Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2438
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นพปฎล ธาระวานิช | - |
dc.date.accessioned | 2024-07-16T08:51:27Z | - |
dc.date.available | 2024-07-16T08:51:27Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2438 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการคือ 1.เพื่อศึกษางานสถาปัตยกรรม 2. เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมและศาสนา ตลอดจนภูมิปัญญาไทยโบราณ กิจกรรมการท่องเที่ยวในวัดเจดีย์หอย เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เป็นระบบและเป็นระเบียบมีความ น่าสนใจมากขึ้น 3. เพื่อศึกษาชุมชนโดยรอบวัดเจดีย์หอย โดยเฉพาะตําบลบ่อเงิน ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดทั้งทางตรง ตรงและทางอ้อมในการสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยววัดเจดีย์หอย 4. เพื่อศึกษานักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวว่ามีจํานวนมากน้อยเพียงใด โดยมีการกําหนดปริมาณนักท่องเที่ยว ให้ตรงกับขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวทางกายภาพ และอื่นๆ และ 5. เพื่อศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อมและประชากรที่ใช้ในการศีกษาแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประชากรนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาท่องเที่ยวที่วัดเจดีย์หอย ตําบลบ่อเงิน อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาที่วัดกุมภาพันธ์ 2556 ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 310 ราย จากระหว่างช่วงเดือนกันยายน 2555 ถึงเดือนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สมมติฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (SPSS) One Sample t-test กลุ่มที่ 2 ประชากรประชาชนใน พื้นที่ที่เข้ามาทํากิจกรรมภายในวัดเจดีย์หอย ตําบลบ่อเงิน อําเภอลาดหลุมแก้ว - จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) กลุ่มตัวอย่างจํานวน 304 ราย ระหว่างช่วงเดือนกันยายน 2555 ถึงเดือน 56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (SPSS) One Sample t-testกลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบการค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจําหน่ายสินค้าที่ระลึก ร้านจําหน่ายอาหารปลาและเต่า และร้านจําหน่ายสมุนไพร ภายในวัดเจดีย์หอย ตําบลบ่อเงิน อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างจํานวน 11 ราย ที่ประกอบการด้าน ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจําหน่ายสินค้าที่ระลึก ร้านจําหน่ายอาหารปลาและเต่า และร้าน จําหน่ายสมุนไพรภายในวัดระหว่างช่วงเดือนกันยายน 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามโดยใช้สถิติแบบพรรณนา กลุ่มที่ 4 กลุ่มเจ้าอาวาส พระภิกษุ สงฆ์ในวัด แม่ชี และเจ้าหน้าที่ของวัดเจดีย์หอย (Purposive Sampling) ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หอย พระภิกษุสงฆ์ในวัดจํานวน 10 รูป แม่ชี จํานวน 5 ท่านและเจ้าหน้าที่วัดจํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ โดยใช้ สถิตแบบพรรณนา และกลุ่มที่ 5 กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา วัดเจดีย์หอย จํานวน 4 ราย ได้แก่ เจ้าหน้าที่สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี สํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดปทุมธานี นายกองค์การบริหารส่วนตําบลบ่อเงิน และที่ ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตําบลบ่อเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติแบบพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. งานสถาปัตยกรรมที่วัดเจดีย์หอยมีความโดดเด่น โดยการใช้เปลือกหอยนางรมโบราณที่ได้จากการขุดสระน้ําที่วัดมาสร้างเป็นเจดีย์ชเวดากองของพม่าโดยใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่คือเปลือกหอยมาสร้าง จึงมีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความสวยงามดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบใน งานสถาปัตยกรรมเข้ามาชมเป็นจํานวนมาก ด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีการหล่อพระพุทธรูปที่มีความ สวยงามตามผลงานทางประติมากรรมในสมัยอยุธยา และอารยธรรมขอม ได้แก่ พระพุทธรูป นมิตรรัตนชนะมาร มีต้นแบบจากพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมรีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถที่ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นงานประติมากรรมในสมัยอยุธยาตอนปลายที่มี ความสวยงามที่สุดองค์หนึ่ง และหลวงพ่อพระพุทธมงคลนิมิต ซึ่งหล่อขึ้นตา ขอมที่มีความสวยงามมากองค์หนึ่ง มีการจัดแสดงโบราณวัตถุต่างยุคต่างสมัยที่ได้มา มาจากหลาย สถานที่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ของทางวัด สะท้อนถึงความเป็นมาอันยาวนานของประเทศไทย มีการ จัดงานบุญในวันสําคัญทางพุทธศาสนา จัดกิจกรรมทําบุญถวายสังฆทาน และการฝึกอบรมสมาธิ ให้กับนักเรียนให้กับนักเรียนและพุทธศาสนิกชนทั่วไป รวมทั้งมีการทําแปลงปลูกสมุนไพร มีร้านโอสถเทพจําหน่ายสมุนไพรและมีการนวดแผนโบราณด้วยทําให้นักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่วัดมากที่สุด วัดมากที่สุดจากจํานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาที่วัด 2. ภายในวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่กิจกรรมการชมงานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม การชมโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ กิจกรรม ทางศาสนาพุทธ กิจกรรมทางสุขภาพ กิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งถ้าสามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ ประสานกันอย่างลงตัวและพัฒนาให้เป็นระเบียบ จะทําให้วัดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่ง เรียนรู้ที่สําคัญของชุมชนและจังหวัดต่อไป 3. ชุมชน โดยรอบวัดเจดีย์หอย โดยเฉพาะเขตตําบลบ่อเงินที่มีความเกี่ยวข้อ จนทมความเกียวของทงทางตรง