Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2332
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาวัดในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The religous tourism to creative tourism : case study of the temple in Bangkok
Authors: ลัดดาวรรณ์ มัณยานน
Keywords: วัดกับการท่องเที่ยว;การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา วัดในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในวัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในวัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อแนวทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในวัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในวัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในวัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดต่างๆของกรุงเทพมหานคร เฉพาะ 9 แห่งที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมไหว้พระ 9 วัด จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หรือค่าสถิติเอฟ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีสถานภาพสมรส มีการ ศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ส่วนการประกอบอาชีพเป็นพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน กลุ่มตัวอย่างมีเหตุผลของการท่องเที่ยวหรือเยี่ยมชมวัดส่วนใหญ่เพื่อไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด และต้องการศึกษาหาความรู้ทางพุทธศาสนา ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ในวัด สิ่งแวดล้อมภายในบริเวณวัด และกิจกรรมภายในวัดอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบไปด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาจิตและปัญญา และการบริการความรู้อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแนวทางในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วยการเห็นคุณค่าของพุทธศาสนา และการนำความรู้ความเข้าใจไปใช้อยู่ในระดับมาก การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง กับ ความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า เพศ สถานภาพสมรส และอาชีพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา มีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และมีความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาส่วนใหญ่ในการท่องเที่ยววัด คือ ปัญหาเกี่ยวกับความสะอาด ขยะมูลฝอย มูลสุนัข มูลนก ห้องนํ้าห้องสุขาไม่ค่อยสะอาด มีต้นไม้น้อยไม่ค่อยร่มรื่น เจ้าหน้าที่ของทางวัดที่ทำความสะอาดหรือทำงานในจุดต่างๆมีน้อย ทั้งยังแต่งกายไม่ค่อยสุภาพ และปัญหาในเรื่องของกิจกรรมในวัดซึ่งมีการประชาสัมพันธ์น้อย จัดไม่ตรงกับวันหยุด จึงทำให้ไม่ทราบเรื่องและไม่สะดวกในการมาร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ควรมีการจัดเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดและเจ้าหน้าที่ประจำในจุดต่างๆ ให้มากขึ้น และแต่งกายให้เรียบร้อย ในเรื่อง ศาสนสถาน หากมีการสร้างใหม่ควรมีการคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก มีการวางผังใหม่ให้ดี มีการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความร่มรื่นและเป็นการทำให้ภูมิทัศน์ของวัดสวยงาม น่ารื่นรมย์ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง และมีการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ของวัดให้สมบูรณ์ เพราะหากวัดมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่มาวัดแล้ว ย่อมทำให้นักท่องเที่ยวมาวัดแล้วเกิดศรัทธา เกิดความยินดี เกิดความสุขใจ มาทำบุญ ทำกุศลต่างๆ พร้อมทั้งการมาพักผ่อนหย่อนใจในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงศาสนาได้
metadata.dc.description.other-abstract: The study on “The religious tourism to creative tourism : case study of the temple in Bangkok” has an aim to study opinions of the samples to review available about the religious tourism in the temples of Bangkok, to review available studies about creative tourism activities in various temples of Bangkok, the study reviews the approach to tourism, religious tourism, creative temples of Bangkok, the proposed tourism management in various temples of Bangkok, to study the problems and suggestions in tourism, religious tourism to the creative temples of Bangkok. This study is survey research. The data is collected from documents and field works. The samples were 400 persons who comes to temple in Bangkok. Data were collected using a questionnaire to a population sample of individuals visiting various temples of Bangkok, only nine of which are part of the activity 9 Temple. Statistical Techniques used in data analysis were percentage average, t-test, F-test and the significant level was 0.05 conclude like this, Most of the samples are female, age 41-50 years, married with Diploma/High Vocational in education and occupation as an employee/employer organizations. For reasons of tourism or visiting temples, mostly for temples, and sacred temple and want to learn Buddhism. Reviews of tourists to the religious tourism of the sample is divided into three areas. Including personnel officer in the temple, environment temple, and activities inside the temple at a high level. The sample towards creative activities. include the promotion of learning, spiritual and intellectual development, knowledge services at a high level. Satisfaction samples with the guidelines to tourism, religious tourism to the creative, consisting of the values of Buddhism and bringing insight at a high level. The relations between the data of the sample and the sample’s opinion for religious tourism, creative tourism activities and the approach to tourism, religious to creative tourism. classified by personal factors, in overall, the samples visiting the temple who have sex, marital status and occupation are different, there are found significantly different at 0.05 according to the hypothesis. Most of the people complain to the religious tourism to creative tourism are : cleanness, a few plants, cleaning staffs, impolite dressing staffs, temple activities advertisement and none-holiday activities running, etc. Therefore, the peoples cannot come to join activities at the temple. The suggestions toward the religious tourism to creative tourism are : there should be arranged the cleaners, service-minded staffs as well as the well dressed in every temple. As for religious development, the construction should be focused on usefulness. The structural planning such as tree growing should be in advance. Any activities of religious affairs should be organized on weekend and holiday. Thus make the people come to visit the temple feel easy and knowledgeable, fully relaxed to the full extent of the Religious Tourism
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2332
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:BA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LADDAWAN MONYANONT.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.