Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2419
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย พยาธิสภาพทางตาของผู้ป่วยสายตายาวในคลินิกตาของมหาวิทยาลัยรังสิต
Other Titles: Ocular pathology of hyperopic patients in Rangsit University Eye Clinic
Authors: วัฒนีย์ เย็นจิตร
Keywords: สายตายาว -- การรักษา;จักษุวิทยา;ตา, โรค -- วิจัย
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: สายตายาว (ชนิดที่ไม่ใช่สายตาคนแก่) มีความเปลี่ยนแปลงและพยาธิสภาพทางตามาก ได้แก่ ตาเหล่ ตาขี้เกียจ ต้อหิน การไม่สามารถใช้ตาทั้งสองข้างได้พร้อมกัน มีน้า รั่วในชั้นม่านตายูเวีย มีขั้วประสาทตาบวมแบบเทียม และขั้วประสาทตาเสื่อมโดยไม่มีการอักเสบของเส้นเลือด ซึ่งยังไม่เคยมีการรายงานมาก่อนในประเทศไทย คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงทา การศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงและพยาธิสภาพทางตาของผู้ป่วยสายตายาวในคลินิกตาของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีวัตถุประสงค์ ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและพยาธิสภาพทั้งหมด และดูความสัมพันธ์กับความรุนแรงของสายตายาวเพื่อนา มาถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ ในการตรวจวัดสายตาและคัดกรองโรคตาผู้ป่วยทำการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่มาตรวจตาที่คลินิกตา ของมหาวิทยาลัยรังสิตตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2560 ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ป่วยมารับการตรวจทั้งหมด 4,354 คนอายุระหว่าง 1-102 ปีเป็นเพศชาย 1,998 (45.89%) คน เพศหญิง 2,356 คน(54.11%) อายุเฉลี่ยของเพศชาย 49.94±20.14 ปี และเพศหญิง 53.32±18.93 ปี แบ่งเป็นสายตายาวน้อย (Mild hyperopia ที่มี phericalequivalent (SE) +0.50 - +2.00 Diopters) 835 คน สายตายาวปานกลาง (SE +2.25 - +5.00 D) 391 คน และสายตายาวมาก หรือรุนแรง (SE >+5.00 D.) 38 คน การเปลี่ยนแปลงและพยาธิสภาพในตาที่พบมากที่สุดคือกลุ่มโรคต้อหิน ร้อยละ 15.75 ตามมาด้วยโรคน้า วุ้นตาเสื่อม ตาเหล่ ตาขี้เกียจ ร้อยละ 10.81, 1.75, 1.32ตามลา ดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าต้อหินชนิดมุมเปิด ต้อหินชนิดมุมปิด สงสัยต้อหินชนิดมุมตาเปิดมุมตาปิด ตาเหล่ และตาขี้เกียจ มีความสัมพันธ์กับสายตายาว และสัมพันธ์มากขึ้นตามระดับสายตายาวที่มากขึ้นสรุปสายตายาวมีการเปลี่ยนแปลงและพยาธิสภาพตามาก ในเด็กทำให้เกิดตาเหล่ และตาขี้เกียจ ทาให้การเรียนรู้ไม่ดี นำ ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี การคัดกรองสายตาในเด็กจึงจำเป็น ในผู้ใหญ่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียสายตาที่ไม่กลับคืนมา นักทัศนมาตรตรวจผู้ป่วยสายตายาวเกือบทุกวัน จึงควรตรวจคัดกรองโรคตาร่วมด้วย เพื่อนอกจากการให้แว่นสายตาที่เหมาะสม และส่งต่อไปรับการรักษากับจักษุแพทย์ได้อย่างถูกต้อง
metadata.dc.description.other-abstract: Hyperopia (not include presbyopia) can cause variety of ocular disorders and pathology as strabismus, amblyopia, glaucoma, abnormal binocularity, uveal effusion, pseudopapilledema, and nonarteritic anterior ischaemic optic neuritis. Due to no previous study of ocular disorders and pathology of hyperopia were published in Thailand, Faculty of Optometry, Rangsit University conducted the study of Ocular pathology of hyperopic patients in Rangsit University Eye Clinic. The aims were to gather baseline data and determine the correlation between the degree of hyperopia and presence of ocular pathology seen. By using retrospective study of medical records of patients seen at Rangsit University Eye Clinic between January 2015 and December 2017. The results showed a total of 4,354 patients were seen, men:women were 1,998:2,356, age ranging from 1-102 years with a mean age of 49.9±20.14 years in men and 53.32 ±18.93 years in women. Of 1,264 hyperopic patients seen, 835 had a spherical equivalent (SE) of +2 Diopters or less (mild hyperopic), 391 had a SE greater than +2 D but not greater than +5 D (moderate hyperopia) and 38 patients had a SE greater than +5 D (high hyperopia). Glaucoma and related diseases were the most common ocular pathology (15.75%, ), followed by posterior vitreous detachment (10.81%,) , strabismus (1.75%), and amblyopia ( 1.32%). The correlation study showed that primary open angle glaucoma, primary open angle glaucoma suspected, primary angle closure glaucoma, primary angle closure, strabismus and amblyopia related to hyperopia. The more hyperopia had more pathologic correlation
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2419
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Opt-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WATANEE JENCHITR.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.