Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมชนก รังสีธนกุล-
dc.date.accessioned2024-09-16T05:37:31Z-
dc.date.available2024-09-16T05:37:31Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2529-
dc.description.abstractวัยก่อนวัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทสมองที่ใกล้เคียงกับวัยสูงอายุ อาจส่งผลทำให้การบริหารจัดการของสมองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้คิด และระบบการทำงานกล้ามเนื้อมือจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันลดลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการและการทำงานของมือ ระหว่างกลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้น และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมองด้านการบริหารจัดการ และการทำงานของมือในบุคคลที่มีช่วงวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ วิธีการวิจัยผู้เข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 110 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุมีอายุเฉลี่ย 55 ปี และกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้นมีอายุเฉลี่ย 64 ปี โดยจะได้รับการประเมินความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการซึ่งใช้แบบประเมิน trail making test (TMT) การทดสอบการใช้งานมือแบบละเอียดโดยใช้การทดสอบ Perdue pegboard test และการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือโดยใช้เครื่องทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ Jamar hand-held dynamometer ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการและการทำงานของมือแบบละเอียด ระหว่างกลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้น มีความแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.001 และ p < 0.001) แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ ระหว่างกลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้น ไม่มีความแตกต่างกันและไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษาได้ว่า วัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและผู้สูงอายุตอนต้นมีความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการและการทำงานของมือแบบละเอียดแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทำงานของมือแบบละเอียด เป็นตัวแปรหนึ่งที่สามารถนำมาใช้คัดกรองในการประเมินความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการ ในกลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้นen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectสมรรถภาพทางสมอง -- ในผู้สูงอายุ -- วิจัยen_US
dc.subjectกล้ามเนื้อมือen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัยen_US
dc.subjectสมอง -- ภาวะพร่อง -- ในวัยชรา -- วิจัยen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การเปรียบเทียบความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการและการทำงานของมือระหว่างกลุ่มวัยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและกลุ่มวัยสูงอายุตอนต้นen_US
dc.title.alternativeComparisons of executive function and hand function between pre-elderly and young-elderlyen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractAging changes in the central nervous system of pre-elderly people have been similar to the elderly people. The decline in musculoskeletal system also has been occurred. It has led to decrease in quality of life and activity daily living. The purposes of the present study were to compare the executive functions and hand functions between pre-elderly and young-elderly, and to determine the associations between the executive functions and hand functions in pre-elderly and young elderly people. One-hundred and ten participants were allocated into two groups; pre-elderly with average aged 55 years and young-elderly with average aged 64 years. All of them underwent the executive functions using trail making test (TMT), hand dexterity using Perdue pegboard test and hand grip strength tests using Jamar hand-held dynamometer. The findings showed that there were significant differences in the executive functions and the hand dexterity between the pre-elderly and young-elderly groups (p= 0.001 and p < 0.001, respectively). In addition, the significant associations between the executive functions and the hand dexterity in the pre-elderly and young-elderly groups were found. (p < 0.001) In summary, the executive functions and the hand dexterity between the pre-elderly and young-elderly were different and significant associations. The hand dexterity is the one of the outcomes for screening the executive functions in pre-elderly and young-elderly peopleen_US
Appears in Collections:Phy-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SOMCHANOK RUNGSEETHANAKUL1.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.