Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2472
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทรงพล อัตถากร | - |
dc.date.accessioned | 2024-07-18T07:45:12Z | - |
dc.date.available | 2024-07-18T07:45:12Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2472 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยเรื่อง “การออกแบบตลาดต้นแบบเพื่อการระบายอากาศธรรมชาติที่ดีกว่า กรณีศึกษา : ตลาดสินค้าชายแดน อำเภออรัญประเทศ” เป็นงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่มุ่งศึกษาให้ทราบถึงปัญหาความร้อนภายในอาคารสูงและสภาวะอับลมของอาคารตลาดสินค้าชายแดน และเพื่อเสนอรูปแบบ“ตลาดต้นแบบ (Market Prototype)” ซึ่งได้พัฒนาและออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพการระบายอากาศธรรมชาติที่ดีกว่าอาคารตลาดเดิม โดยใช้เครื่องมือการทดสอบประสิทธิภาพอาคารจากการจำลองการไหลของอากาศด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการทดสอบอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลม ในสถานที่จริงการศึกษานี้อธิบายถึงขั้นตอนการออกแบบอาคารโดยการวิเคราะห์กระแสลมธรรมชาติที่มีผลต่อรูปแบบองค์ประกอบต่างๆ ของอาคาร และวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตลาดต้นแบบที่สร้างขึ้นใหม่การวิจัยได้เก็บรวบข้อมูลจากกลุ่มอาคารตลาดสินค้าชายแดนกรณีศึกษาจำนวน 4 โครงการในย่านตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ และกลุ่มอาคารต้นแบบที่ออกแบบใหม่ 1 โครงการ โดยทดสอบทั้งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีตัวแปรควบคุมที่เสถียรและทดสอบในอาคารจริงในช่วงเวลาเดียวกันในรอบปีผลของการวิจัยสรุปได้ว่าอาคารตลาดต้นแบบมีประสิทธิภาพการระบายอากาศธรรมชาติและลดความร้อนภายในอาคารดีที่สุดเมื่อเทียบกับอาคารตลาดกรณีศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมอาคารที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบรูปแบบใหม่เพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้ใช้อาคารยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนแล้ว การพัฒนาคุณภาพตลาดสินค้าชายแดนยังเป็นการยกระดับมาตรฐานสถาปัตยกรรมเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ตลาด -- อรัญประเทศ (สระแก้ว) | en_US |
dc.subject | การค้าชายแดน -- อรัญประเทศ (สระแก้ว) | en_US |
dc.subject | ตลาด -- การออกแบบและการสร้าง | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การออกแบบตลาดต้นแบบเพื่อการระบายอากาศธรรมชาติที่ดีกว่ากรณีศึกษา : ตลาดสินค้าชายแดน อำเภออรัญประเทศ | en_US |
dc.title.alternative | Market prototype design for better natural ventilation, case study: border markets in Aranyaprathet, Thailand | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | รายงานการวิจัยเรื่อง “การออกแบบตลาดต้นแบบเพื่อการระบายอากาศธรรมชาติที่ดีกว่า กรณีศึกษา : ตลาดสินค้าชายแดน อำเภออรัญประเทศ” เป็นงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่มุ่งศึกษาให้ทราบถึงปัญหาความร้อนภายในอาคารสูงและสภาวะอับลมของอาคารตลาดสินค้าชายแดน และเพื่อเสนอรูปแบบ“ตลาดต้นแบบ (Market Prototype)” ซึ่งได้พัฒนาและออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพการระบายอากาศธรรมชาติที่ดีกว่าอาคารตลาดเดิม โดยใช้เครื่องมือการทดสอบประสิทธิภาพอาคารจากการจำลองการไหลของอากาศด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการทดสอบอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลม ในสถานที่จริงการศึกษานี้อธิบายถึงขั้นตอนการออกแบบอาคารโดยการวิเคราะห์กระแสลมธรรมชาติที่มีผลต่อรูปแบบองค์ประกอบต่างๆ ของอาคาร และวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตลาดต้นแบบที่สร้างขึ้นใหม่การวิจัยได้เก็บรวบข้อมูลจากกลุ่มอาคารตลาดสินค้าชายแดนกรณีศึกษาจำนวน 4 โครงการในย่านตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ และกลุ่มอาคารต้นแบบที่ออกแบบใหม่ 1 โครงการ โดยทดสอบทั้งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีตัวแปรควบคุมที่เสถียรและทดสอบในอาคารจริงในช่วงเวลาเดียวกันในรอบปีผลของการวิจัยสรุปได้ว่าอาคารตลาดต้นแบบมีประสิทธิภาพการระบายอากาศธรรมชาติและลดความร้อนภายในอาคารดีที่สุดเมื่อเทียบกับอาคารตลาดกรณีศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมอาคารที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบรูปแบบใหม่เพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้ใช้อาคารยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนแล้ว การพัฒนาคุณภาพตลาดสินค้าชายแดนยังเป็นการยกระดับมาตรฐานสถาปัตยกรรมเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย | en_US |
Appears in Collections: | ARC-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SONGPOL ATTHAKORN (1).pdf | 6.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.