Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2467
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การเล่าเรื่องด้วยลำดับภาพ โดยการสอดแทรกงานดิจิทัลอาร์ต เข้ากับภาพองค์ประกอบสถาปัตยกรรม |
Other Titles: | Sequential Picture Story by Intervention between Digital Art and Photography of Architectural Elements |
Authors: | พนัส โภคทวี |
Keywords: | สถาปัตยกรรม -- การประมวลผลข้อมูล -- วิจัย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานการวิจัย เรื่อง การเล่าเรื่องด้วยลำดับภาพโดยการสอดแทรกงานดิจิทัลอาร์ตเข้ากับภาพองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มุ่งศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างแนวความคิดของการเล่าเรื่องด้วยภาพรูปแบบใหม่ โดยทดลองให้จุดกำเนิดของภาพมาจากงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นศิลปะที่มีรูปแบบรวมถึงการใช้งานที่แตกต่างจากศิลปะชนิดอื่นอย่างมาก และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเล่าเรื่องมาก่อน ทำการทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือผู้วิจัย อาจารย์ และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาคณะดิจิทัลอาร์ต โดยเลือกนักศึกษาวิชาศิลปะสร้างสรรค์ด้วยคอมพิวเตอร์สองกลุ่มเป็นหลัก รวม 50 คน ทำการตีความภาพองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเหล่านั้น คัดเลือกบางส่วนออกมา ต่อด้วยการถ่ายทอดความคิดในการเล่าเรื่องลงไปในภาพเหล่านั้นด้วยวิธีการทางดิจิทัลอาร์ต และนำมาเรียงร้อยต่อกัน จะทำให้เกิดการเล่าเรื่องที่จุดกำเนิดเรื่องไม่ได้มาจากเรื่องเล่า วรรณกรรมหรือตัวละคร หากแต่สิ่งเหล่านั้นจะมาภายหลังภาพองค์ประกอบต่างๆที่ถูกตีความ ขอบเขตของการวิจัยจะนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการทดลองสร้างเป็นชุดภาพงานศิลปะแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดการเล่าเรื่องและการสื่อความหมาย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นจุดกำเนิดของการเล่าเรื่องด้วยภาพได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ลักษณะของเรื่องราวจะขึ้นอยู่กับแนวความคิด ประสบการณ์ การตีความและการเรียบเรียงของแต่ละคน องค์ความรู้จากการบูรณาการงานศิลปะที่แตกต่างกันนี้ จะทำการเผยแพร่ และนำไปเป็นแนวทางพัฒนาความคิดด้านศิลปะต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | "Sequential Picture Story by Intervention between Digital Art and Photography of Architectural Elements" is an experimental research that aims at finding out the feasibility of the new concept of visual storytelling. The experiment sets the origin of the visual images to come from the elements of architecture, the art form which has extremely different style and usage from the other kinds of art and is not intended to tell the story before. The representative samples to do the experiments are composed of the researcher, instructor, and 50 students mainly from Creative Art with Computer class of the Faculty of Digital Art, Rangsit University. The research will interpret those visual elements of architecture, select the noticeable pieces, transfer the concept of narrative into them by methods of digital art, and compose them with each other. These process cause the origin story to not come from a tale, literary, or character, but from visual elements that are interpreted. The scope of the research is analyzing related information to create a set of visual art hybrid in order to achieve narrative and communication. The result of the research is that architectural elements can be applied to be the starting points of various sequential picture story types. However, the styles of the stories come from each person's experience, concept, interpretation, and arrangement. Knowledge of integrating different art forms will be published and continually used to be a track of art concept development. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2467 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | ARC-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PHANAS PHOKTHAVI.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.