Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2328
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วุธพงศ์ ลาภเจริญ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-19T07:57:12Z | - |
dc.date.available | 2024-04-19T07:57:12Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2328 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “การศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า: กรณีศึกษาโทรศัพท์เคลื่อนที่” โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือประการแรก เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประการที่สองเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภค ประการที่สามเพื่อศึกษาความสำคัญของตราสินค้าเปรียบเทียบกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และประการที่สี่ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติต่อประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้า สำหรับวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) แบบวัดครั้งเดียว (One-shot Study) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่มีคำถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Questions) และชนิดปลายปิด (Close-ended Questions) เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดสอบผลกระทบหลัก (Main effect) ของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยวิธี MANOVA พบว่าประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจ และด้านความตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับร้อยละ 99 ขณะเดียวกันยังพบว่า ตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจ และด้านความตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับร้อยละ 99 2) การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple regression analysis) พบว่าประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผลต่อทัศนคติในด้านคุณภาพสินค้า ในทิศทางเดียวกัน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.1859 และ 0.2324 และประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผลต่อทัศนคติในด้านความพึงพอใจต่อสินค้า ในทิศทางเดียวกัน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.1833 และ 0.2252 ตามลำดับ รวมถึงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผลต่อทัศนคติในด้านความตั้งใจจะซื้อสินค้า ในทิศทางเดียวกัน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.1895 และ 0.2364 ตามลำดับ 3) การวิเคราะห์ผลทางด้านประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin effect) ด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Mean Difference) โดยการจับคู่เปรียบเทียบ (Paired Comparison) และผลทางด้านตราสินค้า (Brand effect) พบว่าผู้บริโภคมีทัศนคติทั้งในด้านคุณภาพสินค้า ความพึงพอใจต่อสินค้า และความตั้งใจจะซื้อสินค้า ต่อผลิตภัณฑ์จากฟินแลนด์และแคนาดา ดีกว่าผลิตภัณฑ์จากประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากมีผลต่างของค่าเฉลี่ยเป็นบวก แต่มิอาจสรุปเปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์จากฟินแลนด์และแคนาดา เนื่องจากไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) จากการวิเคราะห์ผลทางด้านตราสินค้า (Brand effect) ด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Mean Difference) โดยการจับคู่เปรียบเทียบ (Paired Comparison) พบว่า เมื่อทำการเปรียบเทียบตราสินค้าทั้ง 3 จากเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ พบว่าผู้บริโภคมีทัศนคติทางด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจ และด้านความตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตราสินค้า Nokia ดีที่สุด ตามด้วยตราสินค้า BlackBerry และตราสินค้า Samsung ตามลำดับ โดยนัยยะคือ ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีความแข็งแกร่ง 3 ลำดับแรก คือประเทศฟินแลนด์ แคนาดา และประเทศเกาหลีใต้ ขณะเดียวกันตราสินค้าที่มีความแข็งแกร่ง 3 ลำดับแรกคือ ตราสินค้า Nokia ตราสินค้า BlackBerry และตราสินค้า Samsung ตามลำดับ 5) ผลจากการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล อันประกอบไปด้วย ปัจจัยทางด้านเพศ ด้านอายุ ด้านสถานภาพ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านระดับรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการให้ความสำคัญกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทางด้านผลของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับตราสินค้า พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล อันประกอบไปด้วย ปัจจัยทางด้านเพศ ด้านอายุ ด้านสถานภาพ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านระดับรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการให้ความสำคัญกับตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค -- กรุงเทพมหานคร -- วิจัย | en_US |
dc.subject | โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- ความพอใจของผู้บริโภค -- กรุงเทพฯ -- วิจัย | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้ากรณีศึกษาโทรศัพท์เคลื่อนที่ | en_US |
dc.title.alternative | The attitide of consumers in Bangkok toward the country of origin A case study of mobile phone | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The attitude of consumers in Bangkok toward the country of origin : a case study of mobile phone has 4 objectives. Firstly, it is to investigate consumer attitudes toward the country of origin of the products of mobile phones. Secondly, it is to study the factors affecting the purchase decision of mobile phone. Third, it is to examine the importance of the brand compared to the country of origin. The last, it is to study the factors that affect personal attitudes towards the country of origin of goods. Method for the quantitative research is a survey research. Questionnaire with a type of open ended questions and close ended questions is used as a tool for this research. The results of this research showed that 1) different country of origin effects the attitude of consumer in the term of product quality, product satisfaction and willingness to buy. Moreover, the different of mobile phone brand effects the attitude of consumer in term of product quality, product satisfaction, and willingness to buy. 2) a simple regression analysis showed that the country of origin and brand of mobile phones affect the attitude of product quality in the same direction with a coefficient equal to 0.1859 and 0.2324. The country of origin and brand of mobile phones affect the attitudes in terms of product satisfaction in the same direction with a coefficient equal to 0.1833 and 0.2252 respectively, including country of origin and brand of mobile phones affect attitude of willingness to buy goods in the same direction with a coefficient equal to 0.1895 and 0.2364 respectively. 3) when analyze the result of country of origin by testing the difference of the mean by matching (paired comparison) and the impact of brand (brand effect) found that the consumer attitudes in terms of product quality, product satisfaction, and willingness to buy goods toward products from Finland and Canada better than South Korea. 4) the analysis of the way the brand (brand effect) by testing the difference of the mean (mean difference) by matching (paired comparison) of 3 mobile phone brands found that consumer attitudes in product quality, product satisfaction, and willingness to buy to Nokia brand better than Blackberry and Samsung respectively. 5) results from tests of personal factors related to the country of origin and brand of mobile phone found that personal factors such as gender, age, position, level of education, occupation, and income level have no relationship to the country of origin of the mobile phone. | en_US |
Appears in Collections: | BA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WUTTHAPHONG LAPCHAROEN.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.