และทางอ้อมกับวัด กล่าวคือ ทางตรง ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามาทํางานในวัด ช่วยส่งเสริม ประชาสัมพันธ์วัดเจดีย์หอยให้เป็นที่รู้จักแก่ประ ระชาชนมากขึ้นทั้งประชาชนในพื้นที่จังหวัดประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไป มีรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ทางอ้อม ประชาชนที่อยู่โดยรอบวัดเจดีย์หอยช่วยกันดูแลรักษาสภาพแวดล้อมตามเส้นทางสู่วัด และประกอบธุรกิจร้านค้าประเภทต่างๆ เพื่อช่วยรองรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางเข้าไปที่วัดและกลับออกจากวัดได้ อย่างเหมาะสม 4. จํานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาที่วัด มีปริมาณพอสมควร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่ไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับเพราะทางวัดมีเนื้อที่กว้างขวาง สามารถรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นได้และยังมีการขยายบริเวณที่จอดรถเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวด้วย 5. ในอนาคตหากมีการพัฒนาวัดเจดีย์หอยให้เป็นแหล่งเรียนรู้จังหวัดปทุมธานีแล้ว พบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะสร้างรายได้ เผยแพร่วัฒนธรรม จรรโลง สังคม มีการประสานความเข้าใจกันเป็นอย่างดีระหว่างสังคมภายนอกกับสังคมท้องถิ่น รวมทั้งมีความตระหนักในการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะ มีดังนี้ 1. ควรมีการปรับปรุงเส้นทางบริเวณทางเข้าสู่วัดและในบริเวณวัดใหม่ 2. ควรมีการปรับปรุงเรื่องสิ่งอํานวยความสะดวกให้ดีขึ้น 3. ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ดูสวยงามเป็นระเบียบ 4. ควรมีการปรับปรุงเรื่ รุงเรื่องความสะอาดภายในบริเวณวัด 5. ควรมีการจัดการ โบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ของวัดให้เป็นหมวดหมู่ ถูกต้องตามหลัก วิชาการเพื่อประโยชน์ใน การศึกษาของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น 6. ควรมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางศาสนาให้เป็นกิจกรรมทางด้านการนั่งสมาธิ การฟัง เทศน์ การถวายสังฆทาน 7. ควรมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมมอญให้เป็นที่ประจักษ์และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามเอาไว้อย่างยั่งยืน 8. ควรให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มี ความพร้อมที่จะช่วยเหลือและเข้ามาพร้อมกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อมีส่วนร่วมในด้าน การบริหารจัดการ และการปฏิบัติการภายในวัด 9. ควรให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามาส่วนดูแลเรื่องสมุนไพรที่จําหน่ายในร้านโอสถทพว่า มีคุณสมบัติในการรักษาอาการต่างๆ ตามตําราสมุนไพรโบราณหรือไม่ รวมทั้งค เรื่องการนวดแผนโบราณ ให้เป็นไปตามตํารับโบราณ เพื่อรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านไว้ 10. ควรมีการให้หน่วยงานที่มีความรู้ ความสามารถในการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง ถาวรวัตถุภายในวัดให้มีความแข็งแรงตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | วัดเจดีย์หอย -- ปทุมธานี | en_US |
dc.subject | แหล่งท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว -- ไทย | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาวัดเจดีย์หอยให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี. | en_US |
dc.title.alternative | Preliminary study to develop Chedi Hoi Temple to be educational and Tourism Resource of Pathum Thani Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The study has 5 main purposes are 1. To study the architecture, art and culture, religion and local heritage wisdom 2. To study tourism resources and tourism activities in Chedi Hoi temple to create the development system to be more interested 3. To study related surrounded communities of Chedi Hoi temple especially in Bor Ngoen sub-district both direct and indirect involvement and support tourism resource Chedi Hoi temple 4. To study tourists who come to visit to the temple to fit the physical carrying capacity and so on 5. To study the impacts of tourism in order to develop tourisin resource in economy, culture, society and environment. The population of the study is separated into 5 groups are the first group; Thai tourists who came to visit Chedi Hoi temple Bor-Ngoen sub-district. Ladlumkaew district, Phatum Thani province; researcher is using a random accidental sampling method, a sample Thai tourists for 310 persons who came to visit Chedi Ho temple during September, 2011 to February, 2012; the study tools are questionnaire and statistical analysis in frequency distribution, average, percentage, standard deviation and hypothesis testing by (SPSS) One sample t-test is also used. The second group, population in local area who came to do their activities in Chedi Hoi temple Bor-Ngoen sub-district, Ladlumikaew district, Phaturn Thani province: researcher is using a random accidental sampling method, a sample population for 304 persons who came to the temple during September, 2011 to February. 