Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2337
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-22T07:04:42Z | - |
dc.date.available | 2024-04-22T07:04:42Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2337 | - |
dc.description.abstract | จากสภาพปัญหาการว่างงานและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินการประกันสังคมกรณีว่างงานขึ้น การดำเนินการประกันสังคมกรณีว่างงานจะให้บรรลุผลได้ดีนั้น ความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมของผู้ประกันตนมีส่วนสำคัญที่จะทำให้การประกันสังคมกรณีว่างงานประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงได้ทำการวิจัยศึกษา เรื่อง “ความพร้อมของผู้ประกันตนต่อการประกันสังคมกรณีว่างงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ประกันตน (ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานีและไม่สามารถหางานได้) ที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมของผู้ประกันตนต่อการประกันสังคมกรณีว่างงาน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้ประกันตน (ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานีและไม่สามารถหางานได้) ที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistic Package for the Social Sciences) ในการคำนวณและวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าสถิติที (t-test) หรือค่าสถิติเอฟ (F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA (One-way Analysis of Variance) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผู้ประกันตนเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 29.5 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. เป็นส่วนใหญ่ มีสถานสภาพสมรสมากที่สุด มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 7,500 บาท อายุการทำงานในสถานประกอบการปัจจุบันเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ปี โดยส่วนใหญ่เคยใช้บริการสำนักงานประกันสังคม 5-6 ครั้ง ผู้ประกันตนมีความรู้ ความเข้าใจต่อการประกันสังคมกรณีว่างงานในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีความเข้าใจมากที่สุดด้านความต้องการการประกันสังคมกรณีว่างงาน และมีความพร้อมต่อการประกันสังคมกรณีว่างงานในภาพรวมอยู่ใน ระดับสูงมาก แต่ผู้ประกันตนมีความพร้อมน้อยที่สุดในเรื่องความสามารถในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน และพบว่าผู้ประกันตนมีระดับความต้องการเกี่ยวกับการประกันสังคมกรณีว่างงานมากที่สุดในเรื่องความต้องการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการและการใช้สิทธิจากการประกันสังคมกรณีว่างงาน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ นอกจากนี้ ยังคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเป็น เงินชดเชยรายเดือนในช่วงที่ว่างงานมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ประกันตนที่มีความแตกต่างทางด้านสถานภาพสมรสและการใช้บริการสำนักงานประกันสังคม โดยเฉพาะผู้ที่มีสถานภาพสมรสมีความรู้ ความเข้าใจและ ความพร้อมต่อการประกันสังคมกรณีว่างงานมากกว่า ข้อเสนอแนะจากการศึกษาควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการประกันสังคมกรณีว่างงานให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย ให้เข้าถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากที่สุด ควรกำหนดนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปในเชิงรุก เพื่อพัฒนาการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การว่างงาน -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ประกันสังคม -- ปทุมธานี -- วิจัย | en_US |
dc.title | การศึกษาความพร้อมของผู้ประกันตนต่อการประกันสังคมกรณีว่างงาน ศึกษาเฉพาะผู้ประกันตน (ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางาน จังหวัดปทุมธานีและไม่สามารถหางานได้) ที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคม จัดหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.title.alternative | The readiness of the insured towards the unemployment insurance scheme : a case study of the insured (being unemployed and registering with the Pathum Thani Provincial Employment Office) Directly contacting the Pathum Thani Social Security Office | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | Following the unemployment problems and its impact to the society, the government has included the unemployment benefit in the social insurance program. In order for the program to meet the objective, there is the need for the insured persons to have readiness and comprehensive knowledge and understanding of social insurance program regarding unemployment benefits. Therefore, this research in given the title “The Readiness of the Insured towards the Unemployment Insurance Scheme: A Case Study of the Insured (Being Unemployed and Registering with the Pathum Thani Provincial Employment Office) Directly contacting the Pathum Thani Social Security Office.” In this research, the data were collected from 300 insured persons who directly contacted the Pathum Thani Social Security Office by sampling method. The questionnaire was designed for collecting data and the Statistical Package for the Social Science Program (SPSS) was used to analyze with the statistics for frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test by using One-way Analysis of Variance (ANOVA) at 0.05 level of significant. The results have been found that the insured persons were more females than males, and the average ages of the samples are 29.5 years old. Most of them finished their education from the secondary school or vocational school. The majority of them were married with an average salary of 7,500 baht a month, and their average working years were less than 3 years. Most of them contacted with the social security office 5-6 times a year. The insured persons had a moderate level of knowledge about the unemployment insurance. Moreover, they really need to learn a lot more about the unemployment insurance. Although they are willing to participate in the unemployment insurance, they are hardly able to contribute their money to the fund. In conclusion, the insured persons had the highest needs for information about how to participate, and how to claim for the benefits from the unemployment insurance. They also would like to have these information broadcasted through various kinds of medias. They would like to have unemployment compensation on a monthly basis while they were unemployed. The married insured persons were prepared to participate more than the unmarried insured. The recommendations from this study were, there should be more publicity about informations regarding benefits from unemployment insurance in order to reach all the people involved. There should be policy for a proactive campaign about the unemployment program so these informations could reach the most of the target insured persons. | en_US |
Appears in Collections: | BA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAPAISRI THAMVIRIYAWONG.pdf | 12.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.