Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2460
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีนต่อจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | An Analysis of the Possible Socio-Economics Impacts of China's Dams on the Mekong River on Chiangrai and Ubon Ratchathani |
Authors: | สมเกียรติ อริยปรัชญา ณรงค์ สินสวัสดิ์ ดามพ์ สุคนธทรัพย์ ธนศักดิ์ วหาวิศาล |
Keywords: | ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- จีน;ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- ผลกระทบจากเขื่อน -- วิจัย;ไทย -- ภาวะสังคม -- ผลกระทบจากเขื่อน -- วิจัย |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นลำดับที่ 12 ในโลก ซึ่งไหลจากยูนนานในประเทศจีนผ่านอีกห้าประเทศได้แก่เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนที่ไหลเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ประชากรที่อาศัยพึ่งพาแม่น้ำโขงในการเลี้ยงชีพมีประมาณ 300 ล้านคน ประเทศจีนได้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแล้วเสร็จไป 4 เขื่อนและจะสร้างเพิ่มขึ้นอีก 4 เขื่อนในอนาคต เขื่อนที่สร้างเสร็จแล้วคือ 1) เขื่อนม่านวาน(Manwan) สร้างเสร็จ ค.ศ.1986 2) เขื่อนต้าเซาซาน (Dachaoshan) สร้างเสร็จ ค.ศ.2003 3) เขื่อนจิงหง(Jinghong) สร้างเสร็จ ค.ศ.2009 4) เขื่อนเสี่ยววาน(Xiaowan) สร้างเสร็จ ค.ศ.2010 การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อพลังงานไฟฟ้ าของจีนทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล(Non-governmental Organizations-NGO’s) หลายแห่งมีความวิตกกังวลว่า การสร้างเขื่อนจะมีผลกระทบด้านลบต่อ การประมง การเกษตร และวิถีชีวิต ซึ่งทางประเทศจีนก็ได้ชี้แจงว่าการสร้างเขื่อนมิได้มีผลกระทบทางด้านลบแต่อย่างใด ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างกันได้อาจขยายผลนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ งานวิจัยนี้จำเป็นต้องดำเนินการเป็นสองขั้นตอนเพราะแต่ละขั้นตอนใช้ ระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกัน ตอนที่ 1 ศึกษาความเป็นไปได้ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเด็นหลักคือ การประมง การเกษตร และวิถีชีวิตต่อจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบวิธีการวิจัย ใช้วิธีสัมภาษณ์ชาวประมง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตและการศึกษาเอกสารวิจัยในอดีต ซึ่งได้มีข้อสรุปว่าการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจังหวะการไหลของน้ำ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนปลาของแม่น้ำโขงลดลง แต่ไม่ได้มีผลทำให้น้ำน้อยลงในฤดูแล้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงมีผลต่อการประมง ทำให้จำนวนปลาลดลงเพราะการสร้างเขื่อนอาจส่งผลต่อการการเปลี่ยนแปลงจังหวะการไหลของน้ำ จริงหรือไม่ จึงมีการดำเนินการวิจัย ตอนที่ 2 ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งแตกต่างจากตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงพรรณนา ตอนที่ 2 เป็นการใช้ข้อมูลตัวเลขเชิงประจักษ์และใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ศึกษาความเป็นไปได้ของผลกระทบของเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีนต่อระดับและปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำอำเภอเชียงแสนในจังหวัดเชียงรายและที่สถานีวัดน้ำอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อวิเคราะห์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของระดับน้ำ ปริมาณน้ำ ทิศทางการไหลของน้ำ และการกระจายของน้ำตามฤดูกาล ระหว่างช่วงชุดปี ค.ศ. 1965 ค.ศ. 1970 ค.ศ. 1975 ค.ศ. 1980 และปี ค.ศ. 1985 ชุดปี ก่อนการสร้างเขื่อนในจีนซึ่งแม่น้ำโขงอยู่ในภาวะธรรมชาติ กับชุดปีที่สองเป็นชุดปีหลังการสร้างเขื่อนในจีน คือชุดปี ค.ศ. 1987 ค.ศ. 2004 ค.ศ.2009 และ ค.ศ. 2010 เพราะเป็นปี ที่เขื่อนทั้งสี่สร้างเสร็จตามลำดับหรือไม่ ผลการวิเคราะห์ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่าการสร้างเขื่อนที่จีนมีผลกระทบ ต่อระดับน้ำและปริมาณน้ำหรือไม่ ค่าสถิติต่างๆ และกราฟซึ่งคำนวณจากข้อมูลดิบชี้ให้เห็นว่าระดับน้ำ ปริมาณน้ำ ทิศทางน้ำในชุดปี ปี ค.ศ. 1965 ค.ศ. 1970 ค.ศ. 1975 ค.ศ. 1980 และปี ค.ศ. 1985 เมื่อเทียบกับชุดปีค.ศ. 1987 ค.ศ. 2004 ค.ศ. 2009 และ ค.