Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2481
Title: | Comparing optimum diagnostic tools for proximal caries detection in modern dentistry |
Other Titles: | การเปรียบเทียบวิธีตรวจฟันผุที่เหมาะสมกับการวินิจฉัยทางทันตกรรมในปัจจุบัน |
Authors: | Jananya Plianrungsi Piyanuch Karnasuta Surakasem Phromsiri Kamolwan Banchaditha Karuna Rongpol Nattanicha Charnpinyo Piraya Kittikunapong Athisa Laothai Nalin Ekpiyapornchai |
Keywords: | Dentistry, Operative -- methods;Radiography, Dental;Oral Hygiene;Tooth Diseases -- diagnosis |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Research Institute of Rangsit University |
Abstract: | เมื่อเปรียบเทียบกับด้านต่างๆของฟัน การตรวจหารอยโรคฟันผุด้านประชิดฟันนั้นจะทำได้ยากถ้าตรวจทางคลินิกเพียงอย่างเดียว โดยส่วยใหญ่การตรวจฟันผุของด้านประชิดคือใช้การตรวจทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีของภาพถ่ายรังสีนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกล จึงทำให้เครื่องถ่ายภาพรังสีปริทัศน์สามารถใช้ในการตรวจฟันผุด้านประชิดได้ เครื่องถ่ายภาพรังสีปริทัศน์ในปัจจุบันนั้นสามารถปรับมุมของรังสีให้ตั้งฉากกับด้านประชิดของฟันได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเปิดมุมที่ซ้อนทับกันของฟันหลังได้ โดยเฉพาะในบริเวณฟันกรามน้อยวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือหา percentage agreement และ diagnostic yield ระหว่างการตรวจทางคลินิกร่วมกับการดูภาพรังสีขณะกัดปีก และการตรวจทางคลินิกร่วมกับการดูภาพรังสีปริทัศน์ ในการตรวจรอยโรคฟันผุด้านประชิด โดยใช้วิธีการตรวจดังต่อไปนี้ คือ การตรวจทาง คลินิก การถ่ายภาพรังสีขณะกัดปีก และการถ่ายภาพรังสีปริทัศน์แบบเปิดด้านประชิดของฟันในการศึกษานี้จะมีการใช้กลุ่มตัวอย่างในด้านประชิดฟันบริเวณฟันหลังทั้งหมด 929 ด้านซึ่งจะมีการถ่ายภาพรังสีที่คลินิกรังสีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเครื่องถ่ายภาพรังสีที่ใช้คือ Planmeca ProMax3 สำหรับภาพรังสีปริทัศน์ 1 ฟิล์ม และใช้เครื่อง Gendex expertDC สำหรับภาพรังสีขณะกัดปีก 4 ฟิล์ม โดยจะมีผู้ตรวจ 2 คน ซึ่งได้รับการฝึกมาแล้ว โดยใช้ระบบ ICDAS II ในการตรวจทางคลินิก และการอ่านภาพรังสี ในการตรวจรอยโรคฟันผุด้านประชิดฟันซึ่งความสอดคล้องในการตรวจของผู้ตรวจทั้งสองกับทันตแพทย์เฉพาะทาง มีค่าความสอดคล้องที่ค่อนข้างสมบูรณ์ (Kappa > 0.8) จากผลการตรวจพบรอยโรคฟันผุจำนวน 167 รอยโรค ซึ่งร้อยละ 10.78 ของรอยโรคพบโดย การตรวจทางคลินิก โดยพบว่าเมื่อใช้วิธีการตรวจจากภาพถ่ายรังสีสามารถตรวจพบรอยโรคฟันผุได้ มากกว่า ซึ่งภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีกสามารถตรวจพบได้ร้อยละ 78.44 ของรอยโรค และภาพถ่ายรังสี ปริทัศน์แบบเปิดด้านประชิดของฟันตรวจพบได้ร้อยละ 67.66 ของรอยโรค จากผลดังกล่าวนั้นบ่ง บอกได้ว่าระหว่างการตรวจทางคลินิก กับการดูภาพถ่ายรังสีมีค่าความสอดคล้องกันของข้อมูลที่ต่าสาหรับค่าความสอดคล้องกันของวิธีการตรวจร่วมกัน การตรวจทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสีขณะ กัดปีก 4 ฟิล์มและภาพถ่ายรังสีปริทัศน์ และการตรวจทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีก 2 ฟิล์มเฉพาะบริเวณฟันกรามน้อยและภาพถ่ายรังสีปริทัศน์ นั้นพบว่าค่าความสอดคล้องมีค่าที่ ค่อนข้างสมบูรณ์ (Kappa = 0.9) สาหรับ ค่า diagnostic yield การตรวจทางคลินิกพบน้อยกว่าการดูภาพถ่ายรังสี โดยภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีก จะพบรอยโรคฟันผุมากกว่าการดูจากภาพถ่ายรังสีปริทัศน์ และตรวจพบรอยฟันผุมากที่สุดเมื่อใช้วิธีการตรวจ 3 วิธีร่วมกัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของภาพถ่ายรังสีนั้นได้มีการพัฒนาไปมาก ทา ให้แพทย์สามารถ วินิจฉัยโรค และนาไปวางแผนการรักษาได้ แม้ว่าภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีกจะถือเป็นวิธีการตรวจรอยโรคฟันผุด้านประชิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ตาม แต่จากผลในการศึกษานี้พบว่าภาพรังสีปริทัศน์สามารถตรวจพบรอยโรคด้านประชิดที่มีความลึกถึงบริเวณชั้นเนื้อฟันได้เท่ากับตรวจจากภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีก จึงสามารถสรุปได้ว่าในผู้ป่วยที่มีการเรียงตัวของฟันที่ดี ภาพถ่ายรังสีปริทัศน์แบบเปิดด้านประชิดของฟันนั้นสามารถใช้ในการตรวจและประเมินรอยโรคฟันผุด้านประชิดฟันได้ใกล้เคียงกับภาพถ่ายรังสีขณะกัดปีก |
metadata.dc.description.other-abstract: | Comparing with other surfaces, proximal caries is difficult to determine by clinical alone. The gold standard of proximal caries detection is the combination of visual-tactile examination and bitewing radiographs. However, with the expanding technology in radiography, now the contemporary panoramic machines can be programmed the angulation beam directed through the proximal contacts, which eliminates overlapping in premolar regions. The purpose of this study was to determine the percentage agreement and diagnostic yield between combination of clinical with bitewing and clinical with panoramic radiography for the detection of proximal caries. Use of visual-tactile examination (VTE), bitewing (BW) and improved interproximal panoramic radiograph (OPG). The sample consists of proximal posterior teeth surfaces (N=929). All participants will be performed one panoramic image by Planmeca ProMax3 and 4 bitewing images by Gendex expertDC. Two examiners were standardized with the specialists, use of ICDAS II system and radiographic interpretating in detection of proximal caries and was achieved perfect agreement (Kappa > 0.8).167 of carious lesions were detected. 10.78% were detected by VTE alone. Addition of radiographs had more lesions detected; 78.44% by BW and 67.66% by OPG. The results indicated poor agreement between VTE and radiographies. The agreement of VTE+BW+OPG and VTE+ bitewing radiographs at premolar area (BWP)+OPG was obtained almost perfect value (Kappa = 0.9). For additional diagnostic yield, VTE performed less than radiographies, BW performed more than OPG and the greatest was VTE+BW+OPG. The expanded technology in radiographic imaging is now allowed clinician to be diagnosed and evaluated the treatment options. Even though BW is the most efficient method for detecting of proximal caries, OPG can detect proximal caries in the progress stage of dentin same as BW. Therefore, in patient who has good teeth alignment, this interproximal mode can be used to determine and evaluate proximal lesions equivalent as intraoral bitewing. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2481 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Den-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
JANANYA PLIANRUNGSI.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.