Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2443
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย เคลือบรากุจากเศษแก้วเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรม : การปฏิรูปทางเลือกใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์รากุ
Other Titles: Ruku glazes using recycle cullet class in the industry : Reformation alternative of Raku
Authors: ศิริเพ็ญ ธนานันทกิจ
Keywords: เคลือบรากุ;การประดิษฐ์จากเศษแก้ว;เศษแก้ว;การออกแบบผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: โครงการวิจัย เรื่อง เคลือบรากุจากเศษแก้วเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรม: การปฏิรูปทางเลือกใหม่สำหรับ ผลิตภัณฑ์รากุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประเภทวิจัยพัฒนาโดย มุ่งศึกษาให้ทราบการทดลองเคลือบรากุที่เป็นระบบและการนำเศษแก้วกลับมาใช้ใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า การสร้างสรรค์ผลงานรากุโดยการปฏิรูปวิธีคิดใหม่ทำให้เกิดมุมมองและการสร้างสรรค์ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาเชิงทดลองและปฏิรูปผลิตภัณฑ์รากุ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อทดลองสูตรเคลือบรากุจากเศษแก้วเหลือทิ้งในอุตสาหกรรม และอัตราส่วนการนำเศษแก้วมาใช้ในเคลือบรากุโดยมุ่งเน้นเคลือบที่มีพื้นผิวรานกึ่งมันกึ่งด้าน เคลือบผิวร่นหดตัว และ เคลือบผิวโลหะ 2เพื่อนำเสนอแนวทางปฏิรูปการใช้เคลือบรากุจากเศษแก้วในการสร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์รากุวิธีดำเนินการวิจัยเชิงทดลองและสร้างสรรค์ผลงาน ผลการวิจัย ได้เคลือบที่มีพื้นผิวรานกึ่งมันกึ่งด้าน เคลือบผิวร่นดึงตัว และเคลือบผิวโลหะและใช้แนวความคิดการปฏิรูปสร้างผลงานสร้างสรรค์จำนวน 5 ชุดดังนี้ 1ผลงานชื่อ ความหลากหลายของรากุ แนวคิดเคลือบรากุที่หลากหลาย จากการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนวัฒนธรรมดั้งเดิมและผสมผสานวัสดุหวาย 2ผลงานชื่อ สะดือ แนวคิดแสดงถึงส่วนสำคัญการกำเนิดของมนุษย์ 3ผลงานชื่อ ปาก แนวคิดการใช้ซ้ำเพื่อประหยัดพิมพ์ 4. ผลงานชื่อ กึ่งอุตสาหกรรม แนวคิดการนำผลิตภัณฑ์ที่บิสกิตที่ขึ้นรูปในระบบอุตสาหกรรมมาเคลือบและเผาด้วยเทคนิครากุ 5. ผลงานชื่อ รากุบนอุตสาหกรรม แนวคิดการนำผลิตภัณฑ์สำเร็จเนื้อดินพอร์ซเลนมาเคลือบทับด้วยเคลือบรากุซึ่งผลงานสร้างสรรค์ที่ได้แสดงให้เห็นการคิดในการปฏิรูปทางเลือกใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์รากุตั้งแต่เริ่มต้นและพัฒนาทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดการสร้างสรรค์ใหม่และสามารถต่อยอดไปในเชิงนวตกรรม
metadata.dc.description.other-abstract: The creation of raku reforms new ways of thinking, views and creative potential. This research focuses on the experimentation of raku glazing technique reformation. The objective is to test raku glaze formulations using culled glass for ceramic industry. The study will focus on different surfaces: transparent crack and semi-matt glaze, and crawling glaze and metal raku glaze. There are 5 concepts of reforming raku glazing technique: 1)“Variety of Raku” - the idea of different raku glazing that form with a dial traditions and combines wicker. 2)“Navel No.1” - the concept represents a significant portion of the navel of the origin of man. 3)“mouth” - using the same mold to create a different shape of raku that give different design. 4)“semi-industrial” - un-glazing biscuits will be use for the raku glazing technique. 5) “Raku in porcelain industry” - the new raku glazing technique will be applied to porcelain product .The benefit of this work that show raku glazing reformation as an alternative process that will help any designer to develop new innovation for future creation.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2443
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Art-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SIRIPEN THANANANTAKIT.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.