Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2334
Title: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การใช้สัญลักษณ์ภาพ ทศกัณฐ์ ในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยสำหรับงานสื่อใหม่
Other Titles: The Usage of Thotsakan, The Tenface figure in Thai mural paintings for new media
Authors: กัมปณาท เตชะคงคา
Keywords: รามเกียรติ์ -- ตัวละคร;ทศกัณฐ์;ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณคดี
Issue Date: 2553
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สัญลักษณ์ภาพ “ทศกัณฐ์” ในงาน โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังของไทย บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เรื่อง “รามเกียรติ์” แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา แนวคิด เกี่ยวกับสัมพันธบททางการสื่อสาร แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ แนวคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ และงานวิจัยทางการสื่อสาร 2 เรื่อง ได้แก่ การสื่อความหมายใน “การ์ตูนไทยพันธุ์ใหม่” และ การสื่อสารสัญลักษณ์ภาพ “มาร” ในงานจิตรกรรมฝาผนัง เป็นแนวทางในการศึกษา โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์ตัวบท โดยมุ่งศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย เรื่อง “รามเกียรติ์” ที่ปรากฏอยู่บริเวณรอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การศึกษาวิจัยมีดังนี้ 1) สัญลักษณ์ภาพ “ทศกัณฐ์” ที่ปรากฏอยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนังปรากฏอยู่ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ยักษ์ทศกัณฐ์และร่างแปลง โดยภาพรวมสื่อถึงลักษณะของความร้ายกาจอหังการ สติปัญญาที่เฉลียวฉลาด และพละกําลังอันมหาศาลผ่าน “สัญญะ” ของรูปลักษณ์แห่งความเป็นยักษ์ที่ต้องอาศัยการตีความสัญลักษณ์ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันของคนใน สังคม ซึ่งมีการปลูกฝังคุณค่าของความดีงามโดยเน้นย้ําคติที่ว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” เสมอ ทั้งนี้ ภาพสัญลักษณ์ หลักได้แก่ 10 พักตร์ 20 กร กายสีเขียวเข้ม โดยมีสัญลักษณ์ภาษา ท่าทางที่สื่อแสดงถึงความเป็นยักษ์เจ้าชู้และจอมอุบาย 2)วิธีการสื่อความหมายเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะของ“ทศกัณฐ์” ที่ปรากฏในงานจิตรกรรม ฝาผนังรอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 วิธีได้แก่ 1) การใช้คํา บรรยายเหตุการณ์ในเรื่องกํากับความหมายของภาพ 2) การสร้างสัมพันธบท 3) การใช้สัญลักษณ์ เชิงลดรูปที่ขึ้นต่อบริบท 4) การสร้างความเป็นคู่ตรงข้าม 3) แนวทางการนําสัญลักษณ์ภาพ “ทศกัณฐ์” ไปใช้ในบริบทของสื่อใหม่ประกอบด้วย 1) การนําภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพและงานทางคอมพิวเตอร์กราฟฟิกมาประยุกต์ใช้ 2) การบูรณา การงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่อให้งานภาพจิตรกรรมเคลื่อนไหว 3) การผสมผสานกันระหว่าง รูปแบบการนําาเสนอแบบสากลเนื้อหาที่เป็นกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทย
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims to study the usage of "Thotsakan, The Tenface" figure in Thai mural paintings for new media, using a concept of Thai mural painting, King Rama I's original play titled "Ramakien", Semiology, Intertextuality, Visual Communication, a concept of New Media, and 2 related media researches: Communication and Meaning in "Thai New Hybrid Comics" and The Symbolism of "Mara" in Temple Murals, as study guides. This study uses a qualitative research method via textual analysis, focusing on Thai mural painting titled "Ramakien" that appears on a royal cloister at the grand palace. The study shows that 1. Thotsakan figure that appears in Thai mural painting can be divided into 2 major forms: Thotsakan, the giant and disguise. Overall, Thotsakan figure mainly represents sly evilness, intelligence, and power through a "symbol of giant" that needs to be interpreted by social learning process. The figure has been used to foster value of goodness by emphasizing an ideal stating "Evilness will be defeated, always". Having 10 faces and 20 hands with dark green body color are Thotsakan's major characteristic symbols. Thotsakan figure communicates non- verbal language indicating a tricky monster with galant remark. 2. The characteristic of Thotsakan, The Tenface, that appears in Thai mural painting on the royal cloister at the grand palace has been portrayed in 4 methods: 1) Captions 2) Intertextuality 3) Diminution and 4) Binary Opposition. 3. There are 3 guides of how to use "Thotsakan" figure in new media: 1) Applications of cinematography and computer graphic 2) Computer animation technique, and 3) A combination of global presentation and local content
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2334
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:CA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
GUMPANAJ TEACHAKONGKA.pdf54.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.