Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2342
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เบ็ญจรัก วายุภาพ | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-22T07:54:24Z | - |
dc.date.available | 2024-04-22T07:54:24Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2342 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาปริมาณคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านโภชนาการในถั่วเขียวงอกเพิ่มคลอโรฟิลล์ชนิดผิว มันและชนิดผิวดํา เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณค่าโภชนาการและสารต้านโภชนาการที่เปลี่ยนแปลงไปใน ระหว่างการเพาะงอก 7 ระยะ ซึ่งใช้ถั่วเขียวจากศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทจํานวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ชัยนาท 72 และ MS-1(ชนิดผิวมัน) สายพันธุ์ชัยนาท 80 และ L3-8 (ชนิดผิวดํา) นําเมล็ดถั่วเขียวมาตรวจสอบคุณภาพ โดยการวัดเปอร์เซ็นต์การงอกจํานวน 100 เมล็ด พบว่าถั่วเขียวชนิดผิวดํา (พันธุ์ชัยนาท 80 และ L3-8) มี เปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ย 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าถั่วเขียวชนิดผิวมัน (พันธุ์ชัยนาท 72 และ MS-1) ที่มี เปอร์เซ็นต์การงอก 97 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนําถั่วเขียวทั้ง 4 สายพันธุ์มาเพาะงอกแบบคอนโด เก็บตัวอย่างถั่วงอกที่ 7 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (แช่น้ํา 6 ชั่วโมง) ระยะที่ 2 (งอกที่ 23 ชั่วโมง) ระยะที่ 3 (งอกที่ 47 ชั่วโมง) ระยะที่ 4 (งอก ที่ 71 ชั่วโมง มีใบเลี้ยง 2 ใบ) และระยะที่ 5 (งอกที่ 77 78 ชั่วโมง) ระยะที่ 6 นําถั่วเขียวงอกมาเพิ่มคลอโรฟิลล์ โดยนําออกฝั่งแดดร่มรําไรเป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง และระยะที่ 7 ฝั่งแดดร่มรําไรเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง มา วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณโปรตีนในช่วงระยะฝั่งแดด 24 ชั่วโมง ถั่วเขียวพันธุ์ ชัยนาท 60 มีปริมาณโปรตีนสูงสุดเท่ากับ 35.47 % (น้ําหนักแห้ง) ปริมาณเส้นใยในช่วงฝั่งแตด 24 ชั่วโมง ของ ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 และ MS-1 มีปริมาณเส้นใยสูงสุดเท่ากับ 6 - 7 % (น้ําหนักแห้ง) ปริมาณน้ําตาลทั้งหมด ในชั่วโมงที่ 77 ของสายพันธุ์ MS-1 มีปริมาณน้ําตาลทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 11.12 กรัมต่อ 100 กรัม ปริมาณ น้ําตาลรีดิวซ์ของถั่วเขียวทั้ง 4 สายพันธุ์ในชั่วโมงที่ 71 ถึงการพึ่งแดดที่ 24 ชั่วโมง มีปริมาณน้ําตาลรีดิวซ์สูงสุด เท่ากับ 2.17 กรัมต่อ 100 กรัม ปริมาณสารกาบ้าในช่วงที่แช่เมล็ดถั่วเขียว 6 ชั่วโมง มีปริมาณสารกาบ้าสูงสุดทั้ง 4 สายพันธุ์ ปริมาณวิตามินซีสูงสุดที่ระยะฝั่งแดด 24 ชั่วโมง ของสายพันธุ์ชัยนาท 80 เท่ากับ 5.65 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ปริมาณแร่ธาตุทั้งหมดและแร่ธาตุที่สกัดด้วยกรดไฮโดรคลอริด เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเพาะงอก คลอโรฟิลล์พบมากที่สุดในถั่วเขียวชนิดผิวมัน คือ พันธุ์ชัยนาท 72 เท่ากับ 8.99 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และพันธุ์ MS-1 เท่ากับ 7.15 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งมากกว่าชนิดผิวดํา (พันธุ์ชัยนาท 80 และพันธุ์ L3-8) ที่ระยะฝั่งแดด ที่ 24 ชั่วโมง สารประกอบฟีนอล มีปริมาณมากที่สุดที่ระยะฝั่งแดด 24 ชั่วโมงในทุกๆ สายพันธุ์ไม่แตกต่างกัน สารต้านอนุมูลอิสระ มีปริมาณมากที่สุดที่ระยะฝั่งแดดที่ 12 และ 24 ชั่วโมง ของทุกสายพันธุ์ และสารต้าน โภชนาการที่วิเคราะห์คือ ปริมาณกรดไฟติกซึ่งจะมีปริมาณน้อยที่สุดที่ระยะฝั่งแดด 24 ชั่วโมงของทุกสายพันธุ์ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ถั่วเขียว -- พันธุ์ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | คลอโรฟิลล์ | en_US |
dc.subject | แร่ธาตุ | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ศึกษาคุณค่าทางอาหารและสารต้านคุณค่าทางอาหารของถั่วเขียวงอกคลอโรฟิลล์สูง (4 สายพันธุ์) ในระยะเวลาการงอกต่างๆ | en_US |
dc.title.alternative | The nutrients and anti-nutrients of high chlorophyll-mung bean sprouts (4 varieties) as affected by different stages of germination and sprouting | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The objective of the research was to study the variation of the nutrition and anti-nutrient compounds in mung bean varieties during the germination and sprouting periods. 7-stages of consequence ermination and sprouting were studied as follows; (1) 6-hour-soaking, (2) 23-hourgermination, (3) 47-hour-ermination, (4) 71-hour-germination (having 2 cotyledons), (5) 77-78-hoursprouting. (6) 12 hour-sun-ried-sprout,and (7) 24-hour-sun dried sprout. Mung bean varieties including Chinat 72, MS-1, Chinat 80, and L3-8 were planted and harvested at Chainat Station. Their fertility of all seeds was higher than 95%. At the 7". stage, the highest protein content (35%) in sprouting of all varieties as well as the highest fiber content (6-7%) in that of Chinat 72 and MS-1 were found. The reducing sugar of all varieties slightly increased to the maximum value at the last stage. The GABA content was the highest at 6 hour of soaking and then dramatically decreased.The highest vitamin C (5.65 mg) was found in Chinat 80 at the last stage of sprouting. The totalminerals and HCL-extractability of minerals improved with the germinating and sprouting period. The highest amount of chlorophyll (7.15 - 8.99 mg/100 g) was found in Chinat 72 and MS-1 at the last stage of sprouting, comparing to other varieties. In addition, at the last state the total phenol was the highest amount which was not significantly different in all varieties. The total antiradical capacity (DPPH) increased up to the maximum value at the last two stages of sprouting. The result showed that phytic acid, the anti-nutrient component decreased with the consequence of sprouting, and reached the lowest amount at the last stage. | en_US |
Appears in Collections: | BiT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BENJARUK VAYUPHARP.pdf | 15.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.