Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2421
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดปทุมธานีจากการติดตามผลนาน 3 ปี |
Other Titles: | การเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดปทุมธานีจากการติดตามผลนาน 3 ปี |
Authors: | ภัชภิชา ยกกำพล วิสุทธิคุณ วิลาวัลย์ วัฒนีย์ เย็นจิตร |
Keywords: | สายตาสั้น -- การรักษา -- วิจัย;สายตาผิดปกติ-- การรักษา |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดปทุมธานี จากการติดตามผลนาน 3 ปี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แบบติดตามผลข้อมูลต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินอุบัติการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้น ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาโดยเลือกศึกษาในนักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ทุกคน จำนวนทั้งหมด 10 ห้อง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 จนถึงเดือน มีนาคม 2561 รวม 31 เดือน เนื่องจากนักเรียนอายุ12-14 ปี การวัดสายตาจึงไม่ใช้ cycloplegic refraction ยกเว้นนักเรียนบางคนที่ค่าสายตาไม่แน่นอน หรือให้ความร่วมมือไม่ดี ข้อมูลสายตาผิดปกติที่ได้จากการศึกษา จะเปรียบเทียบระหว่างอายุ เพศ และค่าสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษา มีนักเรียนมาตรวจจำนวน 363 คน (82%) อายุ 12-14 ปี พบว่าติดตามผลภายใน 31 เดือน ค่าสายตา (โดยใช้ตาขวา) มีการ เปลี่ยนแปลงไปปีละ 0.375 ไดออปเตอร์ (standard deviation, 0.247) สายตาสั้นในเพศชาย และหญิง พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสายตาสั้นในเพศชายและเพศหญิงระหว่างปี อายุพบว่าไม่แตกต่างเช่นกัน จากการติดตามผล 31 เดือน พบว่าเมื่อนักเรียนมีอายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาสั้นมากขึ้น สรุปผลการศึกษาพบว่า สายตานักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นและการคัดกรองสายตาในนักเรียนวัยเรียนมีความ สำคัญ แต่เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเริ่มต้น และมีนักเรียนติดตามผลไม่ต่อเนื่องร้อยละ 24 จึงควรศึกษาเพิ่มเติมในนักเรียนจำนวนมากกว่าเดิม และติดตามผลนานกว่า เดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงได้ในโครงการเด็กไทยสายตาดีของกระทรวงสาธารณสุข |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of the research was to investigate the incidence and progression of myopia in secondary school students in Pathumthani after follow up for three years. By using a longitudinal cohort study in 363 (82%) secondary school students, age range was 12-14 years , the students had complete eye examination and were re-examined every year for two years, starting from 2015 to 2017. Myopia was measured by auto and manifest refraction except some cases were using cycloplegic refraction. Age, sex, and progression of myopia were analyzed. The results showed that within 31 months, the cumulative incidence of myopia defined as a spherical equivalent of -0.50 diopters or more in either eye increased -0.375 diopters (standard deviation 0.247) in right eye each year for 2 years. Myopia in secondary school students was not associated with sex, or age at the same year. For conclusion, refractive error in school age students change as the students grew up So screening of refractive error in school-age student is essential. Due to this study is the preliminary study and high rate of samples drop out (24%) so the next study should be continued with larger sample size and longer period of follow up with the better expected result for the benefit of Thai Children with Good Eye Sight Project of Ministry of Public Health. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2421 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Opt-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PHACHCHAPHICHA YOKKUMPOL.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.