Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2502
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การศึกษาบทบาท พันธกิจด้านการเรียนการสอนภาษาจีนและวิจัยภาษาจีนของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย
Other Titles: The role Chinese language teaching and research mission of Confucius Institute in Thailand
Authors: ณัฐฌาภรณ์ เดชราช
พิสิษฐฑัฒน์ ปัญญาเร็ว ทองเปลว
Keywords: สถาบันขงจื่อ -- ไทย -- วิจัย;ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- ไทย -- วิจัย;ความช่วยเหลือทางเทคนิคของจีน -- ไทย;ภาษาจีน -- หลักสูตร -- ไทย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและพันธกิจด้านการเรียนการสอนภาษา จีนของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย 2) ศึกษาปัญหาในการทําวิจัยภาษาจีนของครู อาจารย์ผู้สอน ชาวไทย 3) สํารวจความต้องการในการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ไทย 4) แนวทางความร่วมมือการทําวิจัยภาษาจีนของสถาบันขงจื่อในประเทศไทยกับสถาบันการ ศึกษาของไทยในอนาคต โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) จากกลุ่ม ตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนชาวไทยในหน่วยงาน ที่มีสถาบันขงจื่อและบุคลากรชาวไทยที่ประจําสถาบันขงจื้อ (Confucuis Institue) ในประเทศไทย ทั้ง 16 แห่ง จํานวน 57 คน และครูผู้สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาชาวไทยที่มีห้องเรียนขงจื่อ (Confucuis Classroom) ในประเทศไทยทั้ง 11 แห่ง จํานวน 49 คน รวม 27 แห่ง รวม 106 คน ณ ความเชื่อมั่น 95% (z = 1.96) และความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.8 (Cochran, 1963) และกลุ่ม ตัวอย่างที่ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือผู้อํานวยการสถาบันขงจื่อฝ่ายไทย 5 คน จาก 5 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและนําเสนอผลในลักษณะการพรรณนาและวิเคราะห์ (descriptive and analytical methods) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทและพันธกิจของสถาบันขงจื่อในประเทศไทยมีความพิเศษและ โดดเด่นที่สุด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเป็นศูนย์สอบและจัดสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) มีค่าเฉลี่ย (Mean = 8.46) อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2) ด้านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประกวดทักษะภาษา มีค่าเฉลี่ย (Mean = 7.94) อยู่ในเกณฑ์ดี 3) ด้านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน มีค่าเฉลี่ย (Mean - 7.83) อยู่ในเกณฑ์ดี 4) ด้านการจัดหาทุนการศึกษาระยะสั้น ระยะยาว มีค่าเฉลี่ย (Mean = 7.77) อยู่ ในเกณฑ์ดี และ 5) ด้านการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาต่อประเทศจีน มีค่าเฉลี่ย (Mean = 7.74) อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมุ่งเน้นส่งเสริมด้านการเรียนการสอนภาษาจีนและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน สนับสนุนกิจกรรมเสริมทักษะอื่น ๆ และพบว่าพันธกิจของสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อ จําแนกออกเป็น 3 ระยะ คือพันธกิจระยะแรก (ปี 2549-2554) พันธกิจระยะที่สอง (ปี 2555-2559) พันธกิจระยะที่สาม (ปี 2560-ปัจจุบัน) โดยสถาบันขงจื่อฯ เริ่มให้ความสําคัญกับการส่งเสริมด้าน วิชาการของครูอาจารย์ด้านการพัฒนาครูผู้สอนภาษาจีน ทักษะการสอน วิธีการสอนมากขึ้นในช่วง ปลายพันธกิจระยะที่สองเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่พบสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อแห่งใด มีแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยของครู อาจารย์ผู้สอนชาวไทยอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทําวิจัยภาษาจีนของครู อาจารย์ ผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทย 3 อันดับแรก คือ 1) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญให้คําปรึกษาด้านการวิจัย ภาษาจีน คิดเป็นร้อยละ 53.3 2) ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการทําวิจัย คิดเป็นร้อยละ 45.7 และ 3) ไม่มีศูนย์ให้คําปรึกษาด้านการวิจัย คิดเป็นร้อยละ 32.4 และพบว่าความต้องการสนับสนุนด้านทํา วิจัยภาษาจีนของครู อาจารย์ผู้สอนภาษาจีนในประเทศไทย 3 อันดับแรก คือ 1) ด้านบุคคลากร ผู้เชี่ย ชี่ยวชาญ คิดเป็นร้อยละ 71.4 2) ด้านงบประมาณ คิดเป็นร้อยละ 68.6 และ 3) การเข้าถึง แหล่งข้อมูลวิจัยภาษาจีน คิดเป็นร้อยละ 46.7 ผลการวิจัยพบว่า แนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยภาษาจีนของสถาบันขงจื่อในประเทศ ไทยกับสถาบันการศึกษาของไทยในอนาคต หากอาศัยศักยภาพและบทบาทด้านการเรียนการสอนภาษาจีนของสถาบันขงจื่อ ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือ ค้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่าง ประเทศ) ปั่นปั้นเดิม) โดยการจัดตั้งศูนย์สนับสนุนวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ไทยและมีบทบาทหน้าที่หลัก สามประการ คือ 1) เป็นแหล่งทุนวิจัย 2) เป็นศูนย์รวมทรัพยากร ฐาน ข้อมูลการวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีนและสารสนเทศภาษาจีน 3) เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ ชาวจีนในการให้คําแนะนําปรึกษาการทําวิจัยการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นหลัก ดังนั้น การจัดตั้งเป็นศูนย์สนับสนุนการวิจัยการเรียนการสอนภายใต้การกํากับดูแลของศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ สํานักงานกรุงเทพฯ (CLEC-BANGKOK) จะเป็นประโยชน์ต่อวงการครูอาจารย์ผู้สอนภาษาจีนชาวไทย สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติ และจะเป็นหน่วยงานสําคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนานักวิจัย ด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยเป็นการยกระดับและสะท้อนคุณค่าในการก่อตั้งสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อในประเทศไทยต่อเวทีโลกด้วยอีกทางหนึ่ง
