Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2329
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศศิธร ง้วนพันธ์-
dc.date.accessioned2024-04-19T08:01:26Z-
dc.date.available2024-04-19T08:01:26Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2329-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณการสำหรับสถาบันศึกษาเอกชนเพื่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณการสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสำหรับการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและเพื่อเป็นการพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสารทางการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) แบบสะดวก (Convenience Sampling) และสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยมีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistic) โดยใช้การทดสอบความสัมพันธ์ค่า Chi-square ผลการศึกษาที่ได้พบว่าผู้ปกครอง/บิดา/มารดา มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ส่วนทางด้านเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีจากการแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนโดยอาจารย์แนะแนว รองลงมาคือ สื่อทางโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เปิดรับสื่อทางโทรทัศน์ทุกวัน และช่วงเวลาที่ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อทางโทรทัศน์จะเป็นในช่วงเวลา 18.01 – 21.00 น. มากที่สุด ส่วนการเลือกรับข้อมูลทางการศึกษาจากแหล่งการแนะแนวพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกรับข้อมูลจากอาจารย์แนะแนวในโรงเรียนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประเภทของสื่อมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อทางอินเตอร์เน็ต ทางสื่อโทรทัศน์ ทางเว็ปไซด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านของอายุพบว่ามีความสัมพันธ์กับประเภทของสื่อ โดยอายุ 17 – 18 ปี มีการเปิดรับสื่อทางโทรทัศน์ และการแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ -- วิจัยen_US
dc.subjectการสื่อสารการตลาด -- วิจัยen_US
dc.subjectการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการen_US
dc.subjectแรงจูงใจen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีen_US
dc.title.alternativeIntegrated marketing communication strategy development of the private higher educational institutes influencing the decisions in continuing the study in undergraduate levelen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe purpose of this research was to study the Integrated Marketing Communication strategies used in the private higher educational institutes to identify the factors influencing those, who decided to continue their studies in the undergraduate level. This research also aimed to develop the Integrated Marketing Communication tools in order to reach the customer targets of the institutes. The sample group in this research consisted of 400 high school students residing in Bangkok and vicinity, and Nonprobability and Convenience sampling methods were used as the means to select the sample group. The Descriptive statistic- frequency, percentage, mean, and standard deviation- was used in analyzing the demographic data, while Inferential statistic, Chi-Square, was utilized in test the hypotheses. The research found that the influences of the parents strongly impacted those high school students’ decisions in continue their studies in bachelor level. Regarding with the Integrated Marketing Communication tools, the research showed that the decisions of those students in continuing their study after the high school years were influenced by their guidance teachers and also by the media seen in the television and Internet. The hypothesis testing confirmed that the strong relationship between their decisions in pursuing their studies and types of media existed. Female- 17 to 18 years of age- tended to receive their information from the Internet and from the guidance teachers, at the significant level of 0.05.en_US
Appears in Collections:BA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SASITHORN NGUANPHAN.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.