Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวันฤดี สุขสงวน-
dc.date.accessioned2024-04-18T07:24:10Z-
dc.date.available2024-04-18T07:24:10Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2324-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนค่าใช้จ่ายของนักศึกษา ศึกษา ความสำพันธ์ระหว่างภูมิลำเนากับค่าครองชีพ เปรียบเทียบค่าครองชีพของนักศึกษาที่กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิต กับมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตธนบุรี และศึกษาปัญหาการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าครองชีพ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยดังนี้ ประชากรประกอบด้วยนักศึกษาคณะบัญชีจากมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตธนบุรี ที่กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2553 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน ประมวลผลโดยใช้วิธี แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ได้ ทดสอบความสมมติฐาน T-test F-test และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One –Way ANOVA) ในการหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตธนบุรี มีค่าครองชีพเฉลี่ยเดือนละ 8,365 และ 5,791 บาท ตามลำดับ สัดส่วนของค่าครองชีพเกินกว่าร้อยละ 50 เป็นค่าอาหาร และที่พักอาศัย ค่าครองชีพที่มีเกี่ยวข้องกับภูมิลำเนาได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าเครื่องแต่งกาย ค่าครองชีพโดยรวมของนักศึกษา คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต แตกต่างกับ นักศึกษา สาขาบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตธนบุรี สำหรับปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพของนักศึกษาพบว่า เงินค่าครองชีพจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโอนเข้าบัญชีให้ช้า มีรายจ่ายฉุกเฉินบ่อย มีรายจ่ายในการเรียน และการทำกิจกรรมมาก นอกจากนี้บางเดือนกลับภูมิลำเนา ในต่างจังหวัดทำให้มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย และค่าน้ำ ค่าไฟ สูงกว่าภูมิลำเนาเดิมมาก จึงขอเสนอให้ทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพิ่มค่าครองชีพให้กับนักศึกษา หรือ หางานให้ทำเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา -- วิจัยen_US
dc.subjectค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ -- นักศึกษา - วิจัยen_US
dc.subjectค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ -- การเปรียบเทียบ -- วิจัยen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าครองชีพของนักศึกษาคณะบัญชีที่กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตกับมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตธนบุรีen_US
dc.title.alternativeComparative analyze of cost of living of students from Faculty of Accouning who are student loan fund between Rangsit University and Rajabhat University in Thonburien_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe objective of this research are to analyze expense ratio of the students, relationship between homeland and living expenses, comparison living expenses of students who are Income contingent loans between Rangsit University and Rajapat University in Thonburi, and expenditure problem associated with living expenses. The research methodology is as followed: Populations are consisted of accounting students from Rangsit University and Rajabhat University in Thonburi, who are Income Contingent Loans for the semester 1/2010. The research tools are questionnaires, and Income – Expenditure Daily report. Results are processed by using frequency, determination of percentage, average, and standard deviation, moreover, there are testing of hypothesis T-Test, F-Test, and analyze the variance by using One-Way ANOVA to analysis the relationship. The research results showed that students from Rangsit University and Rajabhat University in Thonburi have living expenses Bht 8,365 and Bht 5,800 per month respectively. Proportion of living expenses more than 50% are cost of food & accommodation. Living costs which related to homeland are food, travel, and clothes expenses. Overall living expenses of accounting students in Rangsit University are difference from accounting students in Rajabhat University in Thonburi . For the living expense problems of student are delaying in transferring money for living expenses from Student Loan Fund to student’s bank accounts, often having emergency expenses, having more expenses of learning and activities, more traveling expenses back to homeland in some months. In additional, cost of food, accommodation, and utilities more expensive than what spent in homeland. So students would like to propose the Student Loan Fund to increase living expenses to the students, or to find more channels for the students to earn extra income to cover the expenditures.en_US
Appears in Collections:ACC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WANRUDEE SUKSANGUAN.pdf10.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.