Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2333
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ลักษณา คล้ายแก้ว | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-22T05:59:32Z | - |
dc.date.available | 2024-04-22T05:59:32Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2333 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง ทิศทางของบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของสถาบันอุดมศึกษาไทย และเพื่อศึกษาทิศทางของบทบาทและลักษณะการดำเนินงานในอนาคตของสถานีวิทยุกระจายเสียงสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ศึกษากลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มคือ นักวิชาการสื่อสารมวลชน ผู้บริหารสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และผู้บริหารสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ผลการวิจัยพบดังนี้ 1.บทบาทหน้าที่ การบริหารจัดการและการดำเนินงานสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบ่งได้เป็น 3 แนวทางคือ 1) การบริหารกึ่งธุรกิจเพื่อบริการวิชาการ 2) การบริหารภายใต้คณะเพื่อเป็นที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษา 3) การขายสัมปทานเพื่อหารายได้และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย การบริหารและดำเนินงานสถานีวิทยุอุดมศึกษาของรัฐมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากปัจจัยภายในได้แก่นโยบายองค์กร การเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบราชการ และผู้บริหาร และปัจจัยภายนอกคือบริบททางการเมืองเรื่องการปฏิรูปสื่อ ปัจจัยเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสังคม 2.การก่อตั้งสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การปฏิรูปสื่อและการเกิดวิทยุชุมชนภาคประชาชน สถานีฯ มีบทบาทผสมผสานระหว่าง การบริการชุมชน การเป็นสื่อเรียนรู้ของนักศึกษา และประชาสัมพันธ์ข่าวสารมหาวิทยาลัย การบริหารสถานีมี 2 ลักษณะคือ การบริหารโดยคณะนิเทศศาสตร์ และบริหารโดยหน่วยงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัย ชุมชนภายนอกสถาบันไม่มีส่วนร่วมในการบริหารสถานี นักศึกษา อาจารย์ บุคคลากร และตัวแทนชุมชนมีส่วนร่วมในระดับรายการ 3.ทิศทางบทบาทสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนควรเหมือนกันคือ 1)ให้บริการวิชาการ 2) ให้บริการชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วม 3) เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษา และ 4) สื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย การบริหารทำได้สองทางคือบริหารโดยหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัย หรือคณะที่มีการเรียนด้านการกระจายเสียง สถานีควรมีอิสระในการบริหารงบประมาณ บุคลากรและเทคโนโลยี มีกฏระเบียบที่ยืดหยุ่นสร้างความคล่องตัวในการดำเนินงาน รายได้หลักมาจากมหาวิทยาลัยและไม่ควรมีรายได้จากโฆษณาและการขายเวลา จะเห็นได้ว่าทิศทางบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานสถานีวิทยุสถาบันอุดมศึกษาสอดคล้องกับหลักการสื่อสาธารณะที่เป็นสื่อให้พลเมืองเข้าถึงได้และมีโอกาสใช้ประโยชน์ เนื้อหารายการมีความหลากหลาย มีความอิสระในการบริหารงานและการทำงาน และความโดดเด่นด้านคุณภาพรายการ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การกระจายเสียงทางวิทยุ -- ไทย -- การจัดการ | en_US |
dc.subject | วิทยุกระจายเสียง -- การบริหาร -- ไทย -- วิจัย | en_US |
dc.subject | วิทยุเพื่อการศึกษา -- วิจัย | en_US |
dc.subject | สถานีวิทยุ -- ไทย -- การจัดการ | en_US |
dc.title | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ทิศทางของบทบาท หน้าที่ และการดำเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทย | en_US |
dc.title.alternative | Perspectives, functions, mamagement and operation of radio stations of private universities in Thailand | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The aim of the thesis titled ‘Perspectives, Functions, Management and Operation of Radio Stations of Private Universities in Thailand’ was to; explore roles and operations of the state university radio stations, and to study the perspective, functions, management and the operation of the private university radio stations. This qualitative research was conducted using the method of in-depth interviews to investigate three groups of key informants. They were: senior mass media academics, station administrators of the state universities radio, and station managers of the private universities radio. The research findings were as follows: 1. Station roles, management and operation of the state university radio were classified into three groups. These were 1) business-based management for educational service, 2) laboratory-based management for student learning, 3) concession-based management for university income and public relations. However station management and operations shifted from time to time because of internal factors, such as organization policy, changes of university regulations and administrators, and external factors, such as political context of media reform, economic, technological and social changes. 2. The emergence of private university radio stations was related to media reform situation and the movement for people-based community radio. The stations had mixed functions as community service, student laboratory, and university public relations. The stations were managed by two means; mass communication faculty, and the university’s operational unit. Community members inside and outside the university had participated in program productions but never engaged in station management. 3. State and private universities are under the direction of the Commission of Higher education and have similar educational goals and mission. Their radio stations therefore should have similar performance following the principles of public service broadcasting for educational purposes. The prospective functions of university radio should provide; 1) educational service, 2) community service and participation, 3) student laboratory and 4) public relations for the university. The stations, either managed by faculty or an operational unit, should have managerial independence and their own regulations for flexible operation and non-advertisement income. The research found that prospective roles, management and operation of university radio were associated with principles of public service media which are universality, diversity, independence and distinctiveness. | en_US |
Appears in Collections: | CA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
LUCKSANA KLAIKAO.pdf | 9.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.