Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2430
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมงคล เทียนประเทืองชัย-
dc.date.accessioned2024-07-16T03:16:47Z-
dc.date.available2024-07-16T03:16:47Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2430-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง แนวคิดเรื่องความเป็นธรรมตามกฎหมายในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลในกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับนี้มี วัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อค้นหาแนวคิดและพัฒนาการในบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ๒. เพื่อทำ การวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลของกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อหาแนวคิดเรื่องความเป็นธรรม ๓. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐได้ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขหรือสร้างกฎหมายให้มีการจัดสวัสดิการในการรักษาพยาบาลในกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาล กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นโดยวิธีการศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาจากเอกสาร (Documentary Research) ปฐมภูมิ และทุติยภูมิจากการศึกษาพบว่า ๑. การจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลตามกฎหมายกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีแนวคิดและพัฒนาการแตกต่างกัน กล่าวคือ กฎหมายเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลมีแนวคิดในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลแบบช่วยเหลือเพื่อตอบแทน กองทุนประกันสังคมมีแนวคิดในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลแบบช่วยเหลือเพื่อบริการประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีแนวคิดในการจัดสวัสดิการแบบช่วยเหลือเพื่อสงเคราะห์ ๒. การที่พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน เพราะมาจากแนวคิดที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน เมื่อใช้หลักเกณฑ์ความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคกันตัดสิน จึงเห็นว่าไม่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำตั้งด้านการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนด้านการรับสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล และคุณภาพของการรักษาพยาบาล โดยที่กองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจะดีกว่า รองลงมาคือกองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามลำดับ แต่ถ้าใช้หลักเกณฑ์ความแตกต่างอย่างมีเหตุผลทางศีลธรรม หรือความแตกต่างตามความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความจำเป็น ด้านสิทธิหน้าที่ และด้านความต้องการหรือความปรารถนา เป็นต้น ในการตัดสินหาความเป็นธรรม ก็พอพบความเป็นธรรมอยู่บ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า ในด้านหน้าที่การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ในด้านสิทธิในการรับประโยชน์การรักษาพยาบาล และในด้านคุณภาพของการรักษาพยาบาล ของกองทุนทั้งสามนอี้ าจมาจากแนวคิดความเป็นธรรมตามเกณฑ์ความแตกต่างตามความเหมาะสม คือพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ (รวมฉบับที่ยกเลิกทั้ง ๘ ฉบับด้วย)มาจากแนวคิดช่วยเหลือแบบตอนแทน คุณงามความดีที่เสียสละมาทำงานให้รัฐ แต่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (รวมฉบับแก้ไขทั้งหมดด้วย) มาจากแนวคิดช่วยเหลือแบบบริการและการประกันสังคม เป็นโครงการที่รัฐเป็นผู้จัดและดำเนินการเพื่อคุ้มครองป้องกันไม่ให้ประชาชนที่มีรายได้ประจำได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพเนื่องจากประสบปัญหาทำให้ไม่สามารถทำงานเลี้ยงชีพได้ตามปกติ ส่วนพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มาจากแนวคิดการให้ความช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ ๓. แนวทางแก้ไขถ้าจะให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ควรจะคำนึงถึงแนวคิดเรื่องความยุติธรรมของจอห์น รอลส์ และแนวคิดเรื่องความเป็นธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ อันดับแรกต้องเท่าเทียมกันหรือเสมอภาคกันในสิทธิหน้าที่และเสรีภาพอย่างกว้างก่อน ถ้าจำเป็นต้องแตกต่างก็ต้องเพื่อประโยชน์ผู้ที่เสียเปรียบมากที่สุด (ปฏิบัติต่อคนที่เหมือนกันอย่างเท่าเทียมกันและปฏิบัติต่อคนที่แตกต่างกันอย่างแตกต่าง) เป็นลำดับรอง ในกองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลen_US
dc.subjectสวัสดิการข้าราชการ -- วิจัยen_US
dc.subjectประกันสุขภาพ -- ไทยen_US
dc.subjectประกันสังคม -- ไทยen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย แนวคิดเรื่องความเป็นธรรมตามกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดสวัสดิการการ รักษาพยาบาลในกองทุนสวัสดิการ การรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.title.alternativeThe Concept Of Justice In The Welfare Laws About Civil Servant Medical Benefit Fund, Social Security Fund And Public Health Care In The National Health Funden_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThis Research “The Concept of Justice in the welfare laws about The Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and Public Health Care in the National Health Fund” has three objectives. The first one is to find ideas and developments in the law about the medical treatment of The Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and Public Health Care in the National Health Fund. The second one is to analytically study the provision of the law about the medical welfare of the Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and Public Health Care in the National Health Fund. The third one is to as a resource for Governmental agencies have been used to improve or establish laws for the welfare of medical care in the welfare Fund for medical treatment in The Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and The Public Health care in the National Health Fund. By Documentary research method. From the study, it is found that: 1. Welfare to Medical Care in The Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and The Public Health Care in the National Health Fund are different Idea and Development. The Civil Servant Medical Benefit Fund is law on healthcare Concepts in the welfare of medical care and assistance to return. The Social Security Fund is The concept of welfare, healthcare and social assistance services and The Public health care in the National Health Fund is the concept of welfare assistance and housing. 2. The decree welfare money on medical treatments by 2553, The Social Security Act 2533 and The National Health Security Act 2545 has provisions related to medical treatment are different. The concept, the welfare and medical care are different. On the basic of equality or equal decision. So it’s unfair the disparity has contributed to the Fund. The benefits for medical treatment. And the quality of medical care The Civil Servant Medical Benefit Fund is better medical officials. Followed by the Social Security Fund. And the Public Health care in the National Health Fund, respectively. But if the rules are different for a reason or moral distinction as appropriate in areas such as the ability. The need the rights and duties and the need or desire or seek to judge fairly. It is fair enough to find a way. It can be said that In front of paying contributions. The right to receive health care benefits, And in the quality of healthcare. All three of the funds may come from the fairness criteria vary accordingly. Fiat money is on welfare, healthare, BE 2553 (including the cancellation of the 8th edition) comes from the concept of aid.The virtues of selfless work for the state. The Social Security Act 2533 (as amended by all) of the support services and social security. The project is a state and take steps to prevent the protection of individuals with regular income who have suffered in their lives because of trouble making a living, can not function normally. The Public health care in National health Act so. The concept of providing is housing assistance. 3. If a solution is to be fair (Justice) even more. Should take into account the concept of Justice, The Concept of Social Justice of John Rawls, and the concept of Social Justice in Theravada Buddhist Philosophy must equal or equal in rights, duties and freedoms broadly before. If necessary, it must be different for the benefit of the most disadvantaged. (Treat people equally well. And treat people differently at different) in the three fund welfare, The Civil Servant Medical Benefit Fund, The Social Security Fund and The Public Health care in the National Health Fund.en_US
Appears in Collections:Law-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MONGKOL THIANPRATHUANGCHAI (2).pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.