Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2471
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทรงพล อัตถากร-
dc.date.accessioned2024-07-18T07:37:35Z-
dc.date.available2024-07-18T07:37:35Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2471-
dc.description.abstract“ศูนย์การค้ากิ่งเปิดโล่ง” เป็นรูปแบบอาคารพึ่งพาธรรมชาติที่ท้าทายต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่ง เป็นที่นิยมในรูปแบบแนวคิดร่วมสมัย “กรีนไลฟ์สไตล์มอลล์” รูปแบบโถงสูงกึ่งเปิดโล่งในศูนย์การค้าที่ไม่มี เครื่องปรับอากาศนี้ถูกปกคลุมด้วยหลังคาโปร่งแสงช่วยลดความร้อนและรับแสงธรรมชาติ ถูกโอบล้อมด้วย ร้านค้าสลับกับช่องเปิดขนาดใหญ่เพื่อรับลมธรรมชาติ และมีสวนหย่อมผสมผสานกับพื้นที่สาธารณะในโถง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคุณภาพสภาวะแวดล้อมเชิงธรรมชาติและคุณภาพการระบายอากาศ ธรรมชาติเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบาย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบศูนย์การค้ากึ่งเปิดโล่งในอนาคต การวิจัยศูนย์การค้ากิ่งเปิดโล่งในกรุงเทพมหานคร มีประชากรจํานวน 50 โครงการ โดยได้ทําการ ทดลองกับกรณีศึกษาจํานวน 8 โครงการที่มีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกัน ในกรอบการวิจัย 4 ด้าน คือ ด้านความร้อน ด้านการระบายอากาศ ด้านแสงสว่างธรรมชาติ และด้านพื้นที่สีเขียวภายใน การทดลองมี ทั้งการทดสอบภาคสนามในช่วงฤดูร้อนและการจําลองโดยคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ โดยมีการ วิเคราะห์ผลเป็นคุณภาพตามดัชนีชี้วัดต่าง ๆ อภิปรายตามทฤษฎี และสรุปพร้อมคําแนะนําในการออกแบบสรุปผลค่าเฉลี่ยดัชนีสภาวะแวดล้อมเชิงธรรมชาติต่าง ๆ ในกรณีศึกษาทั้งหมดมีค่าดังนี้ ผลต่าง อุณหภูมิภายใน-ภายนอก = 1.15 °C การแผ่รังสีความร้อน = 32.45 °C ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่รู้สึกได้ = 32.54 °C ประสิทธิภาพการระบายอากาศ = 0.41 เท่า ประสิทธิภาพแสงธรรมชาติ = 0.20 เท่า และสัดส่วนพื้นที่ สีเขียว = 0.14 เท่า โดยพบว่ามีกรณีศึกษา 3 ใน 8 โครงการที่อยู่ในขอบเขตสภาวะน่าสบายที่ยอมรับได้ ตามมาตรฐาน ASHRAE Standard 55-2017 และพบว่าความร้อนจากการแผ่รังสีความร้อนจากหลังคา และคุณภาพการระบายอากาศเป็นตัวแปรสําคัญที่ส่งผลต่อสภาวะน่าสบายภายในโถงกิ่งเปิดโล่ง ดังนั้นการ มุ่งเน้นถึงคุณภาพการระบายอากาศจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่จําเป็นยิ่ง โดยควรคํานึงถึงวางทิศทางโถงให้สัมพันธ์ กับลมธรรมชาติ ควรมีช่องเปิดหลักด้านเหนือลมควบคู่กับการมีช่องเปิดด้านอื่นทั้งในระดับผนังและหลังคา และควรมีทดสอบโดยการจําลองการไหลของอากาศในคอมพิวเตอร์เพื่อหาทางเลือกการระบายอากาศที่ดีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectศูนย์การค้า -- การออกแบบและการสร้าง -- กรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรม -- การระบายอากาศen_US
dc.subjectการไหลของอากาศen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การศึกษารูปแบบศูนย์การค้ากึ่งเปิดโล่งเพื่อความยั่งยืนในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeStudy of sustainable typology of semi-open shopping malls in Bangkoken_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstract"Semi-open Shopping Mall” is a challenging sustainable building type dealing with the hot and humid climate in Bangkok by a popular contemporary concept of "Green Life style Mall.” A non-air conditioning atrium of the mall is normally covered by a long-span transparent roof to protect heat and provide natural sunlight. The atrium is surrounded by shops punctuated with large openings for natural ventilation. The atrium public plaza contains soft-scape gardens. This research aims to study the comfort qualities of natural environments and natural ventilation for better development of the malls in the future. The semi-open shopping malls in Bangkok have a population of 50 buildings with 8 case studies having different sizes and proportions. The 4 main areas of study are heat, ventilation, sunlight, and green area. The case studies are both evaluated on site during a summer and simulated by a computer in the lab. The results are analyzed in several quality indicators, discussed theoretically, and summarized with design recommendations. The results of average natural environments are as follows; temperature in-out difference = -1.15 °C, mean radiation temperature = 32.45 °C, operative temperature = 32.54 °C, ventilation efficiency = 0.41, natural light efficiency = 0.20, and green area proportion = 0.14. The results also tell that 3 out of 8 case studies are in the acceptable thermal comfort conditions, complied with ASHRAE Standard 55-2017. The researcher found that reducing heat radiation and increasing natural ventilation quality are the keys to create a comfort zone. Recommendations for better ventilation concern with atrium orientating toward wind direction, providing main opening at windward side together with other wall or roof outlet openings, and simulating airflow patterns for better alternativesen_US
Appears in Collections:ARC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SONGPOL ATTHAKORN.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.