Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2552
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วีริสา เช้าเจริญ | - |
dc.date.accessioned | 2024-09-17T03:07:04Z | - |
dc.date.available | 2024-09-17T03:07:04Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2552 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินฤทธิ์กระตุ้นการสมานบาดแผลในเซลล์คีราติโนไซด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของสารสกัดฟJกทอง เป็นการวิจัยทางห้องปฏิบัติการ (in-vitro) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดฟักทองและเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ผิวหนังชนิดคีราติโนไซด์รวมไปถึงกลไกเชิงลึกระดับโมเลกุลในการออกฤทธิ์ของสารสกัดัJกทองต่อการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเซล์คีราติโนไซด์ด้วยนำสารสกัดหยาบเนื้อฟักทองมาทดสอบฤทธิ์ตัานอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), ABTS assay, superoxide anion radicals assay แ ล ะ ท ด ส อ บ ป ริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteau’s reagent โดยใช้กรดแกลลิคเป็นสารมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเนื้อฟักทองมีค่า IC50 เฉลี่ยเท่ากับ 4.675 ± 0.09, 0.973 ± 0.014 และ 0.362 ± 0.003 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และมีปริมาณฟินอลิกรวมมีค่าเท่ากับ 141.211±11.443 mg GAE/g extract ส่วนการศึกษาในเซลล์ใช้เซลล์ไลน์ผิวหนังชนิด human keratinocyte (HaCaT) โดยทำการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดฟักทองต่อเซลล์ฮาแคท ด้วยวิธี MTT ทดสอบการเคลื่อนที่ของเซลล์โดยวิธี scratch woundhealing ศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ด้วย Western blotting และฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ (cell proliferation) ด้วยวิธี MTT ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดฟักทองที่ความเข้มข้น 1 – 100ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีพิษต่อเซลล์ฮาแคท และที่ความเข้มข้น 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรพบว่าจะเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ฮาแคท โดยพบการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ คือ p-FAK และp-AKT มากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดฟักทองแต่ไม่พบผลการเพิ่มจำนวนของเซลล์ฮาแคท โดยสรุปสารสกัดฟักทองสามารถเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกชนิดฮาแคท ผ่านการส่งสัญญาณของโปรตีน FAK และ AKT ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำสารสกัดฟักทองไปพัฒนาต่อยอดสำหรับเป้นยาสมานบาดแผล รวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ใช้กับผิวหนังอันจะเป็นผลให้มีประสิทธิผลดีขึ้นได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ฟักทอง -- เภสัชฤทธิวิทยา | en_US |
dc.subject | ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ | en_US |
dc.subject | การสมานแผล | en_US |
dc.subject | สารสกัดจากพืช -- การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | เซลล์ -- การวิเคราะห์ | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การประเมินฤทธิ์กระตุ้นการสมานบาดแผลในเซลล์คีราติโนไซด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของสารสกัดฟักทอง | en_US |
dc.title.alternative | In-vitro wound healing and antioxidation evaluation of Cucurbita moschata Decne ethanolic extract in keratinocyte cells | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | The research titled "In vitro wound healing and antioxidation evaluation of Cucurbita moschata Decne extract in keratinocyte cells" is an in vitro study to investigate the effect of C.moschata extract on keratinocyte cell migration and antioxidants. Taken together, the molecular mechanisms of C. moschata extract on migratory-related protein expression weredetermined. Crude extracts were tested for antioxidant activity by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), ABTS assay, superoxide anion radical assay, and total phenolic assay (TPC). The resultsshowed that the pumpkin crude extract (PKE) had mean IC50 values of 4.675 ± 0.09, 0.973 ± 0.014, and 0.362 ± 0.003 mg/ml, respectively, and total phenolic content was141.211±11.443 mg GAE/g extract. Human keratinocytes (HaCaT) were used in this study. The cytotoxicity of PKE was examined by MTT assay. Cell migration was investigated by a scratch wound healing assay. Migratory-related protein expression was measured using Western blotting. Cell proliferation was determined by the MTT assay. The results showed that 0–100 μg/mL of PKE had no cytotoxic effect on HaCaT. PKE at concentrations of 50 and 100 μg/mL was found to increase HaCaT cell migration. PKE enhanced the expression of p-FAK and p-AKT migratory-related proteins when compared to the non-treated control, but had no effect on the proliferation of HaCaT cells. In summary, PKE enhanced the migration of human skin keratinocyte HaCaT cells through the FAK and AKT pathways. PKE should be developed to be used as a wound healing drug or cosmeceutical skincare product. | en_US |
Appears in Collections: | Pha-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
VERISA CHOWJAREAN.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.