Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2330
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยแนวทางในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับตราสินค้ามหาวิทยาลัยเอกชน |
Other Titles: | Guide Line for Creating a Brand Identity as a Private Unversity |
Authors: | รัตชพงษ์ เขียวพัน |
Keywords: | ชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- การออกแบบ -- วิจัย;ภาพลักษณ์ขององค์การ -- วิจัย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหลายแห่งได้พยายามแสดงจุดเด่นของตน เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาหาแนวทางในการสร้างและพัฒนาอัตลักษณ์ให้กับองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางในการสร้าง แนวทางการสื่อสาร และแนวทางพัฒนากลยุทธ์ในการสร้างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มาจาก 1.การวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้แนวคิด Brand Identity System ของ David A. Aaker มากำหนดเนื้อหาและโครงสร้างของการสนทนา แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1.มหาวิทยาลัยมีการสร้างอัตลักษณ์แบบองค์รวมมากกว่าการมองส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สัญลักษณ์ของบริษัท หรือปรัชญา วิสัยทัศน์ขององค์การ โดยมีสาเหตุหลักที่ทำให้การวางแผนแตกต่างกัน คือ บทบาทของผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนร่วมแตกต่างกัน การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบต่างๆแตกต่างกัน และปัจจัยที่เป็นปัญหาแตกต่างกัน 2.มหาวิทยาลัยต่างๆมีการสร้างความน่าสนใจโดยอาศัยรูปแบบต่างๆเพื่อใช้ในการสื่อสาร คือ การสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจุดยืนของมหาวิทยาลัย และ การสร้างหลักสูตรตามความต้องการของตลาด โดยมีการสื่อสารเรื่องราวต่างๆที่มหาวิทยาลัยต้องการที่จะสร้างความมั่นใจจากการที่ได้เข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในลักษณะต่างๆ แต่ต้องมีการพัฒนาการสื่อสารในเรื่อง การใช้ในการสื่อสารรูปแบบใหม่ การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ การศึกษารูปแบบสื่อสารแต่ละประเภทเพื่อให้เกิดความเหมาะสม การวิเคราะห์ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมาย การเลือกหากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม การสร้างประสบการณ์ การปรับรูปแบบการสื่อสารให้มีบุคลิกที่ชัดเจน ประเมินการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานภายในองค์กรให้มีความรวดเร็วขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น การจัดการภาพลักษณ์ การเตรียมความพร้อมก่อนทำการสื่อสาร และการสื่อสารภายในองค์การ เพื่อให้การสร้างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพ |
metadata.dc.description.other-abstract: | A great number of private universities have tried to show their strengths to gain reputation. As a result, the researcher became interested in investigating ways of building and developing identities for them. The purposes of this study are to communicate and develop identity building strategies of private universities. This qualitative research was conducted by the means of documentary research and structured-interview constructed based on Brand Identity System of David A. Aaker. It was found that the universities created their identities holistically rather than emphasized a particular part, namely logos, symbols, philosophies, and visions. The main factors affecting the planning process included roles of executives and stakeholders, priorities placed on different elements, and various problematic factors. In addition, the universities increased their attractiveness through various communicative tools. To illustrate, many curriculums were created to promote the universities’ strengths and to serve market needs as well as to ensure their students’ confidence in entering the universities. It is suggested that communicative tools should be modern and used on regular basis. Proper communicative tools should be further studied. Target group’s attitudes should be analyzed in order to find the appropriate one. Creating experiences, strengthening communicative tools, evaluating the target group’s perception, accelerating internal operational process to cope with any problems, dealing with corporate images, pre-preparation for communication and good internal communication are necessary for efficiently creating universities’ identities |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2330 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | BA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RACHAPONG KHIEWPAN.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.