ศ. 2010 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการกระจายของน้ำตามฤดูกาล ซึ่งสรุปได้ว่า ผลกระทบด้านลบนิเวศน์ การประมง การเกษตร และวิถีชีวิตในช่วงระหว่างปี1986 และ 2010 ที่เชียงแสนและที่โขงเจียมจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 ไม่น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากระดับและปริมาณน้ำ ทิศทางน้ำ หรือการสร้างเขื่อนในประเทศจีน แต่ถ้าเกิดจากเขื่อนในจีน เขื่อนในจีนก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศการจับปลามากไป หรือการใช้อวนตาถี่ อย่างไรก็ตาม ได้มีพัฒนาการที่น่ากังวลในปัจจุบันคือประเทศริมฝั่งรวมทั้งจีนได้มีแผนที่จะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงทั้งในแม่น้ำโขงและในแม่น้ำสาขา เพื่อการไฟฟ้าและการชลประทานจำนวนมากในช่วง 20 ปี ข้างหน้า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้เสนอข้อเสนอแนะหลายประการรวมทั้งงานวิจัยที่ควรทำเพิ่มเติมเพื่อเป็นมาตรการป้องกันที่เป็นระบบเพื่อไม่ให้การสร้างเขื่อนซึ่งนับวันจะมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบ และนำไปสู่ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้น้ำแม่น้ำโขงระหว่างประเทศริมฝั่งในอนาคต |
metadata.dc.description.other-abstract: | The Mekong River is the twelfth largest river in the world which runs from Yunnan in China passing through five more countries, Myanmar, Laos, Thailand, Cambodia and Vietnam before entering the South China Sea. Some three hundred million people depend on the Mekong River for their livelihood. China had completed the building of four dams and is planning to build four more in the future. The four completed dams are 1) Manwan, completed in 1986, 2) Dachaoshan, completed in 2003 3) Jinghong, completed in 2009 and 4) Xiaowan, completed in 2010. Building of dams in China for hydropower has raised concerns among people who live along the Mekong River and Nongovernmental Organizations over the possible negative impacts on fisheries, agriculture and way of life. China has explained that building of dams has not generated any negative impacts. Conflicting understanding of the situation could lead to possible conflicts among countries concerned. This paper therefore uses two-step approach because each step uses different research methodology. First step, the paper studies the possible impacts on fisheries, agriculture and way of life. The research methodology used is qualitative, employing interview, observation and studying of previous research works. The conclusion from step one is that the building of Chinese dams may cause the rhythm of water flow to change which in turn may cause the reduction of fish in the Mekong but it does not cause the reduction of water flow during dry seasons. Step 2, on the other hand, uses empirical data and statistical techniques to analyze data on water level and water flow at Chiangsaen watermeasuring station of Chiangrai Province and at Khong Chiam water-measuring station of Ubon Ratchathani Province in order to verify whether there has been any significant changes in water level, water flow, direction of flow and seasonal distribution of water between the period prior to building of the first Chinese dam when the Mekong River was in its natural state ( set years 1965, 1970 , 1975, 1980 and 1985) and the period after the four dams have been built (set years 1987 ,2004, 2009 and 2010). The statistical values and the graphs calculated from the raw data on water level and water flow indicate that the water level, water flow, and direction of flow in the periods before and after the Chinese dams were built and the period follow the same seasonal pattern and direction. Hence, the negative impacts on fisheries, agriculture and ways of life in the period between 1986 and 2010 may not be caused by the changing level and flow of water, hence the dams in China. If they are, the dams may be only a factor. There may be other factors, such as climate change, over fishing or the use of very fine fish net. However, a worrying current development is that riparian countries including China have planned to build many dams for hydropower and irrigation along the mainstream and tributaries over the next twenty years. In this connection, relevant recommendations including future research areas that should be undertaken, are offered as preventive measures to avoid negative impacts and possible conflicts over the use of the Mekong River water in the future. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2460 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | IDIS-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SOMKIATI ARIYAPRUCHYA.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.