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were 1) to study the roles and missions of Chinese language teaching at the Confucius Institutes in Thailand 2) to study the problems in Chinese language research of Chinese teachers 3) to survey the demand in establishing a research center that will facilitate Chinese language teaching personnel; and 4) to initiate a guideline for the Confucius Institute's Chinese research cooperation with Thai educational institutions in the future using a combined research method. The sample groups were from 27 Confucius Institutes and Confucius Classrooms in Thailand. The respondents were 5 directors of the Confucius Institutes for qualitative interview, teachers, and staff of Confucius Institutes and Confucius Classrooms. Regarding the survey through questionnaire, there were 106 participants from all units with the effect of size 0.5 and power more than 0.8 (Cohen, 1988). The data analysis including descriptive and inferential statistics were accordingly examined for comparison and correlation. The results showed that the first Confucius Institute badge in Thailand was established and opened in 2006, and there are four different administrative structures based on the organizational culture. The missions and roles of the Confucius Institute in Thailand from past to present, the most special and outstanding 5 areas are: 1) Being a Chinese Language Proficiency Test Center (HSK) with an average (Mean = 8.46) 2) Organizing a language skill exchange contest with an average value (Mean = 7.94), good 3) Organizing a Chinese cultural exchange activity with an average value (Mean = 7.83), good 4) For short-term and long-term scholarships, the average (Mean = 7.77) was good, and 5) Consulting on education in China had an average (Mean = 7.74) was good. The development of Confucius Institutes in Thailand can be arranged into three main phases which are the first phase (2006-2011), the second phase (2012-2016), the third phase (2017-present). In the third phase, the Confucius Institute began to pay more attention to the promotion of academic activities and research. Regardless of the development of Chinese teachers, teaching skills, teaching methods; however, there has not yet been found that any Confucius Institute in Thailand has taken concrete action on research promotion. From the research results, it was found that the top three obstacles for conducting Chinese research were 1) the lack of experts in Chinese research accounted for 53.3 percent, 2) the lack of financial support accounted for 45.7 percent, 3) non- existence of research advisory center accounted for 32.4 percent. Accordingly, the top three reasons or demands for teachers' decision to conduct Chinese research were 1) the instructive experts and research budget accounted for 71.4 percent, 2) the database to Chinese research resources accounted for 68.6 percent, 3) motivation and interesting research topics accounted for 46.7 percent. Thus, there should be more support for Chinese language teachers in academic activity and concrete research. Based on the potential and readiness of the Confucius Institute in Thailand, they are considered as a resource center for Chinese experts, research database and etc. Therefore, the structural relationship of the role, mission and direction for promoting Chinese research of the Confucius Institutes has been reflecting the great support in academic activity and research work over 15 years and this will be also supporting the successful development of Chinese language teaching. Based on the potential and role of the Confucius Institute under the supervision of the International Chinese Language Teaching Office (Hanban), it is highly possible to set a research center supporting this mission to be realized and the research contribution will be the integral part in holistic development. It is not only in line with the national education strategy, but also drivi
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2502
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:LiA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NATCHAPORN DECHRACH.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.