Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2426
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ | - |
dc.date.accessioned | 2024-07-15T08:47:40Z | - |
dc.date.available | 2024-07-15T08:47:40Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2426 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัย เรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทย โดยยุติธรรมชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) มุ่งศึกษาให้ทราบถึงแนวทางการนำแนวคิดด้านยุติธรรมชุมชนมาลดความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทย ปัญหา อุปสรรคในการนำยุติธรรมชุมชนมาลดความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทย ตลอดจนแนวทางการพัฒนาระบบและรูปแบบงานพัฒนายุติธรรมชุมชนเพื่อลดความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structured interview form) ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดด้านกระบวนการยุติธรรมชุมชนและการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไทยงานวิจัยฉบับนี ได้ทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องระดับกระทรวง จำนวน 10 กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในหน่วยงานยุติธรรมชุมชนระดับจังหวัดและศูนย์ยุติธรรมชุมชนในจังหวัดนำร่องเขตภาคเหนือ 2 จังหวัด จำนวน 2 กลุ่ม (พืนที่) กลุ่มละประมาณ 5 คน (รวมทั้งสิ้น 10 คน) และกลุ่มตัวอย่างแกนนำเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชนภาคประชาชนในจังหวัดนำร่องภาคเหนือ 2 จังหวัด กลุ่มละประมาณ 5 คน ทั้งหมด 2 กลุ่ม (พืนที่) รวมทั้งสิ้น 10 คน โดยลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยใน 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูล ณ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนำร่อง 2 จังหวัดในเขตพื นที่ภาคเหนือซึ่งเป็นจังหวัดต้นแบบ (Best Practice) ที่ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ว่าเป็นจังหวัดที่มีการด้าเนินงานที่เข้มแข็งและประสบด้านการนำกระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้ช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรมและรับการบริการจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรม ประกอบด้วยสาเหตุหลัก 5 ประการ ได้แก่ ความยากจน การไม่รู้กฎหมาย รู้กฎหมายเพียงบางส่วนและความรู้ที่มีไม่ถูกต้องการนำความรู้ทางกฎหมายหรือการใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาข้อจำกัดด้านอื่นๆ 2) ความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมสามารถลดลงได้ด้วยกระบวนการยุติธรรมชุมชน โดยการจัดตั้งส้านักงานยุติธรรมจังหวัดและศูนย์ยุติธรรมชุมชน 3) ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมชุมชนสามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทยในมิติการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุก่อนที่จะเกิดปัญหา การให้ความรู้ ความช่วยเหลือหลังเกิดปัญหา กระบวนการยุติธรรมชุมชนช่วยให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมและเข้าถึงการรับบริการการอำนวยความเป็นธรรมจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ทุกพื้นที่ โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเป็นธรรม เท่าเทียม กลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมและเข้าถึงการรับบริการการอำนวยความเป็นธรรมจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับพืนที่ส่วนย่อย คือ ศูนย์ยุติธรรมชุมชน กลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมและเข้าถึงการรับบริการการอำนวยความเป็นธรรมจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมระดับพืนที่จังหวัด รวมทั้งการเชื่อมโยงระหว่างกระทรวงยุติธรรมและศูนย์ยุติธรรมชุมชน คือ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด และเครื่องมือสำคัญในการด้าเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชนและสำนักงานยุติธรรม คือ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน 4) ปัญหาและอุปสรรคจากการนำยุติธรรมชุมชนมาลดความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรม ได้แก่ ขาดกฎหมายเพื่อบังคับใช้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมชุมชน ศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน การไม่มีรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันและการขาดสภาพบังคับในผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างศูนย์ยุติธรรมชุมชนบ่อยครั้ง แบบรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชนเข้าใจได้ยาก การรายงานผลการดำเนินงานมีความซ้ำซ้อนหรือขาดการรายงานผลในบางกรณีและปัญหาอื่นๆ 5) แนวทางในการพัฒนาระบบและรูปแบบงานพัฒนายุติธรรมชุมชนเพื่อลดความเลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทยอย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ได้แก่ กำหนดกลไกการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด จัดแบ่งกลุ่มศูนย์ยุติธรรมชุมชนที่มีความเข้มแข็งในระดับน้อยกระทั่งมีความเข้มแข็งในระดับมากที่สุด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เสริมศักยภาพองค์ความรู้ใหม่และเน้นย้ำองค์ความรู้เดิมอยู่เสมอ ปฏิรูปโครงสร้างศูนย์ยุติธรรมชุมชน ลงพืนที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและการลงพื้นที่พบปะประชาชนระดับพื้นที่ข้อเสนอแนะ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระดับกระทรวง คือ เร่งจัดทำพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ. .... ให้ออกมาบังคับใช้ได้จริงโดยเร็ว แม้ว่าปัจจุบันกระทรวงยุติธรรมได้ร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ. .... ออกมาแล้วก็ตาม แต่พบว่ายังได้ไม่เสร็จสิ้นในกระบวนการจัดทำ 2) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติระดับหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ เพิ่มพูนศักยภาพ ทักษะความรู้ของผู้ปฏิบัติงานระดับพื้นที่ส่วนย่อยและแกนนำเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชนภาคประชาชน ปฏิรูประบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ยุติธรรมชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะศูนย์ยุติธรรมชุมชนจัดตั้งใหม่ ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในระดับพื้นที่ส่วนย่อย โดยเฉพาะประชากรแฝงรู้จักสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและศูนย์ยุติธรรมชุมชนชุมชน โดยเฉพาะศูนย์ยุติธรรมชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทและความขัดแย้งในระดับพื้นที่ส่วนย่อยโดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ความเหลื่อมล้ำ -- ไทย | en_US |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรม -- ไทย | en_US |
dc.subject | ความเสมอภาค -- ไทย | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทยโดยยุติธรรมชุมชน | en_US |