2012; the study tools are questionnaire and statistical analysis in frequency distribution, average, percentage and standard deviation; hypothesis testing by (SPSS) One sample t-test also used. The third group. the owners of food and beverage shop. souvenirs shop, fishes and turtles' food shop and herbal medicine shop in Chedi Hoi temple Bor- Ngoen sub-district, Ladlumkaew district. Phatum Thani province; researcher is using purposive sampling method; the study tools are questionnaire and descriptive statistic. The fourth group, the abbot, Buddhist monks, nuns and staffs who worked in the temple; researcher is using purposive sampling method; the samples are the abbot, 10 Buddhist monks, 5 nuns and 10 staffs; the study tools are interview method and descriptive statistic. And the fifth group, the government officers who relate to the development of Chedi Hoi temple; researcher is using purposive sampling inethod; the samples are the officer in the Cultural Office of Patum Thani, the officer in the Tourism and Sport Office, Patum Thani, Head of Bor-Ngoen Sub-District Administration Office and his consultant; the study tools are interview method and descriptive statistic. As a result, the researcher found as the following: 1.Architecture at Chedi Hoi temple is outstanding because it was constructed by ancient oyster shells from pond, it constructed to be Shwedagong Stupa. This construction attracted many admirable in art people come to visit to temple. In art and culture; there are 2 Buddha inages cast in late Ayudhaya period and Khmer civilization period; one is Phra Buddha Nimitrattana -chanamara copy style from Phra Buddha Nimitvichitmaramolisrisanphetboromtrailokanat at Na Phra Meru temple, Aydhaya province and Luangpor Mongkolnimit cast according to Khmer style of art which is one of the beautiful one. There are many ancient objects and out of date objects in different period and different places displaying in the temple's museum reflected long history of Thailand. There are Buddhism religion activities in temple in every important religious day; offerings dedicated to Buddhist monks and meditation teaching to all students and all Buddhist people. There is also herbal plantation and sales in Osoth Thep shop; traditional massage parlor by trained massagers. All of these activities had drawn attention to people and tourists to come to the temple. 2. In the temple which is tourism resource; there are diversity of tourisin activities such as visiting Buddha images and unique architecture; visiting ancient objects and out of date objects displaying in the museum; Buddhism activities: health activities and agricultural activities. If all tourism activities in the temple can be well organized in order: it can made the temple to be the important tourism and learning resource of the community and province in the future. 3. The communities surrounded the temple especially Bor Ngoen sub-district involve both direct and indirect to the temple. Direct involvement to the temple is people in the community get a job in the temple and assist public relation to the people nearby, in the province and in the remote area to know more about the temple and earn more income and better economic status. Indirect involvement, people who live in the area help to take good care the environment and route to temple and also open variety of shops to receive more income from tourists who travel in and out of temple appropriately. 4. There are moderate number of tourists come to visit the temple and in the future the number will be increased, however, it will not more than carrying capacity of the temple due to the spacious area of the temple and car park extension is in the future project. 5. In the future, Chedi Hoi temple develop to be learning and tourism resource of Pathum Thani province, there will be very few negative impact to the temple but instead the positive impact will be in good result. There will be more tourists come to visit to the temple which will make more income to the people, the culture will be well known, social connection between outside and inside is in good connection and people also realize to preserve the environment sustainability. Recommendations to Chedi Hoi temple to be developed and improved are as the following: 1. Access route to the temple especially at the entrance and inside the temple should be improved. 2. All basic infrastructures in the temple should be improved. 3. The temple's landscape and its area should be in order. 4. The cleanliness of temple's arca should be improved. 5. The ancient objects and out of date objects displayed in the museum should be categorized for the academic purpose. 6. Meditation practice, commandments perception, merit making, give the offerings the Buddhist monks, wisdom and intellectual to the interested person with concentration management. 7. Recovering Mon cultural which is almost disappeared, in additional, it should be public relation. 8. The officials have the good attitude to the tourism development in cultural travel and promptly welcome assisted visitors. They are ready to assist and participate along with local people operation and management together. 9. Ministry of Public Health should be involved to certify the herbal medicines sold in Osoth Thep shop are in good quality and also approve the qualification of traditional massage to preserve local wisdom heritage. 10. Any construction in the temple should be approved by the authorities unit in engineering to prevent any damages in the future. | en_US |
Appears in Collections: | CTH-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NOPPADOL DHARAWANIJ.pdf | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.