Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2543
Title: | รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การวัดเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกระหว่างเครื่องวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยคลื่นเสียงและรังสีเอกซ์ 2 ระดับพลังงาน |
Other Titles: | Comparison of bone mineral density measurements between quantitative ultrasound and dual x-ray absorptiometry |
Authors: | ณัฐพงศ์ ด่านธนวัฒน์ |
Keywords: | มวลกระดูก -- การวัด -- วิจัย;การบันทึกภาพด้วยรังสี -- เครื่องมือและอุปกรณ์;มวลกระดูก, ความหนาแน่น |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | เครื่องวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกสองค่าระดับพลังงาน (Dual-energy X-ray absorptiometry, DXA) ได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการตรวจคัดกรองภาวะโรคกระดูกพรุนโดยองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เนื่องจากมีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือสูง แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัด เช่น เครื่องมีขนาดใหญ่ มีราคาแพง รวมถึงก่อให้เกิดรังสีในการตรวจวัด ทำให้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเครื่องวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกส้นเท้าด้วยคลื่นเสียง (Quantitative ultrasound, QUS) ด้วยข้อดี คือ เครื่องมีราคาไม่แพง เคลื่อนย้ายได้สะดวก รวมถึงไม่ก่อให้เกิดรังสี จึงเหมาะสมเป็นเครื่องมือทางเลือกในการคัดกรองภาวะโรคกระดูกพรุน การทดลองนี้ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 73 คน โดยทำการตรวจวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างและกระดูกสะโพก ผลการคำนวณหาค่าเปอเซ็นต์ความแตกต่างก่อนแก้ค่าความถูกต้องของ QUS จากค่า T-score ของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง ได้เท่ากับ 277.389 และ 175.347 และจากค่า Z-score ของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง ได้เท่ากับ 243.114 และ 184.272 คำนวณหาค่าแก้ความถูกต้องของ QUS เทียบ DXA ค่า T-score ของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังได้ 0.329 และ 0.946 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับค่า Z-Score ของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังได้ -0.926 และ 0.784 ตามลำดับ และคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างหลังแก้ค่าความถูกต้อง ผลที่ได้ดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ ค่าเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของค่ามวลกระดูกหลังแก้ค่ามีค่าลดลงเทียบกับก่อนแก้ค่า ดังนั้นจึงพิจารณาให้เครื่อง QUS เป็นเครื่องมือทางเลือกในการตรวจคัดกรองภาวะโรคกระดูกพรุนได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | Dual-energy X-ray absorptiometry (DXA) is a gold standard method for bone density assessment regarded to World Health Organization (WHO) because of its high reliability and precision. However, the disadvantages of DXA are unwidely available, expensive and importable. Therefore, Quantitative Ultrasound (QUS) has been introduced as an alternative technology to bone densitometry. Due to the low cost, portability and no ionizing radiation. So, the aim of this study was to determined the correction factor of QUS (ALOKA AOS-100SA, Hitashi, Japan) by calibrated with bone mineral density (BMD) using DXA (GE Lunar Prodigy) The 73 volunteers were measured the BMD value at the hip and L-spine by DXA, then they were measured by QUS at the calcaneus after finished measurement by DXA. The percentage different between DXA and QUS were calculate for all volunteers. An average correction factor from 73 volunteers were also determined. The result showed the BMD value different between QUS and T-score form DXA were about 277.389 and 175.347, with Z-score were 243.114 and 184.272 for hip and spine respectively. The calculated correction factor, L-spine and hip in T-score, were 0.329 and 0.946, with Z-score were -0.926 and 0.784 respectively. As expected, the different between QUS and DXA was decreased when applied the correction factors. Therefore, we considered the QUS as an alternative method for measure the BMD value which can provided a similar result to DXA gold standard |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2543 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | RdT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NUTTAPONG DANTHANAVAT.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.