dc.title.alternative | An inequality reduction in accessing Thai criminal justice process by community justice approach | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | An inequality reduction in accessing to justice in Thai society through community Justices’ is a qualitative research whose aim is to explore possible approaches to employ the concept of community justice to effectively minimize unequal access to justice in Thai society. The study also hopes to attain practical method to develop the system and format of community justice, which can contribute to the minimization of inequality in the public’s access to justice in Thai society. The research utilizes semistructured interview developed from the concept of community justice and the minimization of inequality in access to justice in Thai society. This research put together data obtained from 30 individuals from 3 different sample groups. The first group consists of 10 government officers in the ministerial level, the second group includes 10 government officers from provincial community justice agencies and community justice centers from two different areas in two pilot provinces in the northern region (5 officers from each area) and 10 leaders of community justice center network from two different areas from two pilot provinces in the northern region representing the public sector (5 officers from each area). The fieldwork is conducted to collect data in 3 following areas: Bangkok (agencies under The office of Permanent Secretary of Justice), and two pilot provinces in the northern region that are selected The office of Permanent Secretary of Justice as Best Practice provinces with strong implementation and experience in incorporating community justice approach to help the public have greater access to justice and legal services from agencies within the justice process. The research finds that 1) poverty, lack of, insufficient or false legal knowledge, abusive use of legal knowledge and power, absence of people’s participation in the justice process and limitations in other aspects, are the five main causes of inequality of access to justice 2) Inequality of access to justice can be minimized through effective community justice process and the establishment of provincial community justice offices and community justice centers 3) The community justice process is able to minimize inequality of access to justice in Thai society through the preventive approach, which includes the provision of proper legal knowledge and sufficient assistance after a problem is occurred. Community justice process allows people in all areas of the country to be granted the justice they are fundamentally entitled to and access to fair services from the agencies in the justice process. The access to such service must be easy, convenient, fast, economical, and equal. Community justice center serves as the key mechanism needed for the minimization of access to justice and services to succeed at the local level. Provincial justice offices work at the provincial level as the key mechanism in minimizing the public’s access to justice and services from agencies within the justice process. It also serves as a mediator between the Ministry of Justice and community justice centers operating in different parts of the country. The network of community justice works as an important tool in facilitating community justice centers and provincial justice offices’ operations. 4) Problems and obstacles from the incorporation of community justice approach to eliminate unequal access to justice include the lack of laws to enforce the process of community justice, the potential of the committees controlling the operation of community justice centers and community justice network, the absence of well-developed and effective mediation as well as the lack of effective enforcement of mediation outcomes. In addition, constant changes within the community justice center management structure, complication of performance report of community justice centers’ operations, overlap and incomplete reports and other issues are among the affecting issues. 5) Appropriate and contextually derived developmental approach of community justice’s system and operation to minimize inequality of access to justice in Thai society encompasses the determination of the management mechanism of provincial community justice office. Community justice centers should be categorized according their strength, while the exchange of knowledge between community justice centers and community justice network should be encouraged. The potential of new body of knowledge should be reinforced while existing body of knowledge should be constantly revised and improved. The reform of the structure of community justice centers is also crucial while agencies within the justice process should carry out visits to stay informed about current situations and problems people in local communities are facing. The research proposes the following suggestions. 1) Policy suggestions at the ministerial level is to expedite the enforcement of community justice act ... B.E. (the Ministry of Justice has drafted community justice act …B.E., the process has not been fully completed). 2) The suggestion for the operation at the local agency level encompasses the optimization of the potential, skill and knowledge of officers at the local level as well as leaders from community justice center network representing the public sector, including the reformation of the assessment system, continuation of community justice centers’ operations, particularly the newly established ones. Greater emphasis should be put on the promotion of the role of community justice for people in each local area, especially the non-registered population, to be aware and informed about the existence of provincial justice offices and community justice centers, particularly the newly established ones. Mediation centers operated under the supervision of a provincial justice office should also be set up in different local areas. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SANYAPONG LIMPRASERT.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.