประสานงานร่วมกับทีมสุขภาพและครู ด้วยการให้ความรู้ในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารแก่เด็กและผู้ปกครอง ผลการศึกษาครั้งนี้ยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางของโรงเรียนเพื่อป้องกันปัญหาโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนในเขตจังหวัดปทุมธานีอีกด้วยen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectโภชนาการเด็กen_US
dc.subjectเด็กก่อนวัยเรียน --ปทุมธานีen_US
dc.subjectโภชนาการ -- การสำรวจ -- ไทย -- ปทุมธานี -- วิจัยen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeFactors associated with nutritional status among pre-school children in Muang district, Pathumtani provinceen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThis correlational study aimed to examine personal, family, and school factors associated with nutritional status among pre-school children in Muang district areas of Pathumthani province. The sample included 255 pre-school children aged 4-6 years old who attended pre-schools and one of their parents/guardians. Multistage random sampling was used. Data were collected from January to February, 2008 by using self-administered questionnaire completed by the parent/guardian and nutritional status assessed in the children. Data were analyzed by descriptive statistics and Chi-square test. Results revealed that personal factors (gender, and physical activity) were not associated with nutritional status. Whereas food consuming behavior was associated with nutritional status (c2= 10.402, p = 0.034). Family factors and school factors were not associated with nutritional status. Findings suggested that family is an important factor for nutritional status in pre-school children. Therefore, nurse could collaborate with health team and teacher to provide information on nutrition especially food selection and food consuming behavior for parents to promote nutritional health. The findings also provided baseline information to initiate a school policy in order to prevent nutritional problems among pre-school children in Pathumtani province.en_US
Appears in Collections:Nur-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KHANITTA WISITCHAROEN.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.